การพัฒนาผู้นำการเสริมสร้างสมรรถนะการบริหารจัดการระบบสุขภาพอำเภอ สำหรับอาจารย์วิทยาลัยในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง
คำสำคัญ:
สมรรถนะ, การบริหารจัดการ, ระบบสุขภาพอำเภอบทคัดย่อ
วิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสมรรถนะการบริหารจัดการระบบสุขภาพอำเภอสำหรับอาจารย์วิทยาลัยในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนกภายใต้กระบวนการจัดการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2558 - ธันวาคม พ.ศ. 2559 ในวิทยาลัยทั้ง 39 แห่งในสังกัดสถาบันพระบรมราชนก กระทรวงสาธารณสุข โดยวิธีการสำรวจ การสังเกต การสัมภาษณ์เจาะลึก การสนทนากลุ่ม และศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติ Paired t-test วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1) หลักสูตรการเรียนรู้เสริมสมรรถนะการบริหารจัดการระบบสุขภาพอำเภอ สำหรับนักวิชาการของวิทยาลัยในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก เป็นกระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงบริบท ประกอบด้วย การเรียนรู้การเปลี่ยนภายในตนจากภายนอก การเรียนรู้เสริมสมรรถนะการบริหารจัดการระบบสุขภาพอำเภอภายใต้บริบทพื้นที่ และ การสะท้อนผลและถอดบทเรียนการเรียนรู้ 2) หลังการจัดกระบวนการเรียนรู้ พบว่า สมรรถนะหลักการบริหารจัดการระบบสุขภาพอำเภอเพิ่มขึ้นทุกองค์ประกอบ ด้านที่มีคะแนนเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านการทำงานเป็นทีม รองลงมาคือ ด้านวิสัยทัศน์ ส่วนสมรรถนะเงาทั้ง 4 ด้าน พบว่ามีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นอยู่ในระดับมาก และพบว่าคะแนนเฉลี่ยรวมสมรรถนะหลัก และสมรรถนะเงา หลังการอบรมเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value <0.001 และ P value <0.01 ตามลำดับ) และคะแนนเฉลี่ยสมรรถนะหลักเกือบทุกด้านเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value<0.001) ยกเว้นด้านการควบคุมตนเอง 3) จากการติดตามข้อมูลหลังการอบรม พบว่าอาจารย์ของวิทยาลัยในสังกัดสถาบันพระบรม-ราชชนก สามารถดำเนินบทบาทนักวิชาการให้กับศูนย์ประสานงานจัดการเรียนรู้และทีมเรียนรู้เพิ่มขึ้นเป็น ร้อยละ 82.05 และขยายการพัฒนานักวิชาการของหน่วยงานด้วยตนเอง เกือบร้อยละ 41 ทำให้สถาบันพระบรมราชชนกมีนักวิชาการทั้งหมด จำนวน 154 คน ซึ่งครอบคลุมความต้องการของเครือข่ายบริการสุขภาพระบบอำเภอเกือบทุกเขตสุขภาพ และมีวิทยาลัยที่ดำเนินบทบาทเป็นศูนย์ประสานงานจัดการเรียนรู้ จำนวน 7 แห่ง ทำให้เกิดการขับเคลื่อนการพัฒนาระบบสุขภาพเป็นรูปธรรมอย่างชัดเจนและสามารถเป็นต้นแบบการพัฒนาระบบสุขภาพอำเภอ ได้แก่ การลดการใช้สารเคมีในเกษตรกร การพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวในชุมชน 4) ทำให้เกิดการบูรณการโครงการเสริมสมรรถนะการบริหารจัดการระบบสุขภาพอำเภอกับพันธกิจของวิทยาลัย ได้แก่ ศูนย์ความเป็นเลิศ การเรียนการสอน และการบริการวิชาการแก่สังคม
กระบวนการจัดการเรียนรู้เสริมสมรรถนะการบริหารจัดการระบบสุขภาพอำเภอ เป็นกระบวนการเรียนรู้จากห้องเรียนในสถาบันการศึกษาสู่การเรียนรู้โลกของระบบบริการสุขภาพ ที่สามารถพัฒนาสมรรถนะและสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้เรียน ทำให้เกิดการเชื่อมโยงระหว่างสถาบันการศึกษาและระบบสุขภาพ
References
ศิราณี ศรีหาภาค, โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์, คณิศร เต็งรัง. ผลกระทบและภาระการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวภายใต้วัฒนธรรมไทย. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.); 2556.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. รายงานการสำรวจประชากรผู้สูงอายุในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2550. กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ; 2557.
