สถานการณ์ภาวะสุขภาพนักเรียนในประเทศไทย พ.ศ. 2558

ผู้แต่ง

  • อรอุมา โภคสมบัติ สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย
  • กิตติ ลาภสมบัติศิริ สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย
  • ชนกานต์ ด่านวนกิจเจริญ สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย

คำสำคัญ:

พฤติกรรมสุขภาพ, ปัจจัยการป้องกัน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลภาวะสุขภาพเด็กวัยเรียนและเยาวชนทั้งด้านพฤติกรรมและปัจจัยการป้องกัน (Protective Factors) และนำข้อมูลไปใช้กำหนดทิศทางหรือแนวโน้มความชุกของพฤติกรรมสุขภาพและปัจจัยการป้องกันในกลุ่มเป้าหมายดังกล่าว  กลุ่มตัวอย่างคือเด็กวัยเรียนอายุ 13-17 ปี ที่กำลังศึกษาในชั้นมัธยมศึกษาที่ 1-6 จากโรงเรียน ทั่วประเทศ  จำนวนโรงเรียนที่เป็นตัวแทนทั่วประเทศ 64 แห่ง  จำนวนนักเรียน 6,843 คน โดยใช้เทคนิคการสุ่มเลือกตัวอย่างแบบกลุ่มในลักษณะ 2 ขั้นตอน (Two-stage cluster sampling design) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับภาวะสุขภาพและพฤติกรรมนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statis­tics) วิเคราะห์ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ(Percentage)  และใช้สถิติอ้างอิงวิเคราะห์ค่าช่วงความเชื่อมั่น (Confidence intervals: CI) ส่วนการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่างๆ ใช้สถิติอ้างอิง (Inferential statistics) เพื่อเปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร โดยการทดสอบไคสแควร์ (Chi-square analysis)

ผลการศึกษาพบว่า นักเรียนร้อยละ 17.1 มีภาวะน้ำหนักเกิน ร้อยละ 56.1 ดื่มน้ำอัดลม และ ร้อยละ 54.7 รับประทานฟาสต์ฟู้ด  นักเรียนร้อยละ 5.1 ไม่ทำความสะอาดฟันหรือแปรง ร้อยละ 15.7 ไม่เคยล้างมือหรือล้างบ้างนาน ๆ ครั้งก่อนรับประทานอาหาร ร้อยละ 26.2  ถูกทำร้ายร่างกายจำนวน 1 ครั้งหรือมากกว่านั้น  ร้อยละ 13.8 เคยวางแผนถึงวิธีการพยายามฆ่าตัวตาย และ ร้อยละ 6.6 นักเรียนบอกว่าตนเองไม่มีเพื่อนสนิท ร้อยละ 70.6 ในกลุ่มของนักเรียนที่เคย สูบบุหรี่ พบว่าเริ่มสูบบุหรี่ครั้งแรกก่อนอายุ 14 ปี         ร้อยละ 18.6 เคยมีเพศสัมพันธ์มาแล้ว ร้อยละ 20.0 ออกกำลังกายที่รวมแล้วไม่น้อยกว่า 60 นาทีต่อวัน ในจำนวน 5 วันหรือมากกว่า ในระหว่าง 7 วันที่ผ่านมา ร้อยละ 56.3  นักเรียนใช้เวลา 3 ชั่วโมงต่อวันหรือมากกว่า ในการนั่งดูโทรทัศน์ นั่งเล่นเกมคอมพิวเตอร์ คุยกับเพื่อน นั่งอ่านหนังสือหรือนั่งคุยโทรศัพท์ ร้อยละ 20.4 ไม่ได้เข้าเรียนหรือไม่ได้ไปโรงเรียนโดยไม่ได้รับอนุญาต  ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในระยะสั้นเพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพเด็กนักเรียนและเยาวชนในประเด็นเร่งด่วน ควรนำเสนอผลการวิจัยการสำรวจภาวะสุขภาพนักเรียนในประเทศไทย พ.ศ. 2558 ต่อหน่วยงานระดับนโยบายที่เกี่ยวข้องเพื่อรับทราบและนำข้อมูลไปใช้ประกอบการวางแผนและกำหนดยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาเด็กวัยเรียนและเยาวชนที่เหมาะสมต่อไป

Author Biographies

อรอุมา โภคสมบัติ, สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย

นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ

กิตติ ลาภสมบัติศิริ, สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย

นายแพทย์เชี่ยวชาญ ด้านสาธารณสุข

ชนกานต์ ด่านวนกิจเจริญ, สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย

นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการพิเศษ

References

1. ไพศาล ลิ้มสถิตย์. ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ: มิติทางกฎหมาย [ออนไลน์]. 2550 [เข้าถึงเมื่อ 2560 สิงหาคม 13]. เข้าถึงได้จาก: http://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/1764?show=full
2. ณัชฎา คงศรี. จาก MDGs สู่ SDGs เป้าหมายการพัฒนาที่เปลี่ยนไปเพื่อความยั่งยืน [ออนไลน์]. มปป. [เข้าถึงเมื่อ 2560 สิงหาคม 13]. เข้าถึงได้จาก: https://sdgmove.com/2017/08/13/mdgstosdgs
3. ชื่นฤทัย กาญจนะจิตรา. พลวัตของสุขภาพโลก (Global Health) [ออนไลน์]. มปป. [เข้าถึงเมื่อ 2558 มีนาคม 10]. เข้าถึงได้จาก: https://sdgmove.com/2017/08/13/mdgstosdgs
4. พิมพ์พรรณ ศิลปะสุวรรณ และคณะ. การวิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผลการดําเนินงานเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับประเทศ พ.ศ. 2551-2555. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2556.
5. มยุรี หอมสนิท. NCDs โรคไม่ติดต่อ [ออนไลน์]. มปป. [เข้าถึงเมื่อ 2557 มิถุนายน 25]. เข้าถึงได้จาก: http://www.manager.co.th/QOL/viewnews.aspx?NewsID=9570000070930
6. WHO. Global School-based Student Health Survey (GSHS) [Online]. ND. [cited 2018 January 9]. Available from: https://www.cdc.gov/gshs/index.htm
7. กลุ่มอนามัยเด็กวัยเรียนและเยาวชน สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. รายงานการสำรวจภาวะสุขภาพนักเรียนในประเทศไทย พ.ศ. 2551. พิมพ์ครั้งที่1. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด; 2552.
8. มัลลิกา จันทร์ฝั้น. การศึกษาพฤติกรรมสุขภาพต่อโรคอ้วน ของนิสิตสาขาวิชาสุขศึกษา
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน [ออนไลน์]. 2557. [เข้าถึงเมื่อ 2557 มิถุนายน 25]. เข้าถึงได้จาก: http://ped.edu.ku.ac.th/home/specialproblem/files/25_05_2015_22_08_22.pdf
9. สุรวิทย์ คนสมบูรณ์. ป่วยเรื้อรังคร่าชีวิตคนไทยปีละกว่าแสนราย เกือบครึ่งอายุไม่ถึง60 [ออนไลน์]. มปป. [เข้าถึงเมื่อ 2555 กันยายน 7]. เข้าถึงได้จาก: https://www.thairath.co.th/content/289338

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-04-30