ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการจัดการอาการไม่พึงประสงค์ก่อนมีประจำเดือน ในสตรีวัยรุ่น

ผู้แต่ง

  • สมรัก ครองยุทธ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์
  • เรืองฤทธิ์ โทรพันธ์

คำสำคัญ:

การจัดการอาการ, อาการไม่พึงประสงค์ก่อนมีประจำเดือน

บทคัดย่อ

การมีประจำเดือนเป็นประสบการณ์ที่สำคัญในชีวิตประสบการณ์หนึ่งของผู้หญิง แม้ว่าจะเป็นกลไกทางสรีรวิทยาปกติที่เกิดขึ้นตามระยะพัฒนาการ แต่เมื่อสตรีมีประจำเดือนจะเกิดกลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน ซึ่งเป็นอาการที่ไม่พึงประสงค์ที่พบบ่อยและบ่อยครั้งที่ทำให้เกิดความทุกข์ทรมานต่อสตรีวัยรุ่น การจัดการกับอาการที่มีประสิทธิภาพจะช่วยบรรเทาอาการไม่พึงประสงค์เหล่านี้ และทำให้สตรีวัยรุ่นมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น การวิจัยแบบพรรณนาเชิงหาความสัมพันธ์ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอายุ ความรู้ในการดูแลตนเอง การรับรู้อาการไม่พึงประสงค์ และการสนับสนุนทางสังคม กับการจัดการอาการไม่พึงประสงค์ในสตรีวัยรุ่นก่อนมีประจำเดือน กลุ่มตัวอย่างคือสตรีวัยรุ่นที่มีอายุ 10-19 ปี ที่ศึกษาในโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยม เขต 29 จำนวนทั้งหมด 785 ราย คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการแบบแบ่งชั้นจากนักเรียนหญิงที่มีอายุ 10-19 ปี แล้วทำการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในศึกษาคือแบบสอบถามเกี่ยวกับความรู้ในการดูแลตนเอง การรับรู้อาการไม่พึงประสงค์ การสนับสนุนทางสังคม และการจัดการกับอาการไม่พึงประสงค์ ที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.79, 0.82, 0.89 และ 0.95 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน พิสัย และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน

ผลการวิจัยพบว่า อายุ (r=0.317, p<0.001) ความรู้ในการดูแลตนเอง (r=0.354, p<0.001) การรับรู้อาการไม่พึงประสงค์ (r=0.324, p<0.001) และการสนับสนุนทางสังคม (r=0.434, p<0.001) มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลางกับการจัดการอาการไม่พึงประสงค์ในสตรีวัยรุ่นก่อนมีประจำเดือนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) ผลการศึกษาครั้งนี้เสนอแนะว่า บุคลากรทางการแพทย์ และครูควรประเมินและวางแผนการพยาบาลเพื่อจัดการกับอาการอาการไม่พึงประสงค์ในสตรีวัยรุ่นก่อนมีประจำเดือนให้มีประสิทธิภาพ โดยให้ความรู้ในการดูแลตนเอง เพิ่มการรับรู้อาการไม่พึงประสงค์ และการสนับสนุนทางสังคม

Author Biography

สมรัก ครองยุทธ, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์

อาจารย์

References

มณี รัตนไชยานนท์. ภาวะผิดปกติที่สัมพันธ์กับการมีระดู. 2. กรุงเทพฯ: พี.เอ.ลีฟวิ่ง; 2550.

Bosarge PM. Understanding and treating PMS/PMDD. Nursing 2003;17:13-7.

สุนันทา ยังวนิชเศรษฐ. กลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน อาการปวดประจำเดือน และการปฏิบัติในการ บรรเทาอาการของนักศึกษาสตรีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. สงขลานครินทร์เวชสาร 2548;23(4):209-217.

นววรรณ ชนะชัย, นาฏอนงค์ ดำพะธิก, นุชนาฏ พันธุลี, นุสรา ประเสริฐศรี. ความปวดประจำเดือน และการดูแลตนเองในการจัดการความปวดของนักศึกษาพยาบาล. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ 2560;1:61-74.

แสงสุรีย์ ประกอบธัญ. การจัดการอาการปวดประจำเดือนในสตรีวัยรุ่นโรงเรียนบ้านเขาเฒ่า ตำบลบางเตย อำเภอเมือง จังหวัดพังงา [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน]. นครศรีธรรมราช: บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์; 2552.

Daugherty JE. Treatment strategies for premenstrual syndrome. Am Fam Physician 1998; 58(1):183-92.

Dodd M, Janson S, Facione N, Faucett J, Froelicher ES, Humphrey J, et al. Advancing the science of symptom management. JAN 2001;33(5):668-76.

Kim HJ, McGuire DB, Tulman L, Barsevick AM. Symptom clusters: Concept analysis and clinical implications for cancer. nurs. Cancer Nurs 2005;28(4):270-82.

