ผลของโปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุในหมู่บ้านโคกสะอาด ตำบลสีคิ้ว อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา
คำสำคัญ:
โปรแกรมการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพ, ผู้สูงอายุบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบหนึ่งกลุ่ม (One-group quasi-experimental research) วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการใช้โปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุในเขตหมู่บ้านโคกสะอาด ตำบลสีคิ้ว อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป และเป็นสมาชิกชมรมผู้สูงอายุโดยคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 50 คนเก็บข้อมูลระหว่างเดือนธันวาคม 2560 -กุมภาพันธ์ 2561เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยโปรแกรมการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุ โดยประยุกต์แนวคิดการส่งเสริมสุขภาพของเพนเดอร์เน้นการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพ 6 ด้าน แบบมีส่วนร่วมของผู้สูงอายุ คือ ด้านความรับผิดชอบต่อสุขภาพ, ด้านการออกกำลังกาย, ด้านโภชนาการ, ด้านสัมพันธภาพระหว่างบุคคล, ด้านการพัฒนาด้านจิตวิญญาณและด้านการจัดการกับความเครียดเครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วยแบบสัมภาษณ์พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุแบบสัมภาษณ์
ความพึงพอใจ ตรวจสอบความตรงของเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ตรวจสอบค่าความเที่ยงได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ 0.94 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการแจกแจงความถี่ ร้อยละค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ paired t-test
ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุหลังเข้าร่วมโปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 6.64, p< .001) เมื่อจำแนกพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุตามรายด้าน 6 ด้านเปรียบเทียบก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง พบว่าค่าเฉลี่ยของพฤติกรรมสุขภาพก่อนเข้าร่วมโปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุเท่ากับ 3.06 (S.D.=0.51) ส่วนค่าเฉลี่ยของพฤติกรรมสุขภาพหลังเข้าร่วมโปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุเท่ากับ 3.41 (S.D.=0.21) ทั้งนี้ความพึงพอใจต่อการดำเนินกิจกรรมในโปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุโดยรวมอยู่ในระดับสูงค่าเฉลี่ย3.85 (S.D.=0.41)
สรุปผลการวิจัยได้ว่าโปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุช่วยให้ผู้สูงอายุมีพฤติกรรมสุขภาพดีขึ้น และผู้สูงอายุมีความพึงพอใจต่อการดำเนินกิจกรรมในโปรแกรม ดังนั้นจึงควรนำโปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุไปใช้กับผู้สูงอายุกลุ่มอื่นๆให้กว้างขวางและต่อเนื่อง
References
2.สุทธิชัย จิตะพันธ์กุล. หลักสำคัญของเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2542.
3. O’ Brian DP, Nagaria J, Rawluk D. Neurosurgery for the Elderly: Facts and Figures. Gerontology 1996;42: 1-6.
4. ปิ่นนเรศ กาศอุดม, มัณฑนา เหมชะญาติ. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมพพฤติกรรมสุภาพของผู้สูงอายุในเขตตำบลบางกะจะ อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี. จันทบุรี: วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี; 2552.
5. Pender NJ. Health Promotion in Nursing Practice. 2nd ed. Connecticut: Appleton & Lange; 1996.
6. วิภาพร สิทธิสาตร์, สุชาดา สวนนุ่ม. พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุในชุมชนเขตความรับผิดชอบของ สถานีอนามัยบ้านเสาหินตำบลวัดพริก อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. พิษณุโลก: วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช; 2550.
7. โรงพยาบาลสีคิ้ว กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม. แบบประเมินตนเองกลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลสีคิ้ว. นครราชสีมา: โรงพยาบาลสีคิ้ว; 2559.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ประกฎในวารสารศูนย์อนามัยที่ 9 เป็นความคิดเห็นของผู้เขียน บรรณาธิการ คณะผู้จัดทำ และศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา (เจ้าของ) ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ผลการพิจารณาของกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิถือเป็นที่สิ้นสุด คณะบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจแก้ไขข้อความให้ถูกต้องตามหลักภาษาและมีความเหมาะสม
กองบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหาใด ๆ ของบทความ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของผลการประเมินบทความในวารสารฯ ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์อนามัยที่ 9