การพัฒนารูปแบบการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรงพยาบาลเลาขวัญ
คำสำคัญ:
รูปแบบการดูแลผู้ป่วย, โรคเบาหวาน, พฤติกรรมการดูแลตนเองบทคัดย่อ
การวิจัยและพัฒนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน และศึกษาประสิทธิผลรูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน ในเรื่องความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน พฤติกรรมการดูแลตนเอง และระดับน้ำตาลในเลือด และความพึงพอใจต่อโปรแกรมการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ได้พัฒนาขึ้น ของโรงพยาบาลเลาขวัญ กลุ่มตัวอย่างในการพัฒนารูปแบบเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวาน ที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ ไม่มีโรคแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน และยินยอมที่จะร่วมมือในการวิจัย จำนวน 80 คน แบ่งเป็นกลุ่มที่ใช้รูปแบบและกลุ่มไม่ใช้รูปแบบ กลุ่มละ 40 คน ทั้งนี้ รูปแบบการดูแลตนเองที่พัฒนาขึ้น คือ ให้ความรู้และประเมินพฤติกรรมการดูแลตนเอง ให้คำแนะนำในการปฏิบัติในการดูแลตนเอง ให้ยา และมีการติดตามทางโทรศัพท์โดยเจ้าหน้าที่ หลังจากการมารักษาแต่ละครั้งในช่วง 2 เดือนแรก หากพบว่าในเดือนที่ 3 ผู้ป่วยยังไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ ก็จะส่งพบแพทย์เพื่อพิจารณาปรับยาให้เหมาะสม และทำการเยี่ยมบ้านเพื่อหาสาเหตุและส่งเสริมให้ญาติช่วยดูแล ส่วนกลุ่มที่ไม่ใช้รูปแบบจะใช้การดูแลแบบเดิม ๆ ที่เคยใช้ คือ ให้การตรวจรักษา แล้วให้คำแนะนำต่าง ๆ ตามสภาพปัญหาของผู้ป่วย ให้ยาไปรับประทาน และการนัดหมายให้มาตรวจตามนัด ดำเนินการศึกษาในเดือนกรกฎาคม – ธันวาคม 2560 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ รูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน แบบสอบถาม แบบบันทึกข้อมูลการรักษาพยาบาล แบบทดสอบความรู้ก่อนและหลัง แบบสอบถามความพึงพอใจ และแบบบันทึกระดับน้ำตาลในเลือด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา Chi-square test, Independent t-test และ Paired sample t-test
ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มที่ใช้รูปแบบ หลังการใช้รูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน มีคะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน พฤติกรรมการดูแลตนเอง มากกว่าก่อนการใช้รูปแบบการดูแลผู้ป่วยที่ได้พัฒนาขึ้น และระดับน้ำตาลในเลือดเฉลี่ย ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05) และเมื่อเปรียบเทียบการใช้รูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน ระหว่างกลุ่มที่ใช้รูปแบบดังกล่าว กับกลุ่มที่ไม่ใช้รูปแบบ หลังการทดลอง พบว่า กลุ่มที่ใช้รูปแบบมีคะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน พฤติกรรมการดูแลตนเอง มากกว่ากลุ่มที่ไม่ใช้รูปแบบ และระดับน้ำตาลในเลือดเฉลี่ยลดลงมากกว่ากลุ่มที่ไม่ใช้รูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05) ทั้งนี้ ผู้ใช้รูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน โดยรวมมีความพึงพอใจ ในระดับมาก ร้อยละ 77.5 และพึงพอใจปานกลาง ร้อยละ 22.5 ต่อการใช้รูปแบบดังกล่าว
จากผลการวิจัยดังกล่าว แสดงให้เห็นว่ารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ได้พัฒนาขึ้น มีประสิทธิผลที่ดี ผู้ป่วยมีความพึงพอใจ และมีความเป็นไปได้ที่จะนำไปปฏิบัติของสถานบริการสุขภาพระดับต่าง ๆ ได้ จึงควรนำรูปแบบการดูแลผู้ป่วยดังกล่าวมาใช้แก่ผู้ป่วยโรคเบาหวานต่อไป
References
2.นิตยา พันธุเวทย์, เมตตา คำพิบูลย์ และนุชรี อาบสุวรรณ. ประเด็นรณรงค์วันเบาหวานโลก ปี 2553 (ปีงบประมาณ 2554). กรุงเทพฯ: สำนักโรคไม่ติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข; 2554.
