การส่งเสริมโภชนาการของผู้ปกครองเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ตำบลนาฝาย อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ

ผู้แต่ง

  • ณัฐปภัสญ์ นวลสีทอง คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
  • ธัญรัศม์ ภุชงค์ชัย คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
  • กมลรัตน์ ทองสว่าง คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

คำสำคัญ:

การส่งเสริมโภชนาการ, เด็กปฐมวัย, ผู้ปกครอง, ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมของผู้ปกครองในการส่งเสริมโภชนาการของเด็กปฐมวัย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลนาฝาย อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ ประชากรในการศึกษาครั้งนี้ คือ ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจำนวน 63 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม ที่มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ 0.95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 40–59 ปี (ร้อยละ 57.5) สถานภาพสมรสคู่ (ร้อยละ 79.4) ประกอบอาชีพรับจ้าง (ร้อยละ 57.1) จบการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษา (ร้อยละ 42.9) และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนๆ ละ 5,001-10,000 บาท (ร้อยละ 46.0) ระดับความรู้ของผู้ปกครองในการส่งเสริมโภชนาการของเด็กปฐมวัยส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 39.80) คะแนนเฉลี่ยความรู้เท่ากับ 14.19 คะแนนจากคะแนนเต็ม 22 คะแนน (SD=4.02) ทัศนคติในการส่งเสริมโภชนาการของเด็กปฐมวัยอยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 65.07) ค่าเฉลี่ยระดับทัศนคติเท่ากับ 3.47 คะแนนจากคะแนนเต็ม 5.00 คะแนน (SD=0.49) และพฤติกรรมในการส่งเสริมโภชนาการของเด็กปฐมวัยอยู่ในระดับดี (ร้อยละ 74.2) ค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมเท่ากับ =3.71 คะแนนจากคะแนนเต็ม 5.00 คะแนน (SD=0.30)

ข้อเสนอแนะจากการศึกษาครั้งนี้ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กควรวางแผนด้านการให้ความรู้เรื่องโภชนาการแก่ผู้ปกครอง และส่งเสริมทัศนคติด้านโภชนาการของผู้ปกครอง โดยให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในด้านโภชนาการของเด็กปฐมวัย เพื่อให้มีส่วนร่วมและเกิดความยั่งยืนในความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมของผู้ปกครองในการส่งเสริมโภชนาการให้กับเด็กปฐมวัย

Author Biographies

ณัฐปภัสญ์ นวลสีทอง, คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาขาวิชาการพยาบาลอนามัยชุมชน

ธัญรัศม์ ภุชงค์ชัย, คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์, สาขาวิชาการพยาบาลอนามัยชุมชน

กมลรัตน์ ทองสว่าง, คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

อาจารย์, สาขาวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช

References

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. 2560. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560-2564 [ออนไลน์]. 2559 ธันวาคม [เข้าถึงเมื่อ เข้าถึงเมื่อ 2561เมษายน 10]. เข้าถึงได้จาก: https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=6422

Rosales FJ, Reznick JS, Zeisel SH. Understanding the Role of Nutrition in the Brain and Behavioral Development of Toddlers and Preschool Children: Identifying and Addressing Methodological barriers. Nutr Neurosci 2009; 12(5): 190-202. doi: 10.1179/147683009X423454.

ประไพพิศ สิงหเสม, ศักรินทร์ สุรรณเวหา, อติญาณ์ ศรเกษตริน. การส่งเสริมโภชนาการในเด็กวัยก่อนเรียน. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2560; 4(3): 226-35.

จิราภรณ์ อรุณากูร. พ่อแม่เลี้ยงลูกอย่างไรในยุค Gen Z [ออนไลน์]. 2557 [เข้าถึงเมื่อ 2561เมษายน 10]. เข้าถึงได้จาก: http://www.thaihealth.or.th/.

พิทักษ์ ศิริวงษ์, นริศรา แก้วทิพย์. สภาพการณ์และแนวทางการปรับตัวของผู้สูงอายุที่เลี้ยงดูหลานในเจเนอเรชัน ซี ในอำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี. ใน: รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ครั้งที่ 9 “ราชมงคลสร้างสรรค์กับนวัตกรรมที่ยั่งยืนสู่ประเทศไทย 4.0”; 7-9 สิงหาคม 2560; ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล; 2560. หน้า 1590-7.

วนิสา องอาจ, สิริมา ภิญโญอนันตพงษ์. การศึกษาพฤติกรรมการบริโภคอาหารของเด็กปฐมวัยในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีนคริน ทรวิโรฒ 2559; 17(2):13-27.

Bloom BS. Taxonomy of Education Objective Handbook. New York: David McKay; 1975.

Best JW. Research in Education. 4th ed. Englewood Cliffs, NJ: Prentice Hall; 1981.

Cronbach LJ. Essential of Psychology and Education. New York: Mc–Graw Hill; 1984.

สุปรีดา จินดา. ความรู้เจตคติและการปฏิบัติในการบริโภคอาหารของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานนทบุรี เขต 1 [วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัย รามคำแหง; 2552.

จีรภัทร พลอยขาว. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริโภคอาหารของนักเรียนหญิงที่มีภาวะโภชนาการเกิน โรงเรียนสตรีภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต [วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัย รามคำแหง; 2553.

วราภรณ์ นาคถมยา. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพด้านการบริโภคอาหารของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี [วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; 2551.

พินิจนันท์ อ่อนพานิช. โมเดลสมการโครงสร้างของแรงจูงใจการรับรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการบริโภคอาหารคลีน [วิทยานิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ; 2560.

วิริยาภรณ์ เจริญชีพ. พฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานการประถมศึกษากรุงเทพมหานคร.สถาบันราชภัฏธนบุรี. วารสารเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการและงานวิจัย 2545; 1:134-48.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-02