การพัฒนาหลักสูตรการจัดการอบรมเรื่องเพศคุยได้ในครอบครัว

ผู้แต่ง

  • อรอุมา ทางดี สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย
  • นฎาประไพ สาระ สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย
  • ภัทรพงศ์ ชูเศษ สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย

คำสำคัญ:

การสื่อสารในครอบครัว, การสื่อสารเรื่องเพศและอนามัยการเจริญพันธุ์, การพัฒนาหลักสูตร

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาหลักสูตรการจัดอบรมเรื่องเพศคุยได้ในครอบครัว และศึกษาผลการใช้หลักสูตรการจัดอบรมเรื่องเพศคุยได้ในครอบครัว

วิธีการวิจัย: การวิจัยเชิงปริมาณแบบพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง (Cross sectional Descriptive Study)  กลุ่มตัวอย่าง คือ  พ่อแม่ ผู้ปกครอง ที่เป็นผู้ดูแลบุตรหลานที่มีอายุไม่เกิน 20 ปี ที่ได้เข้าร่วมหลักสูตรการอบรมเรื่องเพศคุยได้ในครอบครัว จากสถานประกอบการในจังหวัดสุพรรณบุรีและจังหวัดประจวบคีรีขันธ์  ชุมชนในจังหวัดสุพรรณบุรี  จังหวัดกาฬสินธุ์  จังหวัดมหาสารคาม และจังหวัดจันทบุรี เก็บข้อมูลโดย แบบสอบถาม แบบทดสอบก่อน-หลัง แบบบันทึกกิจกรรม และแบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis)

ผลการวิจัย: 1) การพัฒนาหลักสูตรการจัดการอบรมเรื่องเพศคุยได้ในครอบครัวให้แก่พ่อแม่ ผู้ปกครองที่มีลูกหลานวัยรุ่น สร้างขึ้นเพื่อให้ความรู้และปรับทัศนคติในการสื่อสารเรื่องเพศและอนามัยการเจริญพันธุ์ ประกอบด้วย วัตถุประสงค์ รูปแบบกิจกรรมระยะเวลา สื่อ/อุปกรณ์ เนื้อหาประกอบการบรรยาย/กิจกรรม ได้แก่ สถานการณ์และปัญหาของวัยรุ่น พัฒนาการทางเพศของวัยรุ่น การสื่อสารกับลูกหลานวัยรุ่น การรู้จักป้องกันการตั้งครรภ์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การรู้และเข้าใจถึงเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับลูกหลานวัยรุ่น  และกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างทักษะและปรับทัศนคติในการสื่อสารเรื่องเพศกับลูกหลานวัยรุ่น และการประเมินผลกิจกรรม การพัฒนาหลักสูตรตามแนวคิด SPIE Model  2) ผลการใช้หลักสูตรการอบรมเรื่องเพศคุยได้ในครอบครัว พบว่า ผลวิเคราะห์การทดสอบด้านความรู้เรื่องเพศและอนามัยการเจริญพันธุ์ และด้านทัศนคติในการสื่อสารเรื่องเพศและอนามัยการเจริญพันธุ์ของกลุ่มตัวอย่างก่อนและหลังเข้ารับการอบรม ค่าคะแนนเฉลี่ยที่ได้ก่อนได้รับการอบรมคิดเป็นร้อยละ 49.77 ค่าคะแนนเฉลี่ยที่ได้หลังการอบรมคิดเป็นร้อยละ 62.43 และมีความพึงพอใจในระดับมากในการเข้าร่วมกิจกรรมหลักสูตรฯ

สรุปการวิจัย: พ่อแม่ ผู้ปกครองที่ได้เข้าร่วมหลักสูตรฯ ได้มีความรู้ และทัศนคติในการสื่อสารเรื่องเพศและอนามัยการเจริญพันธุ์เพิ่มขึ้น เกิดความตระหนักและเห็นความสำคัญในการสื่อสารกับลูกหลานวัยรุ่น อันจะส่งผลให้วัยรุ่นมีพฤติกรรมทางเพศที่เหมาะสมและปลอดภัย ดังนั้นหน่วยงานและผู้ที่เกี่ยวข้องควรมีการขยายผลในการพัฒนาศักยภาพพ่อแม่ ผู้ปกครองในการสื่อสารเรื่องเพศและอนามัยการเจริญพันธุ์ ให้เกิดความครอบคลุมในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น

