การศึกษาปัจจัยด้านการเลี้ยงดูเด็กของผู้ปกครองและการมีส่วนร่วมของชุมชนต่อการส่งเสริมการเจริญเติบโตและพัฒนาการเด็กปฐมวัยในเขตสาธารณสุขที่ 4 และ 5

ผู้แต่ง

  • สกาวรัตน์ เทพรักษ์ ศูนย์อนามัยที่ 5 ราชบุรี
  • ภภัสสร มุกดาเกษม ศูนย์อนามัยที่ 5 ราชบุรี
  • จรรยา สืบนุช ศูนย์อนามัยที่ 5 ราชบุรี
  • จารุณี จตุรพรเพิ่ม ศูนย์อนามัยที่ 5 ราชบุรี

คำสำคัญ:

การเจริญเติบโตและพัฒนาการเด็กปฐมวัย, การเลี้ยงดูของผู้ปกครอง, การมีส่วนร่วมของชุมชน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ด้านการเจริญเติบโตและพัฒนาการเด็กปฐมวัย และศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโต และพัฒนาการของเด็กปฐมวัยด้านการเลี้ยงดูเด็กของผู้ปกครอง และการมีส่วนร่วมของชุมชน วิธีการศึกษาเป็นการวิเคราะห์และสำรวจแบบภาคตัดขวาง (Analytic study and cross sectional survey) กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กปฐมวัยอายุแรกเกิด – 5 ปี จำนวน 1,600 คน ในพื้นที่เป้าหมายที่ศึกษา 8 ตำบล ใน 4 จังหวัดเขตสาธารณสุขที่ 4 และ 5 ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล ระหว่างเดือนพฤษภาคม–สิงหาคม 2556 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา การแจกแจงความถี่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และสถิติวิเคราะห์ Chi–square Test ผลการศึกษา พบว่า จำนวนเด็กปฐมวัย แรกเกิด – 5 ปี ที่สำรวจทั้งสิ้นจำนวน 1,558 คน เป็นเพศชายร้อยละ 51.8 เพศหญิงร้อยละ 48.2 ผู้เลี้ยงดูเด็กส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 87.2 โดยเป็นแม่ของเด็ก หรือเป็นยาย เป็นย่าของเด็ก สถานภาพสมรสของผู้เลี้ยงดูส่วนใหญ่อยู่ด้วยกันร้อยละ 80.19 ลักษณะครอบครัวเป็นครอบครัวขยายขนาดใหญ่ มีสมาชิกอยู่รวมกัน 4 – 5 คน และ 6 – 7 คน ร้อยละ 43 ประกอบด้วย พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย ลุง ป้า น้า อา อายุของผู้เลี้ยงดู ระหว่าง 20 – 30 ปี ร้อยละ 40.2 จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาร้อยละ 43.83 ประถมศึกษาร้อยละ 35.25 การประกอบอาชีพส่วนมากเป็นแม่บ้านร้อยละ 35.25 รับจ้างทั่วไปร้อยละ 22.54 สถานการณ์ด้านการเจริญเติบโต พบว่า เด็กปฐมวัยมีน้ำหนักตามเกณฑ์อายุร้อยละ 73.68 น้ำหนักเกินเกณฑ์ร้อยละ 9.97 มีส่วนสูงตามเกณฑ์ค่อนข้างสูงและสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 90.34 ค่อนข้างเตี้ยและเตี้ยร้อยละ 9.66 มีรูปร่างสมส่วนร้อยละ77.11 เริ่มอ้วนและอ้วนร้อยละ 8.94 ผอมร้อยละ 5.4 สถานการณ์ด้านพัฒนาการโดยแยกรายด้าน พบว่า เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการสมวัยรวม 4 ด้าน ร้อยละ 71.47 พัฒนาการสงสัยล่าช้ารวม 4 ด้านร้อยละ 28.53 พัฒนาการด้านสังคม และการช่วยเหลือตนเองสมวัยร้อยละ 97.44 พัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดใหญ่สมวัยร้อยละ 96.17 พัฒนาการด้านการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กสมวัยร้อยละ 93.59 และพัฒนาการด้านภาษาสมวัยร้อยละ 75.05 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเจริญเติบโตของเด็กปฐมวัย ตามดัชนีส่วนสูงตามเกณฑ์อายุ ได้แก่ ผู้เลี้ยงดูเด็ก และดัชนีน้ำหนักตามเกณฑ์ส่วนสูง ได้แก่ สถานภาพสมรส และลักษณะครอบครัว  P-value < 0.05   สำหรับปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเจริญเติบโตของเด็กปฐมวัยช่วงอายุ 3-5 ปี  ตามดัชนีน้ำหนักตามเกณฑ์อายุและตามดัชนีน้ำหนักตามเกณฑ์ส่วนสูง ได้แก่ คะแนนการมีส่วนร่วมของชุมชน ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพัฒนาการเด็กสมวัยรวม 4 ด้าน ได้แก่ สถานภาพสมรส   การศึกษาของผู้เลี้ยงดูเด็ก อายุของผู้เลี้ยงดู และรายได้ของครอบครัว P-value < 0.05 พฤติกรรมการเลี้ยงดูเด็ก มีความสัมพันธ์กับพัฒนาการสมวัยรวม 4 ด้าน พัฒนาการด้านภาษา พัฒนาการด้านการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก พัฒนาการด้านสังคม และการช่วยเหลือตนเอง P-value < 0.05 การศึกษาครั้งนี้พบว่า เด็กปฐมวัยยังมีปัญหาพัฒนาการสงสัยล่าช้าถึงร้อยละ 28.5 โดยเฉพาะพัฒนาการด้านภาษา   มีภาวะทุพโภชนาการ คือ มีเด็กน้ำหนักเกินเกณฑ์ร้อยละ 9.97 เริ่มอ้วนและอ้วนร้อยละ 8.94   ค่อนข้างเตี้ยและเตี้ยร้อยละ 9.66 ดังนั้น ผู้ปกครองและบุคลากรสาธารณสุข ครูผู้ดูและเด็ก ต้องร่วมกันส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจ ถึงวิธีการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย เฝ้าระวังการเจริญเติบโตของเด็กโดยใช้สมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก หน่วยบริการสาธารณสุขทุกแห่ง พัฒนาระบบให้บริการตามมาตรฐานและมีคุณภาพ ปรับปรุงระบบการกำกับติดตามด้านการส่งเสริมการเจริญเติบโตและพัฒนาการเด็กปฐมวัย โดยกำหนดผู้รับผิดชอบหลักในระดับอำเภอ และจังหวัด

