ประสบการณ์การเรียนรู้ด้วยการดูแลเอื้ออาทรในการฝึกภาคปฏิบัติของนักศึกษาพยาบาล

ผู้แต่ง

  • สมจิตต์ เวียงเพิ่ม วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา
  • ภรณ์ทิพย์ ผลกระโทก วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา
  • ประภาพร ซึมรัมย์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา

คำสำคัญ:

การดูแลเอื้ออาทร, การฝึกภาคปฏิบัติ, นักศึกษาพยาบาล, ประสบการณ์การเรียนรู้

บทคัดย่อ

            การดูแลเอื้ออาทรเป็นมโนทัศน์หลักที่สำคัญในการพัฒนาหลักสูตรทางการศึกษาพยาบาล มีความจำเป็นและความสำคัญในการปลูกฝังการดูแลเอื้ออาทรในการศึกษาพยาบาล และมีการอภิปรายอย่างกว้างขวาง เช่น กลยุทธ์การเรียนการสอนที่จะพัฒนาความสามารถในการดูแลเอื้ออาทรของนักศึกษาพยาบาล การวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์การเรียนรู้การดูแลเอื้ออาทรในการฝึกภาคปฏิบัติของนักศึกษาพยาบาล ผู้ให้ข้อมูลเป็นนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 3 ที่ฝึกปฏิบัติในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาทางจิต ในระหว่างเดือนมีนาคม ถึงเดือนเมษายน 2561 คัดเลือกผู้ให้ข้อมูลสำคัญแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 40 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาครั้งนี้นำเสนอประสบการณ์การเรียนรู้การดูแลเอื้ออาทรของนักศึกษาพยาบาล 4 ประเด็น ได้แก่ 1) การดูแลเอื้ออาทรผ่านแบบอย่างที่ดี โดยการให้คำแนะนำในเรื่องต่างๆ ได้แก่ เรื่องที่นักศึกษามีความกังวล กลัว ขัดแย้ง หรือความรู้สึกที่รบกวนการฝึกภาคปฏิบัติ และให้ความเป็นมิตรกับนักศึกษา 2) การดูแลเอื้ออาทรด้วยความรู้ การทำกิจกรรมกลุ่มบำบัดทำให้นักศึกษาเกิดการเรียนรู้ที่ต่อยอดจากผู้ป่วยและมีการแสวงหาความรู้ใหม่จากความรู้ที่มีอยู่เดิม 3) การดูแลเอื้ออาทรด้วยการเห็นอกเห็นใจ เต็มใจให้ความช่วยเหลือประดุจญาติ นักศึกษารับรู้ เข้าใจถึงความรู้สึกของผู้ป่วยจากมุมมองของผู้ป่วยเอง เกิดความคิดอยากจะช่วยบรรเทาความทุกข์ของผู้ป่วยให้เบาบางลง และ 4) การดูแลเอื้ออาทรด้วยการสร้างสัมพันธภาพ นักศึกษาให้ความใส่ใจในผู้ป่วยโดยการรับฟังอย่างตั้งใจ ไม่ตัดสินผู้ป่วย และเข้าใจความแตกต่างของผู้ป่วย ผลการศึกษานี้ให้แนวทางแก่อาจารย์พยาบาลในการนำไปใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนแก่นักศึกษาพยาบาล เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมการดูแลอย่างเอื้ออาทร รวมทั้งปลูกฝังและคงไว้ซึ่งพฤติกรรมการดูแลเอื้ออาทรที่ดีของนักศึกษาพยาบาลต่อไป

Author Biographies

สมจิตต์ เวียงเพิ่ม, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา

อาจารย์ ภาควิชาการพยาบาลจิตเวช

ภรณ์ทิพย์ ผลกระโทก, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา

อาจารย์ ภาควิชาการพยาบาลจิตเวช

ประภาพร ซึมรัมย์, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา

อาจารย์ ภาควิชาการพยาบาลจิตเวช

References

Watson J. Caring as the essence and science of nursing and healthcare. O Mundo Da Saude [Internet]. 2009 [cited 2020 March 23];33:143-9. Available from: http://www.saocamilosp.br/pdf/mundo_ saude/67/143a149.pdf

จินดามาศ โกศลชื่นวิจิตร. การพัฒนารูปแบบการจัดการเรีนการสอนโดยบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อปลูกฝังพฤติกรรมการดูแลอย่างเอื้ออาทรของนักศึกษาพยาบาล [วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิจัยและพัฒนาหลักสูตร]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2551.

