คุณภาพชีวิตของเด็กปฐมวัยอายุ 2-4 ปี ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ตำบลนาฝาย อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ

ผู้แต่ง

  • ยุภดี สงวนพงษ์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
  • ธนิดา ผาติเสนะ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

คำสำคัญ:

คุณภาพชีวิต, เด็กปฐมวัย, ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงผสมผสานวิธี เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตและปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของเด็กปฐมวัยอายุ 2-4 ปี ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลนาฝาย อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ โดยแบ่งการวิจัยเป็น 2 ระยะคือ 1) การศึกษาคุณภาพชีวิตเด็กปฐมวัย โดยวิจัยเชิงคุณภาพ จากการทบทวนวรรณกรรมร่วมกับการสนทนากลุ่ม สัมภาษณ์เชิงลึกและการเยี่ยมบ้าน ผู้ให้ข้อมูลคือผู้ปกครองและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องรวม 20 คน และ 2) การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรรกับคุณภาพชีวิต โดยการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือเด็กอายุ 2-4 ปี จำนวน 80 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ส่วนข้อมูลเชิงปริมาณใช้การวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนาและสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของสเพียร์แมน ผลการศึกษาพบว่า 1) สถานการณ์ที่มีส่วนช่วยให้เด็กมีพัฒนาการล้าช้า คือ เวลาในการเลี้ยงดูเด็กของผู้ปกครองมีจำกัด เด็กอยู่กับสื่อนานเกินไป ครอบครัวมีรายได้ไม่เพียงพอ และขาดการส่งเสริมพัฒนาการเด็กตามช่วงวัย 2) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของเด็กมีดังนี้ ด้านเด็ก พบว่า พัฒนาการของเด็ก เวลาในการใช้สื่อและฟันผุ มีความสัมพันธ์ทางลบกับคุณภาพชีวิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p=0.01 (r=-0.427, -0.472 และ -0.674 ตามลำดับ) และ การได้ดื่มนมมารดาหลังคลอดมีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p=0.05 (r=0.274) ด้านผู้ปกครอง พบว่า เพศมีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (r=0.241) ด้านการอบรมเลี้ยงดูเด็ก พบว่า การให้เรียนรู้ในสิ่งต่างๆ การเลียนแบบ การสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่นมีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p=0.01 (r=0.721, 0.345 และ 0.495 ตามลำดับ)

Author Biographies

ยุภดี สงวนพงษ์, คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

อาจารย์

ธนิดา ผาติเสนะ, คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

รองศาสตราจารย์

References

ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561-2580). ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 135 ตอนที่ 82 ก (ลงวันที่ 13 ตุลาคม 2561). [เข้าถึงเมื่อ 2562 ธันวาคม 8]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/A/082/T_0001.PDF

วรสิทธิ์ ศิริพรพาณิชย์, นัยพินิจ คชภักดี. บทบาทของสมองต่อพัฒนาการเด็ก. ใน: สุรีย์ลักษณ์ สุจริตพงศ์ และคณะ, บรรณาธิการ. ตำราพัฒนาการและพฤติกรรมเด็ก เล่ม 4. กรุงเทพฯ: พี.เอ. ลีฟวิ่ง; 2561.

Bee H. The Growing Child. New York: Harper Collins College Publisher; 1995.

นิตยา คชภักดี. ตำราพัฒนาการและพฤติกรรมเด็ก สำหรับเวชปฏิบัติทั่วไป. กรุงเทพฯ: บียอนด์ เอ็นเทอร์ไพรซ์; 2554.

นิชรา เรืองดารกานนท์. พัฒนาการและเชาว์ปัญญาของเด็กไทย. กรุงเทพฯ: เอกสารอัดสำเนา; 2551.

ธันยพร เมฆรุ่งจรัส, อดิศร์สุดา เฟื่องฟู. ปัจจัยที่กระทบต่อพัฒนาการเด็ก. ใน: สุรีย์ลักษณ์ สุจริตพงศ์และคณะ, บรรณาธิการ. ตำราพัฒนาการและพฤติกรรมเด็ก เล่ม 4. กรุงเทพฯ: พี.เอ.ลีฟวิ่ง; 2561. หน้า 44.

