รูปแบบการส่งเสริมสุขภาพช่องปากของชมรมผู้สูงอายุ จังหวัดอำนาจเจริญ
คำสำคัญ:
ชมรมผู้สูงอายุ, การส่งเสริมสุขภาพช่องปากบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพช่องปากของชมรมผู้สูงอายุในจังหวัดอำนาจเจริญ ทั้งหมด 41 ชมรม ศึกษาจากผลการดำเนินงานในปีงบประมาณ 2557 พบว่า ชมรมผู้สูงอายุส่วนใหญ่ มีจำนวนสมาชิกในชมรม 51-80 คน ร้อยละ 39.02 ประธานหรือแกนนำชมรม เป็นอดีตข้าราชการ จำนวน 34 คน ร้อยละ 82.92 ระยะเวลาในการดำเนินงานส่งเสริมช่องปากแก่สมาชิกในชมรมมากกว่า 5 ปี ร้อยละ 58.54 รองลงมาคือ 3-4 ปี ร้อยละ 31.71 แต่ละชมรมมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปาก โดยแกนนำชมรม/ทันตบุคลากรให้ความรู้ด้านทันตสุขภาพ สอนการแปรงฟันที่ถูกวิธี ตรวจสุขภาพช่องปากเบื้องต้น ส่งต่อผู้สูงอายุที่ไม่มีฟันเข้าโครงการฟันเทียมพระราชทาน จัดสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก เช่น จัดมุมแปรงฟันและโมเดลสอนแปรงฟัน มีแปรงสีฟันยาสีฟันขายในราคาถูก มีการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การส่งเสริมสุขภาพช่องปากของชมรมผู้สูงอายุในระดับจังหวัดขึ้นทุกปี มีการแสดงผลงานนวัตกรรมในการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก มีแพทย์เฉพาะทางผู้สูงอายุมาให้ความรู้ด้านการดูแลสุขภาพ โดยใช้ชื่อ “มหกรรมการส่งเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ จังหวัดอำนาจเจริญ” ทำให้สมาชิกแต่ละชมรมเกิดการเรียนรู้การดูแลสุขภาพช่องปากอย่างเหมาะสมกับตนเองและบริบทของชุมชน ชมรมที่มีประธานหรือแกนนำที่เข้มแข็ง จะมีการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพช่องปากอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง มีการสร้างนวัตกรรมที่เป็นภูมิปัญญาของท้องถิ่น และมีกิจกรรมที่ช่วยสร้างสัมพันธภาพระหว่างสมาชิกในชมรม ทำให้เกิดกระแสการมีส่วนร่วมในชุมชนขึ้น ช่วยขับเคลื่อนให้ชมรมผู้สูงอายุมีการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพช่องปากโดยมีทันตบุคลากรเป็นแรงสนับสนุนทางสังคม
References
2. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. อายุคาดเฉลี่ยเมื่อแรกเกิด (e0) (Life Expectancy at Birth) ปี พ.ศ. 2553 – 2583 [อินเตอร์เน็ต]. มปป. เข้าถึงได้จาก: http://social.nesdb.go.th/SocialStat/StatReport_Final.aspx?reportid=88&template=2R1C&yeartype=M&subcatid=4
3. สมบูรณ์ อินทลาภาพร. ผู้สูงอายุ อยู่อย่างไรไกลโรค.หมอชาวบ้าน [อินเตอร์เน็ต]. มปป. เข้าถึงได้จาก: https://www.doctor.or.th/article/detail/6416
4. สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. เป้าหมายแผนงานทันตสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุประเทศไทย พ.ศ.2558-2565 [อินเตอร์เน็ต]. มปป. เข้าถึงได้จาก: http://dental2.anamai.moph.go.th/download/article/article_20161028162941.pdf
5. สุปราณี ดาโลดม, วรวุฒิ กุลแก้ว (บรรณาธิการ). แผนงานทันตสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุประเทศไทย [อินเตอร์เน็ต]. 2558. เข้าถึงได้จาก: http://dental.anamai.moph.go.th/elderly/2558/Project13-14aug15_06.pdf
6. สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. การดำเนินงานการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ ปี 2558 [อินเตอร์เน็ต]. มปป. เข้าถึงได้จาก: http://dental.anamai.moph.go.th/elderly/elderly58.php
7. สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. การดำเนินงานการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ ปี 2556 [อินเตอร์เน็ต]. 2556. เข้าถึงได้จาก: http://dental.anamai.moph.go.th/elderly/2556/MainProject/Guideline56_1.pdf
8. สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.รายงานชมรมผู้สูงอายุที่จัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปาก ปีงบประมาณ 2553-2560 [อินเตอร์เน็ต]. 2560. เข้าถึงได้จาก: http://dental.anamai.moph.go.th/elderly/club_all.php
9. สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.การสร้างเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ เล่ม 4 [อินเตอร์เน็ต]. 2555. เข้าถึงได้จาก: http://dental.anamai.moph.go.th/oralhealth/elderly/2555/Eldgr/HPPEld4.pdf
10. สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. การขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุจังหวัดลำปาง การสร้างเสริมสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุ เล่มที่ 6 [อินเตอร์เน็ต]. มปป. เข้าถึงได้จาก: http://kcenter.anamai.moph.go.th/download.php?info_id=2177&download_file=pdf/71dff6ba725a305d1d8ddb02b99392bd.pdf
11. สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ, ใกล้บ้าน ใกล้ใจ ด้วยความใส่ใจ จาก “หมอชุมชน” [อินเตอร์เน็ต]. 2559. เข้าถึงได้จาก: http://www.nhso.go.th/FrontEnd/NewsInformationDetail.aspx?newsid=MjE5
12. สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. รายงานผลการจัดบริการใส่ฟันเทียมโครงการฟันเทียมพระราชทาน ปี 2548-ปัจจุบัน. เข้าถึงได้จาก: http://dental.anamai.moph.go.th/elderly/denture_all.php
13. ดำรง ธำรงเลาหะพันธุ์. รูปแบบการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพช่องปากในชมรมผู้สูงอายุพื้นที่ภาคตะวันออกของประเทศไทย. วิทยาสารทันตสาธารณสุข 2556; 18(1):49-62.
14. นนทลี วีระชัย, สุปราณี ดาโลดม, วรางคณา เวชวิธี. การจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง โดยวิธีการเล่าเรื่องความสำเร็จ. วิทยาสารทันตสาธารณสุข 2551; 13(5):59-61.
15. วสิน เทียนกิ่งแก้ว. การประเมินผลโครงการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุ จังหวัดกระบี่ ปี 2554. วิทยาสารทันตสาธารณสุข 2555; 17(2): 82-96.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ประกฎในวารสารศูนย์อนามัยที่ 9 เป็นความคิดเห็นของผู้เขียน บรรณาธิการ คณะผู้จัดทำ และศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา (เจ้าของ) ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ผลการพิจารณาของกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิถือเป็นที่สิ้นสุด คณะบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจแก้ไขข้อความให้ถูกต้องตามหลักภาษาและมีความเหมาะสม
กองบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหาใด ๆ ของบทความ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของผลการประเมินบทความในวารสารฯ ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์อนามัยที่ 9