Author Biographies

สกาวรัตน์ เทพรักษ์, ศูนย์อนามัยที่ 5 ราชบุรี

นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการพิเศษ

ภภัสสร มุกดาเกษม, ศูนย์อนามัยที่ 5 ราชบุรี

นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ

จรรยา สืบนุช, ศูนย์อนามัยที่ 5 ราชบุรี

นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ

จารุณี จตุรพรเพิ่ม, ศูนย์อนามัยที่ 5 ราชบุรี

นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการพิเศษ

References

1. รุจา เล้าสกุล. คู่มือปฏิบัติงานบูรณาการพัฒนาการเด็กแรกเกิด – 5 ปี. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี: ศูนย์สุขภาพจิตที่ 4 กรมสุขภาพจิต; 2550.
2. ลัดดา เหมาะสุวรรณ และคณะ. โครงการวิจัยพัฒนาการแบบองค์รวมของเด็กไทย เล่ม 1 สงขลา: ลิมบราเดอร์การพิมพ์; 2547.
3. กรมอนามัย. รายงานการสำรวจพัฒนาการเด็กปฐมวัย ประจำปี 2550. นนทบุรี: งานอนามัยแม่และเด็ก. สำนักส่งเสริมสุขภาพ; 2550.
4. สกาวรัตน์ เทพรักษ์ และคณะ. การศึกษาวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลเด็กในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย. ราชบุรี: ศูนย์อนามัยที่ 4 ราชบุรี; 2551.
5. พรณิชา ชุณหคันธรส และคณะ. การประเมินผลการดำเนินงานโรงพยาบาลสายใยรักแห่งครอบครัวเขตสาธารณสุขที่ 4 และ 5. ราชบุรี: ศูนย์อนามัยที่ 4 ราชบุรี; 2553.
6. สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. รายงานสำรวจสภาวะสุขภาพพัฒนาการและการเจริญเตอบโตเด็กปฐมวัยปี 2542. (เอกสารอัดสำเนา).
7. จันทร์เพ็ญ ชูประภาวรรณ. สภาวะสุขภาพคนไทย. กรุงเทพฯ: โครงการสำนักพิมพ์สถาบันวิจัยระบบสุขภาพ; 2543: 1-37.
8. ศิริกุล อิศรานุรักษ์, สุธรรม นันทมงคลชัย, ดวงพร แก้วศิริ. พัฒนาการของเด็กวัย 1–12 ปี. วารสารกุมารเวชศาสตร์ 2545; 42: 31-37.
9. สุธรรม นันทมงคลชัย, ศิริกุล อิศรานุรักษ์, ดวงพร แก้วศิริ. ปัจจัยด้านครอบครัวที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการเด็กปฐมวัยในพื้นที่ 4 จังหวัดของประเทศไทย. วารสารสาธารณสุขและการพัฒนา 2547; 2: 3-10.
10. สุธรรม นันทมงคลชัย, บรรณาธิการ. การอบรมเลี้ยงดูเด็กของครอบครัวไทย: ข้อมูลจากการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย; 2547.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-08-31