ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความถี่ในการบริโภคอาหารว่างประเภทแป้งและน้ำตาลระหว่างมื้อของนักเรียนประถมศึกษาชั้นปีที่ 6 อำเภอขามทะเลสอ จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • ปฐมา วิเศษเขตรการณ์ โรงพยาบาลขามทะเลสอ จังหวัดนครราชสีมา

คำสำคัญ:

การบริโภคอาหารว่าง, ฟันผุ, แบบบันทึกการบริโภค, โรงเรียนเครือข่ายเด็กไทยฟันดี

บทคัดย่อ

การศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการบริโภคอาหารว่างประเภทแป้งและน้ำตาลระหว่างมื้อ และศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความถี่ในการบริโภคอาหารว่างประเภทแป้งและน้ำตาลระหว่างมื้อของนักเรียนประถมศึกษาชั้นปีที่ 6 อำเภอขามทะเลสอ จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 148 คน เก็บข้อมูลความถี่ในการบริโภคอาหาร ด้วยแบบบันทึกการบริโภคอาหารว่าง

7 วัน คือวันธรรมดา 5 วัน และวันหยุด 2 วัน เก็บข้อมูลปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยเกี่ยวกับครอบครัว ปัจจัยทางด้านสังคมสิ่งแวดล้อม โดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลและแบบสำรวจโรงเรียนประถมศึกษา ประกอบด้วย การเข้าร่วมเครือข่ายเด็กไทยฟันดี เพศ การอาศัยอยู่กับผู้ปกครอง อาชีพของผู้ปกครอง จำนวนพี่น้อง เงินค่าขนม ประสบการณ์การมีโรคในช่องปาก การรับรู้ความสำคัญของสุขภาพช่องปาก มาตรการด้านอาหารในโรงเรียน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณาและการวิเคราะห์ความถดถอยลอจิสติกพหุคูณ พบว่า  นักเรียนกลุ่มนี้มีความถี่ในการบริโภคอาหารว่างประเภทแป้งและน้ำตาลระหว่างมื้อ เฉลี่ย1.93 ครั้งต่อวัน (SD = 1.04) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความถี่ในการบริโภคอาหารว่างประเภทแป้งและน้ำตาลระหว่างมื้อ มากกว่า 2 ครั้งต่อวัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ ประสบการณ์การมีโรคในช่องปาก (ORadj = 2.71, 95% CI =1.27-5.78) และมาตรการงดขายขนมกรุบกรอบในโรงเรียน (ORadj = 5.93, 95% CI = 1.91-18.37) การส่งเสริมทันตสุขภาพในโรงเรียนประถมศึกษา ควรสนับสนุนให้มีมาตรการควบคุมอาหารที่มีผลเสียต่อทันตสุขภาพ และส่งเสริมการให้ทันตสุขศึกษาด้านผลกระทบของอาหารต่อสุขภาพช่องปาก

Author Biography

ปฐมา วิเศษเขตรการณ์, โรงพยาบาลขามทะเลสอ จังหวัดนครราชสีมา

ทันตแพทย์ชำนาญการพิเศษ

References

1. Dental Health Bureau. The 7th National Oral Health Survey 2012 of Thailand. Bangkok: Department of Health; 2013. (in Thai).
2. Carounanidy U, and Sathyanarayanan R. Dental caries - A complete changeover (Part I).
J Conserv Dent. 2009; 12:2. doi:10.4103/0972-0707.55617.
3. Chanbang P, Prasertsom P, Loungvara P. Participatory Action Research (PAR) : Network Strengthening for pluralistic Partnership In Sweet enough Eating Behavior among Thai Children. Thailand Journal of Dental Public Health 2015; 20(3):31-44. (in Thai).
4. Lingstrom P, Van Houte J, Kashket S. Food starches and dental caries. SAGE Journal 2000; 11(3):366-380.
5. Tharaphiwattananon T, Triratworakul C. Diet Nutrition and Oral health. In Triratworakul C, (eds). Dental prevention in children and adolescents. 4th ed. Bangkok: Best Book Online; 2011. p.314-359. (in Thai)
6. Gupta P, Gup N, Prakash AP, Birajdar SS, Natt AS, Preet Singh H. Role of sugar and sugar substitutes in dental caries: A review. ISRN Dent. 2013;2013:519421.
Doi:10.1155/2013/519421.
7. Koopatishart W. Dental health status and factors associated with dental health status among lowland and hilltribe children in Samoeng district , Chiangmai province. Lanna Plublic Health Journal 2013;9(2):137-150. (in Thai)
8. Oogarah‐Pratap B, Heerah‐Booluck B.J., Children’s consumption of snacks at school in Mauritius. Nutrition & Food Science,2005; 35:1, doi.org/10.1108/00346650510579117.
9. Rashidian A, Feyzabadi VY, Mohammadi NK, Oidvar N, Karimi-Shahanjarini, NS. Factors associated with unhealthy snacks consumption among adolescents in Iran’s school. IJHPM 2017; 6:9. doi:10.15171/ijhpm.2017.09.
10. Keawsawat D. Criteria of oral health promotion school. In Prasertsom P,Rattanarangsima K, (eds). Manual assessment of Oral health promotion school Bangkok: N-mo plus; 2015. P.45-64. (in Thai)
11. Dental Health Bureau. Report of snacks and drinks consumption, Oral Health Care and oral health status of young people in secondary schools. [on line]2013 [cited 2013];Available from: URL:http://dental2.anamai.moph.go.th/ewtadmin/ewt/dental/ewt_dl_link.php?nid=985
12. Thamronglaohapan D. Concept theory of oral health network development. In Prasertsom P,Rattanarangsima K, (eds). Manual assessment of Oral health promotion school Bangkok: N-mo plus; 2015. P.5-10. (in Thai).
13. Prasertsom P, Rityu A, Janbang P. Sugar in snack and beverage. In Prasertsom P, (eds). Sugar sweeteners in desserts, drinks, milk and powdered milk for children. Bangkok: Namo printing and publishing; 2007. P.24.(in Thai).
14. Sardesai V. Nutrition assessment. In Introduction to clinical nutrition. 3rd ed. Boca Raton,FL: CRC Press; 2012. p.350.
15. Borzekowski DL, Robinson TN. The 30-second effect: an experiment revealing the impact of television commercials on food preferences of preschools. J Am Diet Assoc 2001; 101:1. Doi:10.1016/S0002-8223(01)00012-8.
16. Dental Health Bureau. School development model, food and drinks management for students in elementary schools (Phase 1). [online]January 2012 [cited 2012 January]; Available from: URL:http//http://dental2.anamai.moph.go.th/ewtadmin/ewt/dental/ewt_dl_link.php?nid=987&filename=learnage.
17. Stokes E, Pine CM, Harris RV, The promotion of oral health within the Healthy School context in England: a qualitative research study. BMC Oral Health 2009, 9:3 doi:10.1186/1472-6831-9-3.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-12-31