สถานะสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของบุคคลวัยทำงานในเขตสุขภาพที่ 9 นครชัยบุรินทร์

ผู้แต่ง

  • พรอนันต์ กิตติมั่นคง สำนักงานเขตสุขภาพที่ 9 กระทรวงสาธารณสุข
  • ธีรวัฒน์ วลัยเสถียร สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 นครราชสีมา
  • สินศักดิ์ชนม์ อุ่นพรมมี ศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา
  • นาตยานี เซียงหนู ศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา
  • ณิชกมล กรึ่มพิมาย ศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา
  • ศรีเสาวลักษณ์ อุ่นพรมมี วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา

คำสำคัญ:

ภาวะสุขภาพ, พฤติกรรมสุขภาพ, วัยทำงาน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานะสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับสถานะสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของบุคคลวัยทำงาน กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยบุคคลวัยทำงานที่มีอายุระหว่าง 15-59 ปี และอาศัยอยู่ในเขตสุขภาพที่ 9 จำนวน 7,405 คน ที่ได้รับการสุ่มแบบแบ่งกลุ่มสองขั้นตอนด้วยสัดส่วนความน่าจะเป็นจากประชากรวัยทำงานที่มีอายุระหว่าง 15-59 ปี และเก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนกันยายน-ตุลาคม 2557 นำเสนอข้อมูลเชิงพรรณนาโดยใช้การวิเคราะห์ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับสถานะสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของบุคคลวัยทำงานใช้การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ของเพียร์สั

ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างเป็นบุคคลวัยทำงานอายุระหว่าง 15 ถึง 59 ปี จำนวน 7,405 คน เป็นเพศหญิง (6,011 คน/81.2%) มากกว่าเพศชาย (1,394 คน/18.8%) อายุเฉลี่ย 42.58 ปี (SD = 12.35) ค่าดัชนีมวลกายอยู่ระหว่าง 12.23 ถึง 47.48 โดยค่าดัชนีมวลกายเฉลี่ยเท่ากับ 24.08 (SD = 4.55) ในการวิเคราะห์ค่าดัชนีมวลกาย พบว่ามีบุคคลวัยทำงานประมาณครึ่งหนึ่งที่มีค่า BMI ปกติ จำนวน 3,980 คน (53.7%) ประมาณหนึ่งในสี่อยู่ในภาวะน้ำหนักเกิน จำนวน 2,130 คน (28.8%) และอยู่ในภาวะอ้วน จำนวน 652 คน (8.83%) วัยทำงานมีรอบเอวเกินมาตรฐานเกือบครึ่งหนึ่งของกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 3,362 (45.4%) โดยเพศหญิงจะมีรอบเอวเกินมาตรฐานมากกว่าเพศชาย โดยเพศหญิงมีรอบเอวเกิน 80 ซ.ม. ถึง 3,147 คน (ร้อยละ 52.4 ของกลุ่มเพศหญิง) ส่วนเพศชายมีส่วนน้อยที่มีรอบเอวเกิน 90 ซ.ม. (215 คน/15.4%) ส่วนใหญ่ให้ข้อมูลว่าออกกำลังกาย (4,600 คน/62.1%) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ไม่สูบบุหรี่ (6,622 คน/89.4%) และไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (5,547 คน/74.9%) เมื่อวิเคราะห์รายเพศ พบว่าในกลุ่มเพศชายสูบบุหรี่เกือบครึ่งหนึ่ง (640 คน/45.9%) และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เกินครึ่ง (790 คน/56.7%)  จากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างเพศและตัวแปรอื่น พบว่า เพศหญิงมีรอบเอวเกินเกณฑ์และมีค่า BMI เกินเกณฑ์มากกว่าเพศชายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนเพศชายมีพฤติกรรมการสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากกว่าเพศหญิงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และพบว่ากลุ่มตัวอย่างที่ออกกำลังกายมีค่า BMI เฉลี่ยต่ำกว่ากลุ่มที่ไม่ออกกำลังกายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ไม่พบความแตกต่างระหว่างการออกกำลังกายกับการมีรอบเอวต่ำกว่าเกณฑ์

