การพัฒนารูปแบบส่งเสริมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรงพยาบาลสีดา

ผู้แต่ง

  • ชานนท์ เชาว์ดำรงสกุล โรงพยาบาลสีดา จังหวัดนครราชสีมา

คำสำคัญ:

รูปแบบส่งเสริมการดูแลตนเอง, โรคเบาหวาน, การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบส่งเสริมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ศึกษาประสิทธิผลรูปแบบส่งเสริมการดูแลตนเอง และประเมินความพึงพอใจต่อรูปแบบส่งเสริมการดูแลตนเองผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรงพยาบาลสีดา กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ ที่ไม่มีโรคแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน และยินยอมร่วมมือในการวิจัย จำนวน 80 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองที่ใช้รูปแบบส่งเสริมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน (แพทย์ให้การตรวจรักษา ค้นหาปัญหาผู้ป่วย ให้ความรู้และประเมินพฤติกรรมการดูแลตนเอง ให้ยา ให้คำแนะนำในการดูแลตนเอง และมีการติดตามทางโทรศัพท์หรือ Line application หลังการรักษา 15 วันในแต่ละครั้ง พิจารณาปรับยาให้เหมาะสมและเยี่ยมบ้านเพื่อหาสาเหตุและส่งเสริมให้ญาติช่วยดูแลหากผู้ป่วยยังไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้) และกลุ่มควบคุมที่ได้รับการดูแลในรูปแบบปกติ (ให้การตรวจรักษาและให้คำแนะนำตามสภาพปัญหาของผู้ป่วย ให้ยาไปรับประทาน และนัดหมายให้มาตรวจครั้งต่อไป) แต่ละกลุ่มมีจำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ รูปแบบส่งเสริมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน แบบทดสอบก่อนและหลังการทำกิจกรรม และแบบบันทึกระดับน้ำตาลในเลือด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา Independent t-test และ Paired sample t-test

ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยโรคเบาหวานในกลุ่มทดลองมีความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน และพฤติกรรมการดูแลตนเองดีขึ้น และมีระดับน้ำตาลในเลือดลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.001) เมื่อเปรียบเทียบกลุ่มทดลองที่ใช้รูปแบบที่พัฒนา กับกลุ่มควบคุมที่ให้การดูแลในรูปแบบปกติ พบว่า ผู้ป่วยในกลุ่มทดลองมีความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน และพฤติกรรมการดูแลตนเองดีกว่ากลุ่มควบคุม และมีระดับน้ำตาลในเลือดลดลงมากกว่าผู้ป่วยในกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.001) ผลการประเมินความพึงพอใจ พบว่าผู้ป่วยที่ใช้รูปแบบที่พัฒนามีความพึงพอใจในระดับมาก ร้อยละ 85.0 ควรนำรูปแบบที่พัฒนานี้ไปใช้ในการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานของโรงพยาบาลสีดา และนำไปปรับใช้กับที่อื่นต่อไป

Author Biography

ชานนท์ เชาว์ดำรงสกุล, โรงพยาบาลสีดา จังหวัดนครราชสีมา

นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสีดา จังหวัดนครราชสีมา

References

กองโรคไม่ติดต่อ. ประเด็นสารรณรงค์วันเบาหวานโลกปี 2561 [อินเตอร์เน็ต]. นนทบุรี: กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2561. [เข้าถึงเมื่อ 2563 สิงหาคม 5] เข้าถึงได้จาก http://www.thaincd.com/document/docs_upload/WorldDiabetesday61.pdf

วรรณี นิธิยานันท์. ไทยป่วยเบาหวานพุ่งสูงต่อเนื่อง แตะ 4.8 ล้านคน คาดถึง 5.3 ล้านคนในปี 2583 [อินเตอร์เน็ต]. 2562. [ปรับปรุงเมือ 2559 พฤศจิกายน 13; เข้าถึงเมื่อ 2563 สิงหาคม 5] เข้าถึงได้จาก https://www.hfocus.org/content/2019/11/18031

American Diabetes Association. Standards of medical care for patients with diabetes mellitus. Diabetes Care. 2003;26 Suppl 1:S33-50. doi: 10.2337/diacare.26.2007.s33..

Guthrie DW, Guthrie RA. Definition, facts, and statistics. In Guthrie DW, Guthrie RA, editors. Nursing Management of Diabetes Mellitus: A guide to the pattern approach. 4th ed. New York: Springer; 1997.

โสภณ เมฆธน. ห่วง! ‘โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง’ ทำคนไทยตายปีละ 3 แสน [อินเตอร์เน็ต]. 2557. [เข้าถึงเมื่อ2563 สิงหาคม 2]. เข้าถึงได้จาก: http://www.thairath.co.th/content/435167

โรงพยาบาลสีดา. รายงานสถานการณ์โรคเบาหวานโรงพยาบาลสีดา. นครราชสีมา: โรงพยาบาลสีดา; 2563.

Dey KP, Hariharan S. Integrated approach to healthcare quality management: A case study. The TQM Magazine. 2006;18(6): 583-605.

Prochaska JO, Johnson S, Lee P. The Transtheoretical Model of Behavior Change. in Shumaker SA, Ockene JK, Riekert KA, editors. The Handbook of Health Behavior Change. 3rd ed. New York: Springer; 2009.

Burbank PM, Reibe D, Padula CA, Nigg C. Exercise and older adults: changing behavior with the transtheoretical model. Orthop Nurs. 2002;21(4):51-61. doi: 10.1097/00006416-200207000-00009.

รัชนี ศรีหิรัญ. ผลของการติดตามทางโทรศัพท์ต่อการดูแลตนเองของผู้ป่วยจิตเภทหลังจำหน่าย [วิทยานิพนธ์ พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2554.

Kinsella A. Telehealth and home care nursing. Home Healthcare Nurse. 1997;15(11): 796-7.

อนุชา วรหาร. การพัฒนารูปแบบการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรงพยาบาลเลาขวัญ. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9. 2561;12(27): 5-22.

ศุภมิตร ปาณธูป. การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ผิดนัด. วิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. 2562;12(3):23-34.

เจ๊ะปาตีหม๊ะ บินอิบรอเฮง, สุไกรญา นิยมเดชา, อมรรัตน์ นวลภักดี. ประสิทธิผลโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมร่วมกับการติดตามทางโทรศัพท์ของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลปัตตานี. ปัตตานี: โรงพยาบาลปัตตานี; 2556.

Orem DE. Nursing Concepts of Practice. 5th ed. St. Louis: Mosby; 1995.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-11-16