3.วิชัย เอกพลากร และคณะ. การสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 5. เอกสารอัดสำเนา; 2559.
4.ฉัตรเลิศ พงษ์ไชยกุล. การดูแลผู้ป่วยเบาหวาน [ออนไลน์]. 2550. [เข้าถึงเมื่อ 2559 ธันวาคม 16]. เข้าถึงได้จาก: http://www. chatlert.worldmedic. com/ docfile/pdm.doc
5.Wagner EH, Davis C, Schaefer J, Von Korff M, Austin B. A survey of leading chronic disease management programs: are they consistent with the literature? Manage Care Quality 2001;7(3): 56-66.
6.ทินกร ศีรษภูมิ. การพัฒนาระบบบริการโรคเบาหวานแผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลจังหาร จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 2550; 2(1): 106-14.
7.โรงพยาบาลเลาขวัญ. รายงานผู้ป่วยโรคเบาหวาน. กาญจนบุรี: โรงพยาบาลเลาขวัญ; 2560.
8.Dey KP, Hariharan S. Integrated approach to healthcare Quality management: A case study. The TQM Magazine 2006; 18(6): 583-605.
9.Beckie T. A supportive-educative telephone program: impact on knowledge and anxiety after coronary artery bypass graft surgery. Heart Lung 1989; 18: 46-55.
10.Kinsella A. Telehealth and home care nursing. Home Healthcare Nurse 2000; 15(11); 796-7.
11.Rice R. Tele-caring in home care: Making a telephone visit. Geriatric Nursing 2000; 21(1): 56-7.
12.เจ๊ะปาตีหม๊ะ บินอิบรอเฮง, สุไกรญา นิยมเดชา, อมรรัตน์ นวลภักดี. ประสิทธิผลโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมร่วมกับการติดตามทางโทรศัพท์ของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลปัตตานี. ปัตตานี: โรงพยาบาลปัตตานี; 2556.
13.นันทพร บุษราคัมวดี, ยุวมาลย์ ศรีปัญญวุฒิศักดิ์. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน โรงพยาบาลนครนายก. วารสารการพยาบาลและการศึกษา 2555; 5(2): 114–29.
14.รัชนี ศรีหิรัญ. ผลของการติดตามทางโทรศัพท์ต่อการดูแลตนเองของผู้ป่วยจิตเภทหลังจำหน่าย [วิทยานิพนธ์ พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2554.
15.ณัฏฐิรา ประสาทแก้ว, แสงทอง ธีระทองคำ, วันทนา มณีศรีวงศ์กูล. ผลของโปรแกรมการเยี่ยมบ้านร่วมกับการติดตามทางโทรศัพท์ ต่อความเชื่อด้านสุขภาพ และค่าความดันโลหิตของผู้ที่เป็นความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ [ออนไลน์]. 2554 [เข้าถึงเมื่อ 2560 กรกฎาคม 12]. เข้าถึงได้จาก: https://www.tci-thaijo. org/index. php/ jph/article/view/7864
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ประกฎในวารสารศูนย์อนามัยที่ 9 เป็นความคิดเห็นของผู้เขียน บรรณาธิการ คณะผู้จัดทำ และศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา (เจ้าของ) ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ผลการพิจารณาของกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิถือเป็นที่สิ้นสุด คณะบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจแก้ไขข้อความให้ถูกต้องตามหลักภาษาและมีความเหมาะสม
กองบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหาใด ๆ ของบทความ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของผลการประเมินบทความในวารสารฯ ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์อนามัยที่ 9