ศิราณี ศรีหาภาค และคณะ. การเรียนรู้เสริมสมรรถนะการบริหารจัดการระบบสุขภาพอำเภอโดยใช้บริบทเป็นฐาน: ศูนย์ประสานงานจัดการเรียนรู้ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น. วารสารพยาบาลพระปกเกล้า 2559; 27(1):179–188.
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545. นนทบุรี: สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ; 2545.
สำนักบริหารการสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข. การขับเคลื่อนระบบสุขภาพระดับอำเภอ ฉบับประเทศไทย. นนทบุรี: สำนักบริหารการสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข; 2557.
เดชา แซ่หลี และคณะ. การขับเคลื่อนระบบสุขภาพระดับอำเภอ ฉบับประเทศไทย. สำนักบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข; 2557.
ศิราณี ศรีหาภาค และคณะ. เรียนรู้การสมรรถนะการบริหารจัดการระบบสุขภาพอำเภอสู่การพัฒนาระบบสุขภาพ. ขอนแก่น: บริษัท เพ็ญพรินติ้ง จำกัด; 2559.
ประเวศ วะสี. การปฏิวัติเงียบ: การปฏิรูประบบสุขภาพ. นนทบุรี: สำนักงานปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติ; 2546.
ยงยุทธ พงษ์สุภาพ. การจัดการเรียนเพื่อเพิ่มสมรรถนะการบริหารจัดการระบบสุขภาพอำเภอ. สมุทรสาคร: APPA Printing Group; 2557.
ยงยุทธ พงษ์สุภาพ. กรอบแนวคิด หลักการ และแนวทางการจัดการเรียนโดยใช้บริบทเป็นฐาน (Context based learning: CBL): ยุทธศาสตร์การพัฒนาบริการปฐมภูมิในบริบทของระบบบริการสาธารณสุขระดับอำเภอ. กรุงเทพ: หมอชาวบ้าน; 2552.
Stringer E. Action Research (2nd ed). California: Sage Publications; 1999.
ยงยุทธ พงษ์สุภาพ. แนวทางการฝึกปฏิบัติเพื่อพัฒนาสมรรถนะด้านเวชปฏิบัติครอบครัวของแพทย์โดยใช้โรงพยาบาลชุมชนหรือสถานบริการปฐมภูมิในชุมชนเป็นฐาน (Family practice learning: FPL). กรุงเทพ: สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิสชิ่ง; 2555.
Taylor EW. The Theory and Practice of Transformative Learning: A Critical Review. Columbus, Ohio 43210-1090. Information Series No. 374; 1998.
กฤษดา แสวงดี และคณะ. โครงการเสริมสมรรถนะการบริหารจัดการระบบสุขภาพอำเภอ และข้อเสนอนโยบาย ประจำปีงบประมาณ 2558. นนทบุรี: สถาบันพระบรมราชชนก; 2558.
สถาบันพระบรมราชชนก. คู่มือการประเมินผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ 2559 ของวิทยาลัยในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก. นนทบุรี: สถาบันพระบรมราชชนก. (เอกสารอัดสำเนา); 2559.
World Health Organization. Monitoring the building blocks of health systems: A handbook of indicators and their measurement strategies. Geneva: WHO Press; 2010.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ประกฎในวารสารศูนย์อนามัยที่ 9 เป็นความคิดเห็นของผู้เขียน บรรณาธิการ คณะผู้จัดทำ และศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา (เจ้าของ) ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ผลการพิจารณาของกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิถือเป็นที่สิ้นสุด คณะบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจแก้ไขข้อความให้ถูกต้องตามหลักภาษาและมีความเหมาะสม
กองบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหาใด ๆ ของบทความ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของผลการประเมินบทความในวารสารฯ ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์อนามัยที่ 9