Author Biographies

อรอุมา ทางดี, สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย

นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ

นฎาประไพ สาระ, สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย

นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ

ภัทรพงศ์ ชูเศษ, สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย

นักวิชาการสาธารณสุข

References

1. สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย. สถานการณ์อนามัยการเจริญพันธุ์ในวัยรุ่นและเยาวชน ปี 2556 [ออนไลน์]. มปป. สืบค้นจาก http://rh.anamai.moph.go.th
2. สมคิด สมศรี, บรรณรัตน์ เก่งกสิกิจ, บรรเจิด พวงสุวรรณ, ยุพิน ผดุงฤกษ์ และ ศิริเพ็ญ ทองเหลา. การตั้งครรภ์และพฤติกรรมการเลี้ยงดูบุตรของวัยรุ่นที่มีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร และความต้องการความช่วยเหลือในเขตพื้นที่ จังหวัดพิจิตร นครสวรรค์ อุทัยธานี ลพบุรี อ่างทอง สิงห์บุรีและชัยนาท. ลพบุรี: สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 8 จังหวัดลพบุรี กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์; 2554.
3. ละมัย มั่นคง. การสื่อสารเรื่องเพศในครอบครัวไทย. นนทบุรี: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด; 2557.
4. รุ่งรัตน์ ศรีสุริยเวศน์, พรนภา หอมสินธุ์. ความสัมพันธ์ระหว่างการสื่อสารของมารดากับบุตรสาวเกี่ยวกับความเสี่ยงทางเพศ และทัศนคติของมารดาต่อการมีเพศสัมพันธ์ก่อนแต่งงาน กับความสามารถของตนในการปฏิเสธการมีเพศสัมพันธ์ของวัยรุ่นหญิง. Thai Journal of Nursing Council 2514; 29(3): 31-41.
5. สุรีย์พร กฤษเจริญ, กัญจนี พลอินทร์, ฐิติพร อิงคถาวรวงศ์, จรัญ ศรีทวีวัฒน์. การสอนเรื่องเพศของพ่อแม่และความต้องการการเรียนรู้เรื่องเพศของลูก. สงขลานครินทร์เวชสาร 2551; 26(1): 61-70.
6. องค์การแพธ (PATH). ผู้ใหญ่เปิดใจ ลูกหลาน (รัก) ปลอดภัย คำแนะนำสำหรับพ่อแม่และผู้ใหญ่ในการสื่อสารเรื่องเพศอย่างสร้างสรรค์กับลูกหลานที่กำลังเติบโตเป็นวัยรุ่น. กรุงเทพฯ: องค์การแพลน อินเตอร์เนชั่นแนล; 2554.
7. กิตติพงศ์ แซ่เจ็ง, บุญฤทธิ์ สุขรัตน์. คู่มือก้าวสู่...อำเภออนามัยการเจริญพันธุ์. พิมพ์ครั้งที่ 3. นนทบุรี: สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์; 2556.
8. สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์. รายงานผลการดำเนินงานโครงการส่งเสริมการจัดบริการสุขภาพที่เป็นมิตรและพัฒนาเครือข่ายอนามัยการเจริญพันธุ์ในวัยรุ่น ปีงบประมาณ 2557. นนทบุรี: สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย; 2557.
9. พรฤดี นิธิรัตน์. สถานการณ์การสื่อสารเรื่องเพศศึกษาระหว่างพ่อแม่กับลูกวัยรุ่นในครอบครัวไทย. จันทบุรี: วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี; 2550.
10. กองส่งเสริมและพัฒนาเครือข่าย สํานักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว. หลักสูตรและคู่มือค่ายครอบครัว. กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์; 2554.
11. องค์การแพธ (PATH). คู่มือการจัดกิจกรรม การสื่อสารระหว่างพ่อแม่ ผู้ปกครองกับบุตรหลานเพื่อส่งเสริมสุขภาวะทางเพศในเยาวชน. กรุงเทพฯ: องค์การแพลน อินเตอร์เนชั่นแนล; 2554.
12. สายทิพย์ สพมานะ. การสื่อสารในครอบครัวกับทัศนคติการมีเพศสัมพันธ์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในเขตกรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์ นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์]. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทยัธรรมาธิราช; 2552.
13. กมลทิพย์ ทิพย์สังวาล, รุ่งรัตน์ ศรีสุริยเวศน์, พรนภา หอมสินธุ์. ผลของโปรแกรมการมีส่วนร่วมของมารดาต่อการสื่อสารเรื่องเพศระหว่างมารดาและบุตรวัยรุ่นหญิงตอนต้น. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา 2556; 8(2): 77-88.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-04-30