Konuk TG, Tanyer D. Investigation of Nursing Students' Perception of Caring Behaviors. Journal of Caring Sciences [Internet]. 2019 Dec [cited 2014 Jan 23];8(4):191-197. Available from: https://www.researchgate.net/publication/338514595_Investigation_of_Nursing_Students'_Perception_of_Caring_Behaviors

Roach MS. Caring: The human mode of being. 2nd ed. Ottawa: CHA Press; 2002.

Johns C. Reflection on the relationship between technology and caring. Nursing in Critical Care 2005;10(3):150-55.

Ousey K, Johnson M. Being a real nurse-concepts of caring and culture in the clinical areas. Nurse Education in Practice 2015;7:150-5.

รัติยา รักดี. พฤติกรรมบริการของพยาบาลวิชาชีพตามการรับรู้ของผู้ป่วยในโรงพยาบาลเจริญศิลป์ จังหวัดสกลนคร [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล]. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2556.

ปิยาภรณ์ ทองประดิษฐ์. อิทธิพลระหว่างปัจจัยคัดสรร คุณลักษณะที่สอดคล้องกับหลักอิทธิบาท 4 กับพฤติกรรมบริการของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลเอกชน กรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์พยาบาล

ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล]. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2552.

เนตรนภิส จินดากร, สุมาลี สวรรณภักดี, รุ่งนภา จันทรา. พฤติกรรมเชิงจริยธรรมของพยาบาลวิชาชีพ. สุราษฎร์ธานี: วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี; 2554.

Wilkin K, Slevin E. The meaning of caring to nurses: an investigation into the nature of caring work in an intensive care unit. Journal of Clinical Nursing 2004;13:50-9.

Drumm J, Chase SK. Learning Caring: The Student’s Experience. International Journal for Human Caring 2010;14(4):31-7.

Ma F, Li J, Liang H, Bai Y, Song, J. Baccalaureate Nursing Students’ Perspectives on Learning about Caring in China: A Qualitative Descriptive Study. BMC Medical Education [Internet]. 2014 [cited 2020 March 23];14:1-9. Available from: http://www.biomedcentral.com/1472_6920/14/42

Kuntarti K, Krisna Y, Enie N. The Contributing Individuals in Developing Caring Behaviors of Nursing Students: The Focus Group Finding. International Journal for Human Caring [Internet]. 2018 [cited 2020 March 30];22(4):169-78. Available from: http://dx.doi.org/10.20467/1091-5710.22.4.169

Mikkonen K, Kyngas H, Kaariainen M. Nursing students’ experiences of the empathy of their teachers: a qualitative study. Advances in Health Sciences Education 2015;20(3):669-82.

Brown LP. Revisiting our roots: Caring in nursing curriculum design. Nurse Education in Practice [Internet]. 2011 [cited 2020 March 30];11(6):360-64. Available from: http://dx.doi.org/10.1016/j.nepr.2011.03.007

Alpers RR, Jarrell K, Wotring R. Is caring really teachable? Teaching and Learning in Nursing [Internet]. 2013 [cited 2020 March 30];8(2):68-9. Available from: http://dx.doi.org/10.1016/j.nepr.2011.03.007

Thompson KH, Rae T, Johnson PA. A Descriptive, Cross- sectional study analyzing the characteristics of an effective clinical instructor: Perceptions of baccalaureate nursing students. International Journal of Nursing 2016;3(2):20-9.

Meyer GM, Nel E, Downing C. Basic student nurse perceptions about clinical instructor caring. Health SA Gesondheid [Internet]. 2016 [cited 2020 March 30];8(2):68-9. Available from: https://doi.org/10.1016/j.hsag.2016.09.004

Chou LN, Wang YH, Tsai YC. Caring behavior exhibited by Taiwanese nurses. International Journal of Caring Sciences 2015;8(2):317-24.

Karlsson V, Forsberg A, Bergbom I. Communication when patients are conscious during respirator treatment—A hermeneutic observation study. Intensive and Critical Care Nursing [Internet]. 2012 [cited 2020 March 30];28(4):197-207. Available from: https://doi.org/10.1016/j.iccn.2011.12.007

Shellman J. Making a connection” BSN students’ perceptions of their reminiscence experiences with older adults. Journal Nursing Education 2006;45:497-503.

Kaymakci S, Yavuz M, Orgun F. Surgical patient education: Turkish nursing students experiences. Nurse Education Today 2007;27:19–25.

Suikkala A, Leino-Kilpi H. Nursing student-patient relationship: Experiences of students and patients. Nurse Education Today 2005;25:344–54.

Duffy JR. Quality Caring in Nursing and Health Systems: Implications for clinicians, educators, and leaders. 2nd ed. New York: Springer Publishing; 2013.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-11-29