จินตนา พัฒนพงศ์ธร และคณะ. การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการเด็กปฐมวัยไทย ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2560. นนทบุรี: กลุ่มสนับสนุนวิชาการและการวิจัย สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย; 2561.

จินตนา พัฒนพงศ์ธร, ชัยชนะ บุญสุวรรณ, นฤมล ธนเจริญวัชร. พัฒนาการเด็กปฐมวัยไทย ปี พ.ศ. 2557. นนทบุรี: สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย; 2558.

นิตยา คชภักดี, อรพินท์ เลิศอวัสดาตระกลู. คู่มือการฝึกอบรมการทดสอบพัฒนาการเด็กปฐมวัย (ฉบับแก้ไขปรับปรุงครั้งที่ 5). นครปฐม: สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว; 2556.

Rajatanavin R, Chailurkit L, Winichakoon P, Mahachoklertwattana P, Soranasataporin S, Wacharasin R. Endemic cretinism in Thailand: a multidisciplinary survey. Eur J Endocrinol 1997; 137: 349-55.

สุริยเดว ทรีปาตี, วิมลทิพย์ มุกสิกพันธ์. คุณภาพชีวิตของเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการส่งเสริมสุขภาพ; 2556.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. ยุทธศาสตร์เด็กปฐมวัยแห่งชาติ พ.ศ. 2560–2564. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ; 2560.

มาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ. การประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงานตามมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ; วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2562. ณ โรงแรมรอยัล ซิตี้ กรุงเทพฯ; 2562.

องค์การบริหารส่วนตำบลนาฝาย อ.เมืองชัยภูมิ จ.ชัยภูมิ. ข้อมูลพื้นฐาน ตำบลนาฝาย อ.เมืองชัยภูมิ จ.ชัยภูมิ [อินเตอร์เน็ต]. 2561. [เข้าถึงเมื่อ 2561 ธันวาคม 17]. เข้าถึงได้จาก: https://www.nafai-chaiyaphum.go.th/condition.php

ศิริกุล อิศรานุรักษ์, ปราณี สุทธิสุคนธ์. การอบรมเลี้ยงดูเด็ก. วารสารสาธารณสุขและการพัฒนา 2550; 5(1):105-18.

Creswell JW, Plano Clark VL. Designing and Conducting Mixed Methods Research. (2nd ed.). Thousand Oaks, CA: Sage; 2011.

ธีรวุฒิ เอกะกุล. ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 6, อุบลราชธานี: วิทยาออฟเซ็ทการพิมพ์; 2552.

Erikson EH. Childhood and Society. New York: Norton; 1950.

ลักขนา ชอบเสียง. บทบาทของครอบครัวในการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย [วิทยานิพนธปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลครอบครัว]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแกน; 2548.

บุญชม ศรีสะอาด. การพัฒนาหลักสูตรและการวิจัยเกี่ยวกับหลักสูตร. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น; 2553.

บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. ระเบียบวิธีการวิจัยทางพยาบาลศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2553.

อ้อมจิต ว่องวาณิช และคณะ. ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตการดูแลสุขภาพโดยศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและผู้ปกครองต่อภาวะสุขภาพเด็กปฐมวัย ณ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลองครักษ์ จังหวัดนครนายก. ไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ 2557; 9(24): 178-85.

Acharya S, Tandon S. The effect of early childhood caries on the quality of life of children and their parents. Contemporary Clinical Dentistry 2011; 2(2): 98–101.

Singha N, Dubey N, Rathore M, Pandey P. Impact of early childhood caries on quality of life: Child and parent perspectives. Journal of Oral Biology and Craniofacial Research 2020; 10(2): 83-6.

คมสันต์ เกียรติรุ่งฤทธิ์. ปัญหาการบริโภคสื่อและอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในเด็กปฐมวัย. ใน: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). คุณภาพชีวิตของเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: บริษัท บีเคเคโปร จำกัด; 2559.

ดาริน ด่านเทศ. ผลของโปรแกรมส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวสำหรับหญิงตั้งครรภ์ทำงานนอกบ้านต่อเจตคติและความตั้งใจเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการผดุงครรภ์ขั้นสูง คณะพยาบาลศาสตร์]. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2559.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-11-29