สุรศักดิ์ ฐานีพานิชสกุล. การศึกษากลุ่มอาการที่มีร่วมกับประจำเดือน. [อินเตอร์เน็ต]. 2553 [เข้าถึงเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2560]. เข้าถึงได้จาก: http://www.research.chula.ac.th/web/cu_online/2553/vol_27_3.html

รัตนา สินธุภัค, เอกพันธ์ ฤทธา, ไพลิน ศรีสุขโข, เขมิกา ยามะรัต, เอื้อมพร คชการ, จงกล ตั้งอุสาหะ, และคณะ. การศึกษากลุ่มอาการที่มีร่วมกับประจำเดือน : รายงานผลการวิจัย. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2544.

ยุภดี สงวนพงษ์. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรรกับการดูแลตนเองของผู้ป่วยเด็กโรคธาลัสซีเมียโรงพยาบาลชัยภูมิ [การศึกษาอิสระพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลสุขภาพเด็ก]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2551.

Lenz ER, Pugh LC, Milligan RA, Gift A, Suppe F. The middle-range theory of unpleasant symptoms: an update. ANS Adv Nurs Sci. 1997 Mar;19(3):14-27. doi: 10.1097/00012272- 199703000-00003. PMID: 9055027.

Grey M, Knafl K, McCorkle R. A framework for the study of self-and family management of chronic conditions. Nurs Outlook 2006;25:279-86.

Polit DF, Hunhler BP. Nursing Research: Principles and methods. 6th ed. Lippincott Williams & Wilkins; 1999.

ชูศรี วงศ์รัตนะ. การเขียนเค้าโครงการวิจัย:แนวทางสู่ความสำเร็จ. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี: ไทยนิรมิตกิจ อินเตอร์ โปรเกรสซิฟ; 2553.

Cobb S. Social support as a moderation of life stress. Psychosom Med. 1976 Sep-Oct; 38(5):300-14. PMID:981490

Schaefer C, Coyne JC, Lazarus RS. The health-related functions of social support. J Behav Med. 1981 Dec;4(4):381-06. doi: 10.1007/BF00846149. PMID:7338894

Piaget J. The child and reality: problems of genetic psychology. London: Frederick Muller Ltd.; 1974.

วิฐารณ บุญสิทธิ. Coping with chronic illness in the adolescent. ใน: พัฒน์ มหาโชติเลิศวัฒนา, สุวรรณา เรืองกาญจนเศรษฐ์, วิฐารณ บุญสิทธิ, วิโรจน์ อารีย์กุล. กลยุทธ์การดูแลและการสร้างเสริม สุขภาพวัยรุ่น. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: ชัยเจริญ; 2547. หน้า 209-213.

เรืองฤทธิ์ โทรพันธ์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการจัดการอาการรบกวนของเด็กโรคธาลัสซีเมียที่ได้รับยาขับเหล็ก [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลเด็ก]. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2559.

รัตนาวดี ชอนตะวัน, พัชรี วรกิจพูนผล. โรคหอบหืดในเด็ก: ความรู้ ความต้องการและประสบการณ์การดูแลของบิดามารดา. พยาบาลสาร 2547;31:6-28.

Given A, Azzous P. Coronary risk in patients with end stage renal disease. J Cardiovasc Pharmacol 2001;4:257-61.

Gift AG, Jablonski A, Stommel M, Given CW. Symptom clusters in elderly patients with lung cancer. Oncol Nurs Forum. 2004; 31(2). PMID:15017438

พูลศรี เขตโสภณ. ปัจจัยที่มีผลต่อความรู้ในการรักษาสิวของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม [สารนิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิทยาการสังคมและการจัดการระบบสุขภาพ]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2549.

Langeveld N, Ubbink M, Smets E. “I don’t have any energy”: The experience of fatigue in young adult survivors of childhood cancer. Eur J Oncol Nurs 2000;4:20-8.

นฤมล ธีระรังสิกุล, ศิริยุพา สนั่นเรืองศักดิ์. ประสบการณ์การจัดการดูแลตนเองของเด็กที่เป็นโรคธาลัส ซีเมีย. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 2558;23:48-60.

Pender NJ, Murdaugh C, Parsons MA. Health promotion in nursing practice. 4th ed. New Jersey: Upper Saddle River; 2002.

กนกจันทร์ ขันทะนะ. อาการที่ไม่พึงประสงค์และการจัดการกับอาการของเด็กโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน ในระหว่างรับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลเด็ก]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2548.

วรรณา ชัยชนะรุ่งเรือง. ประสบการณ์การมีอาการ กลวิธีการจัดการกับอาการและผลจากอาการตามการรับรู้การเปลี่ยนแปลงระดับน้ำตาลในเลือดของบุคคลที่เป็นโรคเบาหวาน [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2546.

น้ำเพชร มาตาชนก. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการจัดการของครอบครัวที่มีผู้ป่วยโรคหืดวัยผู้ใหญ่ [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน]. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2550.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-11-29