จากผลการวิเคราะห์ข้อมูลดังกล่าว ผู้วิจัยมีข้อเสนอให้เขตสุขภาพให้ความสำคัญกับนโยบายปัญหาน้ำหนักเกินและโรคอ้วนในกลุ่มวัยทำงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นโยบายส่งเสริมการออกกำลังกาย และการมีกิจกรรมทางกายของกลุ่มวัยทำงาน รวมถึงนโยบายการเสริมสร้างความรู้ในเรื่องโภชนาการที่สมดุล (Balanced Diet) และส่งเสริมสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการออกกำลังกายและการมีกิจกรรมทางกาย นโยบายระดับเขตด้านการลดละเลิกบุหรี่และการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในกลุ่มวัยทำงานเพศชายเป็นประเด็นที่ควรให้ความสำคัญเช่นกัน เนื่องจากการสูบบุหรี่และการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีความสัมพันธ์กับโรคในวัยทำงานและวัยสูงอายุหลายโรค รวมถึงเชื่อมโยงกับอัตราการเกิดอุบัติเหตุทางการจราจรซึ่งพบว่ามีอุบัติการณ์ค่อนข้างสูงในเขต เพื่อพัฒนาสุขภาพของประชาชนวัยทำงานในเขตสุขภาพที่ 9 ให้ดียิ่งขึ้น

Author Biographies

พรอนันต์ กิตติมั่นคง, สำนักงานเขตสุขภาพที่ 9 กระทรวงสาธารณสุข

นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ

ธีรวัฒน์ วลัยเสถียร, สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 นครราชสีมา

ผู้อำนวยการ

สินศักดิ์ชนม์ อุ่นพรมมี, ศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา

นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการพิเศษ

นาตยานี เซียงหนู, ศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

ณิชกมล กรึ่มพิมาย, ศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

ศรีเสาวลักษณ์ อุ่นพรมมี, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ (ด้านการสอน)

References

1. วสันต์ ศิลปสุวรรณ, ชนิณัฐ วโรทัย, ธราดล เก่งการพานิช, วรพรรณ รุ่งศิริวงศ์, สุปรียา ตันสกุล, มังกร ประพันธ์วัฒนะ และคณะ. รายงานผลการวิจัยโครงการย่อยที่ 4 เรื่อง การวิจัยพฤติกรรมสุขภาพของคนไทย. ใน (ไกรสิทธิ์ ตันติศิรินทร์, เยาวรัตน์ ปรปักษ์ขาม และลินดา วงศานุพัทธ์), รายงานผลการวิจัยโครงการแม่บทและโครงการย่อยภายใต้ชุดโครงการวิจัยเพื่อพัฒนาสุขภาพคนไทย. (หน้า 347-366). กรุงเทพฯ: สำานักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ; 2548.
2. เทพ หิมะทองคำ. วิกฤตคนกรุงเสี่ยงเบาหวาน [บทความออนไลน์]. 2552 [เข้าถึงเมื่อ 2559 เมษายน 12]. เข้าถึงได้จาก: http://www.meedee.net/Magazine/med/emergency-room/2909
3. สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์. แผนยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (ด้านสาธารณสุข). ม.ป.ท; 2559.
4. โครงการสุขภาพคนไทย. พฤติกรรมสุขภาพ. สุขภาพคนไทย 2559 (น.30). นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล; 2559.
5. โรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมาราชนครินทร์, ศูนย์สุขภาพจิตที่ 5 นครราชสีมา, ศูนย์อนามัยที่ 5 นครราชสีมา และสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 5 นครราชสีมา. การประเมินผลสถานะสุขภาพของเขตบริการสุขภาพที่ 9 โดยการสำรวจแบบเร็ว (Rapid Survey) ปีงบประมาณ 2558, มปท; 2558.
6. กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. สถิติประชากรและบ้าน – จำนวนประชากรแยกตามรายอายุ [ฐานข้อมูลออนไลน์]. 2557 [เข้าถึงเมื่อ 2557 กันยายน 5]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/stat/statnew/upstat_age.php
7. มงคล การุณงามพรรณ, สุดารัตน์ สุวารี และ นันทนา น้ำฝน. พฤติกรรมสุขภาพและภาวะสุขภาพของคนทำงานในสถานประกอบการเขตเมืองใหญ่: กรณีศึกษาพื้นที่เขตสาทร กรุงเทพมหานคร. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์ 2555; 32(3):51-66.
8. อุดมศักดิ์ แซ่โง้ว. สถิติแสดงแนวโน้มการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของประชากรไทย. [บทความออนไลน์] 2558 [เข้าถึงเมื่อ 2560 เมษายน 13]. เข้าถึงได้จาก: http://cas.or.th/wp-content/uploads/2016/04/Alc-consumption-statistics-Thailand-10y.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-12-31