การเปรียบเทียบผลการตั้งครรภ์ในหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะคลอดก่อนกำหนดระยะท้ายกับหญิงตั้งครรภ์ที่คลอดครบกำหนด โรงพยาบาลเทพรัตน์นครราชสีมา
คำสำคัญ:
ภาวะคลอดก่อนกำหนดระยะท้าย, ผลการตั้งครรภ์และการคลอดในมารดา, ผลการคลอดในทารก, ปัจจัยเสี่ยงบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบผลการตั้งครรภ์และการคลอดของหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะคลอดก่อนกำหนดระยะท้าย (อายุครรภ์ 34-<37 สัปดาห์) กับหญิงตั้งครรภ์ที่คลอดอายุครรภ์ปกติ (อายุครรภ์ 37-42 สัปดาห์) และศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิดภาวะคลอดก่อนกำหนดระยะท้าย
วัสดุและวิธีการ: งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาแบบ case control study โดยเก็บข้อมูลย้อนหลังเปรียบเทียบผลการตั้งครรภ์และการคลอดของหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะคลอดก่อนกำหนดระยะท้ายกับหญิงตั้งครรภ์ที่คลอดอายุครรภ์ปกติ ที่มาคลอดในโรงพยาบาลเทพรัตน์นครราชสีมา ระหว่างเดือนมกราคม ถึง ธันวาคม 2559
ผลการศึกษา: อุบัติการณ์ของภาวะคลอดก่อนกำหนดระยะท้ายที่โรงพยาบาลเทพรัตน์นครราชสีมา เท่ากับร้อยละ 9.89 อายุเฉลี่ยของหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะคลอดก่อนกำหนดระยะท้ายน้อยกว่าหญิงตั้งครรภ์ที่คลอดอายุครรภ์ปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.01) ปัจจัยในระหว่างตั้งครรภ์พบอุบัติการณ์ของกลุ่มอายุมารดาน้อยกว่า 20 ปี (p=<0.001) และ จำนวนครั้งของการฝากครรภ์น้อยกว่า 6 ครั้ง (p=0.02) สูงขึ้นในหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะคลอดก่อนกำหนดระยะท้ายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ปัจจัยในระหว่างการคลอดพบอุบัติการณ์ของการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง (cesarean section) สูงขึ้นในหญิงตั้งครรภ์ที่คลอดอายุครรภ์ปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.01) ปัจจัยการคลอดในทารกแรกเกิดพบอุบัติการณ์ของภาวะน้ำหนักทารกแรกคลอดน้อย (Low Birth Weight) สูงขึ้นในหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะคลอดก่อนกำหนดระยะท้ายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=<0.001) ปัจจัยเสี่ยงที่มีความสัมพันธ์กับภาวะคลอดก่อนกำหนดระยะท้าย ได้แก่ กลุ่มอายุมารดาน้อยกว่า 20 ปี (adjusted OR=2.69, 95%CI= 1.12, 6.46) และจำนวนครั้งของการฝากครรภ์น้อยกว่า 6 ครั้ง (adjusted OR =3.47, 95%CI= 1.57, 7.63)
สรุป: ภาวะคลอดก่อนกำหนดระยะท้ายทำให้เพิ่มอุบัติการณ์ของภาวะน้ำหนักทารกแรกคลอดน้อย และปัจจัยเสี่ยงที่มีความสัมพันธ์กับภาวะคลอดก่อนกำหนดระยะท้ายอย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่ กลุ่มอายุมารดาน้อยกว่า 20 ปี และจำนวนครั้งของการฝากครรภ์น้อยกว่า 6 ครั้ง
References
2. Butchon R, Liabsuetrakul T, McNeil E, Suchonwanich Y. Birth rates and pregnancy complications in adolescent pregnant women giving birth in the hospitals of Thailand. Journal of the Medical Association of Thailand 2014 Aug; 97(8):785-90.
3. Rebecca B. Russell, Nancy S. Green, Claudia A. Steiner, Susan Meikle, Jennifer L. Howse, Karalee Poschman, et al. Cost of Hospitalization for Preterm and Low Birth Weight Infants in the United States. Journal of Pediatrics 2007 Dec; 54(6):647-53.
4. Frank H, Gloria B, Deborah M, Richard B. A Three-Center, Randomized, Controlled Trial of Individualized Developmental Care for Very Low Birth Weight Preterm Infants: Medical, Neurodevelopmental, Parenting, and Caregiving Effects. Journal of Developmental & Behavioral Pediatrics 2003 Dec; 24(6):399-408.
