ประสิทธิผลของการพัฒนารูปแบบส่งเสริมทันตสุขภาพและป้องกันโรคในโรงเรียน “ฟันดีที่ภูเขียว” ตำบลผักปัง อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ

ผู้แต่ง

  • อตินาต ธรรมรัชสุนทร โรงพยาบาลภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบ, การส่งเสริมทันตสุขภาพและป้องกันโรค, โรงเรียน

บทคัดย่อ

ปัญหาสุขภาพในช่องปากของเด็กวัยเรียน เป็นปัญหาที่พบมากเป็นอันดับต้นๆ ของประเทศ โดยเฉพาะปัญหาโรคฟันผุและโรคเหงือกอักเสบซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพและการเรียนรู้ของเด็กวัยนี้เป็นอย่างยิ่ง การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi experimental research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการพัฒนารูปแบบส่งเสริมทันตสุขภาพและป้องกันโรคในโรงเรียน“ฟันดีที่ภูเขียว”ตำบลผักปัง อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ และเพื่อเปรียบเทียบอัตราฟันแท้ผุและโรคเหงือกอักเสบในนักเรียนประถมศึกษาระหว่างกลุ่มทดลอง จำนวน 142 คน และกลุ่มเปรียบเทียบจำนวน 156 คน จากผลการศึกษาพบว่า การพัฒนารูปแบบส่งเสริมทันตสุขภาพและป้องกันโรคในโรงเรียน“ฟันดีที่ภูเขียว”ตำบลผักปัง อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิมีผลต่อ พฤติกรรมการแปรงฟันในกลุ่มทดลองมีความถี่ในการแปรงฟันแตกต่างกับกลุ่มเปรียบเทียบอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (P = 0.5) กลุ่มทดลองมีปัญหาฟันแท้ผุน้อยกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P = 0.007) และกลุ่มทดลองมีสภาวะเหงือกดีกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.0001)

Author Biography

อตินาต ธรรมรัชสุนทร, โรงพยาบาลภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ

ทันตแพทย์ชำนาญการพิเศษ

References

1. กองทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. รายงานผลการสำรวจสภาวะ สุขภาพช่องปากระดับประเทศ ครั้งที่ 7 ประเทศไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักกิจกรรมองค์การทหารผ่านศึก; 2555.
2. กองทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. ผลการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพและปัจจัยเสี่ยงตามกลุ่มอายุปีงบประมาณ 2558. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักกิจกรรมองค์การทหารผ่านศึก; 2558.
3. สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการดำเนินงานทันตสาธารณสุขประจำปี 2557. นนทบุรี: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2557.
4. ปาริชาติ ฉายศิริ. ประสิทธิผลโปรแกรมทันตสุขศึกษาต่อการลดโรคเหงือกอักเสบในกลุ่มนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตกรุงเทพมหานคร. [วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สุขศึกษา)]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2534.
5. รำพึง ษรบัณฑิต. ประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษาในพฤติกรรมการป้องกันโรคฟันผุ และโรคเหงือกอักเสบของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก. [วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต (สุขศึกษา)]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2537.
6. สุวิภา อนันต์ธนสวัสดิ์. ผลของโปรแกรมทันตสุขศึกษาต่อพฤติกรรมทันตสุขภาพ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2539.
7. เบญจา สุภสีมากุล . ประสิทธิผลของโปรแกรมทันตสุขศึกษาด้วยการใช้แรงสนับสนุนทางสังคม ที่มีต่อพฤติกรรม การแปรงฟันของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนน้ำพี้ จังหวัดอุตรดิตถ์. กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย; 2543.
8. รัชนี กิจขุนทด. ผลของโปรแกรมการพัฒนาสมรรถนะการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กก่อนวัยเรียนของผู้ปกครอง ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองม้า ตำบลเสม็จ อำเภอสำโรงทาบ จังหวัดสุรินทร์. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2557;7(1):245-59.
9. Petersen PE, Hoerup N, Poomviset N, Prommajan J, Watanapa A. Oral Health Status and Oral Health Behaviour of Urban and Rural Schoolchildren in Southern Thailand. Int Dent J 2001;51(2):95-102.
10. อุมาพร ชมโฉม, อารยา ปรานประวิตร และ วันเพ็ญ แก้วปาน. ผลของโปรแกรมทันตสุขศึกษาในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรคเหงือกอักเสบ ในนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2560; 4(1):234-52.
11. ชิงชัย บัวทอง, ยินดี พรหมศิริไพบูลย์, อัจฉริยา วัชราวิวัฒน์. ผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพช่องปากต่อพฤติกรรม การป้องกันโรคฝันผุของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านบางเหียน อำเภอปลายพระยา จังหวัดกระบี่. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2558; 3(2): 259-306.
12. ประพิณทิพย์ หมื่นน้อย. ผลของโปรแกรมสุขศึกษาในการส่งเสริมสุขภาพช่องปากเพื่อป้องกันโรคฟันผุของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย ในตำบลท่าพระ อำเภอเมืองจังหวัดขอนแก่น [วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขศึกษาและการส่งเสริมสุขภาพ]. ขอนแก่น:มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2548.
13. เยาวดี มาพูนธนะ, รุจิรา ดวงสงค์. ผลของโปรแกรมทันตสุขศึกษาโดยการประยุกต์ใช้ทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรคร่วมกับการสนับสนุนทางสังคม ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรคเหงือกอักเสบของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น 2554; 11(4): 77-88.
14. อรพินท์ วันศิริสุข, อารีรัตน์ บุญยัง. ผลของโปรแกรมทันตสุขศึกษาโดยประยุกต์ทฤษฎีความสามารถแห่งตนร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมเพื่อป้องกันโรคเหงือกอักเสบในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรคเหงือกอักเสบของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในเขตอำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร [วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2552.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-08-31