ปัจจัยที่มีผลต่อภาระการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทที่มารับบริการ โรงพยาบาลหนองกี่ จังหวัดบุรีรัมย์

ผู้แต่ง

  • อัครวัฒน์ เพียวพงภควัต โรงพยาบาลหนองกี่ จังหวัดบุรีรัมย์

คำสำคัญ:

ผู้ดูแล, ผู้ป่วยจิตเภท

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาระและปัจจัยการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทที่มารับบริการที่โรงพยาบาลหนองกี่ จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 170 ราย คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยการสุ่มอย่างง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนกันยายน 2560 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2561 เป็นเวลา 6 เดือน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามทั้งหมด 5 ส่วน ได้แก่ ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ดูแล ภาระในการดูแลของผู้ดูแล ความรู้เกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วย การรับรู้สมรรถนะ และสัมพันธภาพในครอบครัว โดยมีค่าความเที่ยงของแบบสอบถาม เท่ากับ 0.89, 0.78, 0.86 และ 0.84 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการถดถอยพหุคูณ

ผลการวิจัย พบว่า ผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทมีภาระการดูแลผู้ป่วยจิตเภทระดับปานกลาง เฉลี่ยเท่ากับ 59.97 คะแนน (SD = 15.14) อายุ การรับรู้สมรรถนะ และสัมพันธภาพในครอบครัวมีความสัมพันธ์กับภาระการดูแลผู้ป่วย จิตเภท อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = -0.24, r = -0.22 และ r = -0.28, ตามลำดับ p < 0.05) ตัวแปรที่สามารถทำนายปัจจัยที่มีผลต่อภาระการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทได้ ได้แก่ อายุของผู้ดูแลมีอิทธิพลต่อภาระการดูแลผู้ป่วยจิตเภทมากที่สุด (gif.latex?\beta = -0.26) รองลงมาสัมพันธภาพในครอบครัว (gif.latex?\beta = -0.24, p<0.05)

          สรุป ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาระการดูแลผู้ป่วยจิตเภทของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท ได้แก่ อายุ การรับรู้สมรรถนะ และสัมพันธภาพในครอบครัว ดังนั้นบุคลากรสาธารณสุข ควรเน้นการสร้างเสริมสัมพันธภาพที่ดีในครอบครัว ทำให้สมาชิกในครอบครัวเกิดความอบอุ่นและไว้วางใจ ส่งผลให้ลดภาระการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท

Author Biography

อัครวัฒน์ เพียวพงภควัต, โรงพยาบาลหนองกี่ จังหวัดบุรีรัมย์

นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ

References

World Health Organization. World report on disability 2011 [Online].2011 [cited 2016 April 25]. Available from: http://www.who.int/about/licensing/ copyright_form/en/

กรมสุขภาพจิต. รายงานประจำปีกรมสุขภาพจิต ปีงบประมาณ 2555. นนทบุรี: กองแผนงาน กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข; 2556.

American Psychiatric Association. Diagnostic and statistical manual of mental disorders 4thed. Washington DC : American Psychiatric Association; 2005.

Bustillo J, Lauriello J, Horan WP, Keith SJ. The psychosocial treatment of schizophrenia: An update. American Journal of Psychiatry 2001;158(2):163-75. Doi: 10.1176/appi.ajp.158.2.163.

Raune D, Kuipers E, Bebbington PE. Expressed emotion at first-episode psychosis: investigating a career appraisal model. The British Journal of Psychiatry 2004;184(4): 321-6.

Awad AG, Voruganti LN. The burden of schizophrenia on caregivers: A review. Pharmacoeconomics 2008; 26: 149-62.

Montgomery RIV, Gonyea JG, Hooyman NP. Caregiving and the experience of subjective and objective burden. Family Relations 1985; 34(5): 19-26.

George LK, Dwyther LP. Caregiver well-being: A multidimensional examination of family caregivers of demented adults. The Gerontologist 1986; 26(8): 253-9.

โรงพยาบาลหนองกี่. รายงานประจาปีโรงพยาบาลหนองกี่ ปีงบประมาณ 2560. บุรีรัมย์: โรงพยาบาลหนองกี่; 2560.

รจนา ปุณโณทก. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาระการดูแลของผู้ดุแลผู้ป่วยจิตเภท [วิทยานิพนธ์ พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช]. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2550.

วาสนา นามเหลา. ปัจจัยที่มีผลต่อภาระการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทที่มารับบริการในโรงพยาบาลจิตเวชสระแก้วราชนครินทร์ [วิทยานิพนธ์ พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช]. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2559.

จิราภร รักการ. ผลของการใช้โปรแกรมสุขภาพจิตศึกษาต่อภาระในการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท ในชุมชน [วิทยานิพนธ์ พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2549.

เบ็ญจา นิ่มนวล. สมรรถนะแห่งตนกับกิจกรรมการดูแลผู้ที่เป็นโรคจิตเภทที่บ้านของผู้ดูแล [วิทยานิพนธ์ พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2547.

Yamane T. Statistics: An Introductory Analysis. 2rd ed. New York: Harper and Row; 1973.

วรรณรัตน์ ลาวัง, รัชนี สรรเสริญ และยุวดี รอดจากภัย. สถานการณ์และความต้องการของญาติผู้แลผู้ใหญ่ป่วยเรื้อรังที่บ้าน. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า 2549;15(2): 17-31.

สายใจ พัวพันธ์. ทฤษฎีการพยาบาล: ศาสตร์แห่งมนุษย์และการดูแลมนุษย์ของวัตสัน. ชลบุรี: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา; 2553.

Neuman B. The Neuman system model. 4th ed. New Jersey: Pearson Education; 2002.

ลักษณา หนุนนาค. ความสัมพันธ์ระหว่างสัมพันธภาพในครอบครัวกับความฉลาดทางอารมณ์ของวัยรุ่น ในวิทยาลัยเทคนิคปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี [วิทยานิพนธ์ คหกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาครอบครัวและสังคม]. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2546.

สุพัฒนา สุขสว่าง, ศิริลักษณ์ สว่างวงศ์สิน. ตราบาปในผู้ป่วยจิตเภท. นนทบุรี: กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข; 2548.

แก้วตา มีศรี, เพ็ญนภา แดงด้อมยุทธ์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสามารถของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน.วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย 2555; 26(1): 35-49.

ทัดทรวง ตานะเศรษฐ. ความรู้เรื่องโรคและการรักษาด้วยยา ทัศนคติต่อการใช้ยาของผู้ป่วยโรคจิตเภทชาวไทยภูเขาที่มารับบริการในโรงพยาบาลแม่สะเรียง [วิทยานิพนธ์ พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2548.

เทียนทอง หาระบุตร. ปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับพลังสุขภาพจิตของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน [วิทยานิพนธ์ พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2555.

Doornbos MM. Family caregivers and the mental health care system: Reality and dream. Archives of Psychiatric Nursing 2002; 16(1): 39-46.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-08-31