กลไกการขับเคลื่อนการเข้าถึงบริการสร้างสุขภาพของประชากรที่ไม่มีสิทธิ์ ตามหลักประกันสุขภาพแห่งชาติของจังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • ณัฐอร พลสวัสดิ์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา

คำสำคัญ:

กลไกการขับเคลื่อน, การเข้าถึงบริการสร้างสุขภาพ, ประชากรที่ไม่มีสิทธิ์การรักษา

บทคัดย่อ

การศึกษากลไกการขับเคลื่อนการเข้าถึงบริการสร้างสุขภาพของประชากรที่ไม่มีสิทธิ์ตามหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ของจังหวัดนครราชสีมา ปี 2556 – 2560 เป็นการวิจัยแบบผสม (Mix method) เชิงวิเคราะห์ (Analytical Research) โดยศึกษาข้อมูลไปข้างหน้า (Prospective) วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการพัฒนาระบบการขับเคลื่อนการเข้าถึงบริการสร้างสุขภาพของประชากรที่ไม่มีสิทธิ์ตามหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โรงพยาบาลชุมชนและโรงพยาบาลทั่วไปขนาดเล็ก เป็นกลุ่มประชากรศึกษาครั้งนี้ จำนวน 32 แห่ง และกลุ่มประชากรที่ไม่มีสิทธิ์ตามหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จำนวน 303 คน เก็บรวบรวมข้อมูล 2 ส่วน ส่วนแรกคือข้อมูลเชิงปริมาณ นำมาจากข้อมูล 43 แฟ้ม ข้อมูลในระบบการให้บริการบัตรด้อยโอกาส และการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนางานสร้างสุขภาพในประชากรไร้สิทธิ์ของหน่วยบริการ ส่วนที่สองคือข้อมูลเชิงคุณภาพซึ่งมาจากนิเทศ ติดตามและประเมินผลการเก็บข้อมูลในพื้นที่ ข้อมูลในภาพรวมวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป STATA version 10 โดยใช้สถิติการแจกแจงความถี่ ร้อยละ และ สถิติเปรียบเทียบความแตกต่างในกลุ่มประชากรที่มีความสัมพันธ์กัน (Pair T-test) นำมาวิเคราะห์ แบ่งเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 การได้รับสิทธิ์ในหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พบว่า จำนวนผู้มีบัตรด้อยโอกาสได้รับสิทธิ์ร้อยละ90.77% ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนางานสร้างสุขภาพในประชากรไร้สิทธิ์ของหน่วยบริการ คือ การบริหารบุคลากร(p-value <0.001) ประชากรที่รับผิดชอบ (p-value <0.001) และผู้รับผิดชอบงานสาธารณสุข (p-value = 0.004) ตามลำดับ ร่วมกันทำนายได้ร้อยละ 40.71 (R2=0.4071,p-value<0.001) ส่วนที่ 2 การเข้าถึงบริการสร้างสุขภาพของกลุ่มประชากรศึกษา ผลการศึกษาพบว่า หลังการดำเนินกิจกรรมการพัฒนาอย่างต่อเนื่องมีผู้เข้าถึงบริการสร้างสุขภาพมากกว่าก่อนการดำเนินกิจกรรม ในเรื่องการตรวจและดูแลเพื่อส่งเสริมสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ (p-value = 0.0415),การวางแผนครอบครัวแก่คู่สมรสที่ภรรยาอายุ 15-44 ปี (p-value = 0.0182),การให้คำปรึกษา (p-value = 0.0045),การส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในช่องปาก (p-value = 0.0001) , การตรวจสุขภาพทั่วไป  และกลุ่มเสี่ยง (p-value <0.001) ,การเยี่ยมบ้านและการดูแลผู้ป่วยที่บ้าน (p-value <0.001),การให้ความรู้ด้านสุขภาพแก่ผู้รับบริการในระดับบุคคล (p-value <0.001) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 0.05 ตามลำดับ) ผู้รับบริการมีความพึงพอใจในระบบ 72.58% และ ส่วนที่ 3 ลดภาระค่าใช้จ่ายของหน่วยบริการด้านการรักษาพยาบาล 40.28% จากผลการศึกษานี้เป็นการดำเนินงานเชิงระบบในหลายภาคส่วน ทั้งภาครัฐและเอกชน สามารถนำไปบูรณาการและปรับปรุงระบบการเข้าถึงบริการด้านอื่นๆ โดยเฉพาะกลุ่มผู้รับบริการที่เข้าถึงยาก เพื่อให้เกิดการสร้างสุขภาพและลดภาวะการเจ็บป่วยดำรงอยู่ซึ่งคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

Author Biography

ณัฐอร พลสวัสดิ์, สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา

นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการพิเศษ

References

1. กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. ระบบสถิติทางการทะเบียน [อินเตอร์เน็ต]. 2560. [เข้าถึงเมื่อ 1 ตุลาคม 2560]. เข้าถึงได้จาก http://stat.dopa.go.th/stat/ statnew/upstat_age_disp.php
2. กลุ่มงานประกันสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. เอกสารอัดสำเนา. ประชุมประจำเดือน หัวหน้าส่วนราชการ ปี2556-2559.
3. สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. คู่มือหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. นนทบุรี: มปท; 2560.
4. ฐานข้อมูลบัตรด้อยโอกาส. กลุ่มงานประกันสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. เอกสารอัดสำเนา.
5. พงศธร พอกเพิ่มดี. ต้องสร้างหลักประกันสุขภาพสำหรับคนไทยไร้สถานะ [อินเตอร์เน็ต]. 2553. [เข้าถึงเมื่อ 1 ตุลาคม 2560] เข้าถึงได้จาก www.wasi.or.th/wasi/userfiles/file/คนไร้สถานะ-พงษ์ธร%202552.pdf
6. สงวน นิตยารัมภ์พงศ์. แนวทางการดำเนินงานการสร้างหลักประกันสุขภาพเพื่อตอบสนองนโยบายรัฐบาล ประจำปี 2545. เอกสารอัดสำเนา; 2545.
7. Deming EW. Out of The Crisis. Massachusetts: Massachusetts Institute of Technology Center for Advanced Engineering Study; 1995.
8. สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน). SPA & Self & Enquiry Part I คู่มือการนำมาตรฐานสู่การปฏิบัติสำหรับมาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ ฉบับเฉลิมพระเกียรติ ฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี. นนทบุรี: สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์กรมหาชน); 2550.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-12-31