ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคไตเรื้อรังในผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านข่าใหญ่ อำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • ศศิธร ดวนพล วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น
  • ธีรศักดิ์ พาจันทร์ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น
  • พิทยา ศรีเมือง วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น

คำสำคัญ:

ความชุก, ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรค, โรคไตเรื้อรัง, โรคเบาหวาน, โรคความดันโลหิตสูง

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวางครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกของโรคไตเรื้อรัง และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคไตเรื้อรังในผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงที่ลงทะเบียนและอยู่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านข่าใหญ่ อำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 210 คน สุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใชแบบสอบถามการป้องกันโรคไตเรื้อรัง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน คือ Multiple logistic regression โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 พร้อมคำนวณค่า Adjusted Odds Ratio, 95% Confidence Interval และ p-value

ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 73.33 มีอายุเฉลี่ย 64.94 ปี (SD = 9.81) มีโรคประจำตัวทั้งโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 46.67 ค่ามัธยฐานของระยะเวลาการป่วย 6 ปี (ต่ำสุด 1 ปี สูงสุด 38 ปี) ความชุกของโรคไตเรื้อรัง ร้อยละ 31.09 โดยมีความรุนแรงอยู่ในระยะที่ 3 ร้อยละ 27.14 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคไตเรื้อรังในผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ อายุ (Adjusted Odds Ratio-AOR = 3.16, 95% CI = 1.61 ถึง 6.23, p-value = 0.001) สถานภาพสมรส (AOR = 2.40, 95% CI = 1.17 ถึง 4.92, p-value = 0.016) ระยะเวลาการป่วยของโรค (AOR = 2.30, 95% CI = 1.19 ถึง 4.44, p-value = 0.013) และพฤติกรรมการป้องกันโรคไตเรื้อรังด้านการจัดการความเครียด (AOR = 2.28, 95% CI = 1.18 ถึง 4.40, p-value = 0.014) ดังนั้น ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องหรือผู้กำหนดนโยบายควรพัฒนาโปรแกรมสุขศึกษาเพื่อป้องกันโรคไตเรื้อรังในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง คำนึงถึงระยะเวลาการป่วยของโรค โดยการเฝ้าระวังโรคตั้งแต่ได้รับการวินิจฉัยครั้งแรก การตรวจคัดกรอง การสร้างความตระหนักในการดูแลตนเอง รวมทั้งจัดการด้านความเครียด

Author Biographies

ศศิธร ดวนพล, วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น

นักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน

ธีรศักดิ์ พาจันทร์, วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น

อาจารย์

พิทยา ศรีเมือง, วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น

อาจารย์

References

World Health Organization. Diabetes [serial online]; 2018 [Retrieved 2019 October 14]. Available from: http://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/diabetes

คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล. โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง [อินเตอร์เน็ต]; 2558 [เข้าถึง 2562 ตุลาคม 9]. เข้าถึงได้จาก: http://www.si.mahidol.ac.th/th/siriraj130years/

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย. สถานการณ์โรคเบาหวานของประเทศไทย [อินเตอร์เน็ต]; 2560 [เข้าถึง 2562 ตุลาคม 6]. เข้าถึงได้จาก: https://www.dmthai.org/

อภิชัย คุณีพงษ์. ประสิทธิผลของโปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพที่มีต่อพฤติกรรมการป้องกันภาวะแทรกซ้อน ในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง จังหวัดปทุมธานี. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์: สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2560; 12(3): 55-65.

สมาคมโรคความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย. การดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง [อินเตอร์เน็ต]; 2560 [เข้าถึง 2562 ตุลาคม 8], เข้าถึงได้จาก: http://www.thaihypertension.org/information.html.

ประเสริฐ ธนกิจจารุ. สถานการณ์ปัจจุบันของโรคไตเรื้อรังในประเทศไทย [อินเตอร์เน็ต]; 2558 [เข้าถึง 2562 ตุลาคม 13]. เข้าถึงได้จาก: file:///C:/Users/ADMIN/Desktop/no.5_01.pdf

ภทรพรรณ อุณาภาค, ขวัญชัย รัตนมณี. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเอง เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนทางไต ในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังของโรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า จังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา 2558; 10(2): 44–54.

ณิชชาภัทร ยอดแคล้ว, พรนภา ศุกรเวทย์ศิริ. ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคไตเรื้อรังในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่เข้ารับการรักษาที่ศูนย์สุขภาพชุมชนเมือง จังหวัดขอนแก่น. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น 2562; 26(2): 24–35.

สลินทร์นา พูลเมืองรัตน์, นิภา รุ่งเรืองวุฒิไกร, กฤติยา ยงวณิชย์, ณัฐสพันธ์ เผ่าพันธ์. ต้นทุนการให้บริการผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังโดยใช้ต้นทุนฐานกิจกรรมและเกณฑ์เวลาของหน่วยไตเทียมโรงพยาบาลพุทธโสธร จังหวัดฉะเชิงเทรา. คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, มหาวิทยาลัยศรีปทุม. วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์ 2560; 7(1):164-176.

