ผลลัพธ์การดำเนินงานส่งเสริมทันตสุขภาพเด็กประถมศึกษา อำเภอโนนไทย จังหวัดนครราชสีมาปี 2559

ผู้แต่ง

  • ธนบดี เพียงปราชญ์ โรงพยาบาลโนนไทย จังหวัดนครราชสีมา

คำสำคัญ:

โรงเรียนเครือข่ายเด็กไทยฟันดี, ส่งเสริมทันตสุขภาพ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามการดำเนินงานโรงเรียนเครือข่ายเด็กไทยฟันดีของผู้บริหาร ความต่อเนื่องในการทำกิจกรรมส่งเสริมทันตสุขภาพของครูอนามัย และผลลัพธ์ของการดำเนินงานส่งเสริมทันตสุขภาพ ในด้านความรู้ ทัศนคติ พฤติกรรม สภาวะทันตสุขภาพของเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2559 อำเภอโนนไทย จังหวัดนครราชสีมา โดยส่งแบบสอบถามไปยังผู้บริหารโรงเรียนและครูอนามัย ได้รับการตอบกลับจากผู้บริหาร 32 ฉบับ(ร้อยละ 69.56) ครูอนามัย 31 ฉบับ(ร้อยละ 67.39) สุ่มตัวอย่างนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 217 คน ตรวจสุขภาพช่องปากร่วมกับตอบแบบสอบถามวัดความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมทันตสุขภาพ ผู้บริหารโรงเรียนมีนโยบายในการทำงานเครือข่ายฟันดีและมีกิจกรรมทันตสุขภาพร่วมกัน แต่ยังขาดการทำงานร่วมกับภาคีเครือข่าย โรงเรียนมีการจัดกิจกรรมแปรงฟันหลังอาหารกลางวันทุกวัน มีนักเรียนที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ตรวจความสะอาดหลังแปรงฟัน มีการบูรณาการความรู้ด้านทันตสุขภาพในกลุ่มสาระการเรียนรู้ทั้ง 8 กลุ่ม มีโรงเรียนจำนวน 12 แห่ง(ร้อยละ 38.7) ที่ควบคุมการจำหน่ายอาหารกลุ่มเสี่ยงได้ นักเรียนกลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยฟันผุ อุด ถอน (DMFT) 0.83 ซี่ต่อคน มีค่าปราศจากฟันผุร้อยละ 80.6 ค่าปราศจากเหงือกอักเสบร้อยละ 71.9 มีความรู้เรื่องโรคในช่องปากอยู่ในระดับปานกลาง มีทัศนคติที่ดีต่อทันตสุขภาพ มีพฤติกรรมการแปรงฟันตอนเช้าทุกวันร้อยละ 90.5 แปรงฟันกลางวันทุกวันร้อยละ 58.6 แปรงฟันก่อนนอนทุกวันร้อยละ 65.7 พฤติกรรมการรับประทานอาหารกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคในช่องปากทุกวันในอาหารกลุ่มขนมถุงและขนมกรุบกรอบร้อยละ 49.5 ดื่มน้ำอัดลมทุกวันร้อยละ 21

Author Biography

ธนบดี เพียงปราชญ์, โรงพยาบาลโนนไทย จังหวัดนครราชสีมา

ทันตแพทย์ชำนาญการพิเศษ

References

1. กองทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. รายงานผลการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 6 ปี พ.ศ. 2549-2550. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักกิจการทหารผ่านศึก; 2551.
2. สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. รายงานผลการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 7 ปี พ.ศ. 2555. กรุงเทพฯ: สำนักกิจการ โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2556.
3. กองทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. แผนงานทันตสาธารณสุขตามแผนพัฒนาการสาธารณสุข ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2530-2534). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สงเคราะห์องค์การทหารผ่านศึก; 2534.
4. ปราณี เหลืองวรา, อังศณา ฤทธิ์อยู่. คู่หูโรงเรียนทันตสุขภาพระดับเขตปี 2552. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: บอร์น ทู บี พับลิชชิ่ง; 2552.
5. สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. การประชุมวิชาการเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้เครือข่ายโรงเรียนเด็กไทยฟันดี ปี 2555; วันที่ 21-23 กุมภาพันธ์ 2555; ณ โรงแรมมณเฑียรริเวอร์ไซด์, กรุงเทพฯ: สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย: 2556
6. บังอร กล่ำสุวรรณ์, ปิยะนุช เอกก้านตรง. ความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากในโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชร เขตตรวจราชการสาธารณสุขที่ 10 และ 11. วารสารศูนย์อนามัยที่ 6 ขอนแก่น .2552;3(1):99-113.
7. ศิริรัตน์ รัศมีโสรัจ. รายงานการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพประชากรจังหวัดนครราชสีมาครั้งที่ 6 ปี 2555. พิมพ์ครั้งที่ 1. นครราชสีมา: กลุ่มงานทันตสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา; 2557.
8. เอมอร เสนานุฤทธิ์ และคณะ. วิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนารูปแบบการส่งเสริมทันตสุขภาพในโรงเรียนและสร้างการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการส่งเสริมป้องกันทันตสุขภาพของนักเรียนประถมศึกษา ตําบลตูมใหญ่ อําเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ปี2554-2555. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2557;23(4):609-618.
9. ณัฐกฤตา ผลอ้อ. การพัฒนาการส่งเสริมทันตสุขภาพในลักษณะเครือข่ายโรงเรียนเด็กไทยฟันดี ตำบลทรายมูล-หนองกุงโดยชุมชนมีส่วนร่วม อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น. วารสารทันตาภิบาล 2560;28(1):114-131.
10. เริงสิทธ์ นามวิชัยศิริกุล. การพัฒนาเครือข่ายโรงเรียนเด็กไทยอ่อนหวานเด็กไทยฟันดี อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 2559;10(23):18-35.
11. วัฒนา ทองปัสโณว์. ผลการพัฒนากิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปากและบริการทันตกรรมในโรงเรียนประถมศึกษาของอำเภอด่านซ้ายจังหวัดเลยปีการศึกษา2551-2555.วารสารทันตสาธารณสุข 2558;20(1):49-58.
12. สุขจิตรา วนาภิรักษ์. การประเมินผลการดำเนินงานเฝ้าระวังสุขภาพช่องปาก ในโรงเรียนประถมศึกษาจังหวัดแพร่. วารสารทันตสาธารณสุข 2543;5(1-2) 7-18.
13. สิยาภา พนังแก้ว วัชรสินธุ์, เยาวภา ติอัชสุวรรณ, สุรเดช ประดิษฐบาทุกา. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับสภาวะสุขภาพช่องปากของนักเรียนชันประถมศึกษาปีที่ 6 ในอำเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี [วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสาธารณสุขศาสตร์]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2557.
14. วิไลลักษณ์ บังเกิดสิงห์, สุภาวดี พรหมมา. การสำรวจผลิตภัณฑ์อาหารประเภทนมและเครื่องดื่มประเภทนม. เอกสารประกอบการประชุม พัฒนาเครือข่ายสายใยทันตสาธารณสุข วันที่ 8-10 กันยายน 2551 โรงแรมทรัพย์ไพรวัลย์ แกรนด์โฮเต็ล.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-12-31