5. Michael S, Demissie K, Yang H, Platt RW, Sauvé R, Liston R. The contribution of mild and moderate preterm birth to infant mortality. JAMA 2000; Jan; 284(7):843-49.
6. Lee AC, Mullany LC, Tielsch JM, Katz J, Khatry SK, LeClerq SC, et al. Risk Factors for Neonatal Mortality Due to Birth Asphyxia in Southern Nepal: A Prospective, Community-Based Cohort Study. Pediatrics 2008; May; 121(5):121-27.
7. Duvanel CB, Fawer CL, Cotting J, Hohlfeld P, Matthieu JM. Long-term effects of neonatal hypoglycemia on brain growth and psychomotor development in small-for-gestational-age preterm infants. The journal of pediatrics 1999; April; 134(4):492-98.
8. Laptook A, Jackson GL. Cold Stress and Hypoglycemia in the Late Preterm (“Near-Term”) Infant: Impact on Nursery of Admission. Seminars in Perinatology 2006 Feb; 30(1):24-27.
9. Magann EF, Evans S, Hutchinson M, Collins R. Postpartum hemorrhage after cesarean delivery: an analysis of risk factors. Southern Medical Journal 2005 July; 42(3):37-40.
10. Lu L, Qu Y, Tang J, Chen D, Mu D. Risk factors associated with late preterm births in the underdeveloped region of China: A cohort study and systematic review. Taiwanese journal of obstetrics & gynecology 2015 Dec; 54(6):647-53.
11. Zhong XQ, Cui QL. [Comparative analysis of risk factors for preterm and small-for-gestational-age births]. Zhongguo dang dai er ke za zhi = Chinese journal of contemporary pediatrics 2014 Dec; 16(12):1202-5.
12. Raba G, Kotarski J. Evaluation of risk factors can help to predict preterm delivery within 7 days in women hospitalized for threatened preterm labour. The journal of maternal-fetal & neonatal medicine: the official journal of the European Association of Perinatal Medicine, the Federation of Asia and Oceania Perinatal Societies, the International Society of Perinatal Obstet 2015 Nov 30:1-5.
13. Wong LF, Wilkes J, Korgenski K, Varner MW, Manuck TA. Risk factors associated with preterm birth after a prior term delivery. BJOG: an international journal of obstetrics and gynaecology 2015 Sep 28. PubMed PMID: 26412012.
14. ฐิติกานต์ ณ ปั่น. ปัจจัยที่มีผลต่อการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดของหญิงตั้งครรภ์โรงพยาบาลอมก๋อย อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่. วารสารสาธารณสุขล้านนา 2555; 10(2): 142-150.
15. Sabiri N, Kabiri M, Razine R, Barkat A. Risk factors leading to preterm births in Morocco: a prospective study at the maternity Souissi in Rabat. The Pan African medical journal 2015; 22:21.
16. Atjimakul T, Liabsuetrakul T. Risk factors for two consecutive preterm births in southern Thailand. Thai Journal of Obstetrics and Gynecology 2010 July; 18(3): 98-105.
17. Tatiyanantaporn S. Maternal risk factors for preterm delivery. Khon Kaen Medical Journal 2011; 12(3): 57-65.
18. Rao CR, de Ruiter LE, Bhat P, Kamath V, Kamath A, Bhat V. A case-control study on risk factors for preterm deliveries in a secondary care hospital, southern India. ISRN obstetrics and gynecology 2014; 2014:935982.
19. Santos NL, Costa MC, Amaral MT, Vieira GO, Bacelar EB, de Almeida AH. [Teenage pregnancy: analysis of risk factors for low birth weight, prematurity and cesarean delivery]. Ciencia & saude coletiva 2014 Mar; 19(3):719-26.
20. Goossens G, Kadji C, Delvenne V. Teenage pregnancy: a psychopathological risk for mothers and babies? Psychiatria Danubina 2015 Sep; 27 Suppl 1:S499-503.
21. เดือนเพ็ญ ศิลปอนันต์. ทำไมจึงมาฝากครรภ์ ทัศนะของหญิงตั้งครรภ์โรงพยาบาลบางกรวย จังหวัดนนทบุรี. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย 2557; 4(2): 125-134.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ประกฎในวารสารศูนย์อนามัยที่ 9 เป็นความคิดเห็นของผู้เขียน บรรณาธิการ คณะผู้จัดทำ และศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา (เจ้าของ) ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ผลการพิจารณาของกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิถือเป็นที่สิ้นสุด คณะบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจแก้ไขข้อความให้ถูกต้องตามหลักภาษาและมีความเหมาะสม
กองบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหาใด ๆ ของบทความ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของผลการประเมินบทความในวารสารฯ ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์อนามัยที่ 9