สมาคมโรคไตเเห่งประเทศไทย. คำเเนะนำสำหรับการดูเเลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังก่อนการบำบัดทดเเทนไต[อินเตอร์เน็ต]; 2558 [เข้าถึง 2562 ตุลาคม 8], เข้าถึงได้จาก: http://www.nephrothai.org.

สำนักระบาดวิทยา. สถิติภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง [อินเตอร์เน็ต]; 2558 [เข้าถึง 2562 ตุลาคม 6], เข้าถึงได้จาก: www.boe.moph.go.th/Annual/AESR2015/hypertention

กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: บริษัทร่มเย็นมีเดีย จำกัด; 2560.

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบาลบ้านข่าใหญ่. จำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านข่าใหญ่ ตำบลหนองผือ อำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด. 2562; 8-9.

Hsieh YF, Bloch AD, Larsen DM. A Simple Method of Sample Size Calculation for Linear and Logistic Regression. Statistics in Medicine. 1998; 17: 1623-34.

นันท์นลิน สิมพา, สุกัณ คัณธสอน, อุบลวรรณ นิรันสวย, เลยนภา โคตรแสนเมือง, ศุภศิลป์ ดีรักษา. ความชุกและปัจจัยคุณลักษณะส่วนบุคคลที่มีผลต่ออัตราการกรองไต (GFR) ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในเขตพื้นที่อำเภอท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม 2562; 16(3): 53-62.

Bloom BS. Handbook on formation and Summative Evaluation of Student Learning. New York: McGraw-Hill Book Company; 1971.

Best, J.W. Research in Education. (3rd ed). New Jersey: Prentice Hall.Inc; 1977.

Levey AS. A new equation to estimate glomerular filtration rate. Ann Intern Med 2009; 150(9): 604-12

โรงพยาบาลสถาบันโรคไตภูมิราชนครินทร์. การวินิจฉัยโรคไตเรื้อรัง และแนวทางการคัดกรอง. [อินเตอร์เน็ต]; 2558 [เข้าถึง 2563 กรกฎาคม 7], เข้าถึงได้จาก: http://www.brkidney.org/download/knowledgekidney

โรงพยาบาลจตุรพักตรพิมาน. รายงานค่าอัตราการกรองของไตในผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง. โรงพยาบาลจตุรพักตรพิมาน อำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด. 2562; 1-15.

Ingsathit A, Thakkinstian A, Chaiprasert A, Sangthawan P, Gojaseni P, Kiattisunthorn K, et al. Prevalence and risk factors of chronic kidney disease in the Thai adult population: Thai SEEK study. Nephrol Dial Transplant 2010; 25(5): 1567-75.

อัจฉรา เจริญพิริยะ, อุดมศักดิ์ แซ่โง้ว, งามจิต คงทน. ความชุกโรคไตวายเรื้อรังในผู้ป่วยเบาหวานชนิด ที่ 2 ในโรงพยาบาลมหาราช จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11 2560; 31(1): 73–82.

Kumela Goro K, Desalegn Wolide A, Kerga Dibaba F, Gashe Fufa F, Wakjira Garedow A, Edilu Tufa B, Mulisa Bobasa E. Patient awareness, prevalence, and risk factors of chronic kidney disease among Diabetes mellitus and hypertensive patients at Jimma University Medical Center, Ethiopia. BioMed Research International. 2019;1-8.

Fred S, Linda M, Osei SK, Rexford AG, Jacob PR. Prevalence and predictors of chronic kidney disease among Ghanaian patients with hypertension and diabetes mellitus: A multicenter cross‐sectional study. The journal of clinical Hypertension 2019; 21(10): 1542-1550.

Manel MC, Josep FN, Jordi R, Marta C, Didac M. Prevalence and co prevalence of chronic comorbid conditions in patients with type 2 diabetes in Catalonia: Diabetes and endocrinology. BMJ Journals 2019; 9(10): e031281.

Ali B, Gray-Vickrey P. Limiting the damage from acute kidney injury. Nursing. 2011;41(3):22-32.

ชุตินันท์ จริยากุลภิวาท, ธนศักดิ์ เทียกทอง. การประเมินภาวะซึมเศร้าและความร่วมมือในการใช้ยาในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังในโรงพยาบาลชัยนาทนเรนทร. ภาควิชาเภสัชกรรมปฏิบัติ: คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 2561; 11(2): 411-421.

ทักษพร ฝอดสูงเนิน. ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคไตเรื้อรังในผู้ป่วยเบาหวาน ชนิดที่ 2 โรงพยาบาลหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ. [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. ขอนแก่น:มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2560.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-07-29