กระบวนการพัฒนานโยบายสาธารณะในการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวในชุมชน: กรณีศึกษาจังหวัดขอนแก่น
คำสำคัญ:
นโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ, การดูแลผู้สูงอายุระยะยาว, ผู้สูงอายุบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการพัฒนานโยบายสาธารณะการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวภายใต้กองทุนระบบการดูแลระยะยาว จังหวัดขอนแก่น เพื่อนำสู่การขับเคลื่อนนโยบายการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว ด้วยการวิจัยและพัฒนา (Research and development) นโยบายสาธารณะด้านสุขภาพอย่างมีส่วนร่วม (Participatory healthy public policy) ซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสังเกต การสัมภาษณ์เจาะลึก การสนทนากลุ่ม และการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้สูงอายุจำนวน 48 คน ผู้ดูแลผู้สูงอายุจำนวน 54 คน ผู้จัดการดูแลผู้สูงอายุจำนวน 7 คน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจำนวน 120 คน ระหว่างเดือนมกราคม– ธันวาคม พ.ศ.2560 และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา วิเคราะห์ประเด็น และแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Chi–square
ผลการศึกษาพบว่า 1) การก่อประเด็นการพัฒนานโยบายสาธารณะ เป็นการเรียนรู้ต้นทุนการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวในชุมชน และสะท้อนปัญหาการขับเคลื่อนนโยบายการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวในชุมชน 2) กระบวนการพัฒนานโยบายสาธารณะในการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวในชุมชน อาศัยการสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน และการพัฒนาองค์ความรู้การดูแลผู้สูงอายุระยะยาว ด้วยการบูรณาการทำงานร่วมกันของหน่วยงานในพื้นที่ และ 3) การประเมินผลการพัฒนานโยบายสาธารณะการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวในชุมชน เป็นการประเมินการมีส่วนร่วมของชุมชนและผลลัพธ์ของนโยบายสาธารณะ ซึ่งพบว่าการมีส่วนร่วมของชุมชนเพิ่มขึ้นทุกองค์ประกอบ และทำให้ผู้สูงอายุได้รับบริการดูแลระยะยาวจากกองทุนเพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.001)
การพัฒนานโยบายสาธารณะในการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวด้วยกระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมและการบูรณาการภารกิจของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวจะทำให้เกิดการขับเคลื่อนการพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวในชุมชนและทำให้เกิดผลลัพธ์ของนโยบายด้านสุขภาพ
References
Sihapark S, Kuhirunyaratn P, Chen H. Severe Disability Among Elderly Community Dwellers in Rural Thailand: Prevalence and Associated Factors. Ageing International 2014;39(3):210-220. doi: 10.1007/s12126-013-9190-7.
วิชัย เอกพลากร, เยาวรัตน์ ปรปักษ์ขาม, สุรศักดิ์ ฐานีพานิชสกุล, หทัยชนก พรรคเจริญ, วราภรณ์ เสถียรนพเกล้า, กนิษฐา ไทยกล้า. รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 4 พ.ศ. 2551-2. กรุงเทพฯ: เดอะ กราฟิโก ซิสเต็ม; 2553.
Srithamrongsawat S, Bundhamcharoen K, Sasat S, Odton P, Ratkjaroenkhajorn S. Projection of demand and expenditure for institutional long term care in Thailand. Bangkok: Health Insurance System Research Office; 2009.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. สำมะโนประชากรและเคหะ พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ; 2553.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. รายงานการสำรวจประชากรผู้สูงอายุในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2557. กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ; 2557.
วิพรรณ ประจวบเหมาะ และคณะ. รายงานการศึกษา โครงการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามแผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2545-2564) ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2550-2554). กรุงเทพฯ: วิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2556.
สำนักงานหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า. คู่มือระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข สำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในพื้นที่ (Long Term Care) ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2559. กรุงเทพฯ: สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ; 2558.
กรมกิจการผู้สูงอายุ. สถิติผู้สูงอายุของประเทศไทย 77 จังหวัด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562 [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 2563 ตุลาคม 20]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dop.go.th/th/know/side/1/1/275
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 7 ขอนแก่น. รายงานผลการดำเนินงานกองทุนระบบการดูแลระยะยาว สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 7 ขอนแก่น ปี 2560. ขอนแก่น: สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 7 ขอนแก่น; 2560.
ศิราณี ศรีหาภาค, โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์, คณิศร เต็งรัง. ผลกระทบและภาระการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวภายใต้วัฒนธรรมไทย. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2557.
Rifkin SB, Muller F, Bichmann W. Primary health care: on measuring participation. Soc Sci Med 1998; 26(9): 931-40. doi: 10.1016/0277-9536(88)90413-3.
Bjãrås G, Haglund B, Rifkin SB. A new approach community participation assessment. Health Promot Int 1991; 6(3): 199-206. doi: 10.1093/heapro/6.3.199
รัชนี มิตกิตติ. การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน: บทบาทที่ท้าทายของพยาบาลชุมชน. วารสารสภาการพยาบาล 2559; 31(3): 26-36.
สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.). การพัฒนาระบบการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิง. ใน วรรณวิมล ขวัญยาใจ และคณะ (บรรณาธิการ). รวมมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 1 - ครั้งที่ 7. นนทบุรี: สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.); 2558. หน้า 252-4.
อำพล จินดาวัฒนะ. เหลียวหลังแลหน้า สู่สมัชชาสุขภาพ ทศวรรษที่ 2. นนทบุรี: สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.); 2555.
Kahssay HM, Oakley P, editors. Community involvement in health development: a review of the concept and practice. Geneva: World Health Organization; 1999.
World Health Organization. Community participation in local health sustainable development approaches and techniques. Geneva: World Health Organization; 2002.
เดชรัต สุขกำเนิด. นโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ: การวิเคราะห์ระบบ การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2544.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ประกฎในวารสารศูนย์อนามัยที่ 9 เป็นความคิดเห็นของผู้เขียน บรรณาธิการ คณะผู้จัดทำ และศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา (เจ้าของ) ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ผลการพิจารณาของกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิถือเป็นที่สิ้นสุด คณะบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจแก้ไขข้อความให้ถูกต้องตามหลักภาษาและมีความเหมาะสม
กองบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหาใด ๆ ของบทความ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของผลการประเมินบทความในวารสารฯ ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์อนามัยที่ 9