การเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูก : แนวปฏิบัติเพื่อป้องกันและลดความเสี่ยงการเกิดโรคกระดูกพรุน

ผู้แต่ง

  • วัชรินทร์ วงษาหล้า วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา
  • มโนไท วงษาหล้า วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา

คำสำคัญ:

โรคกระดูกพรุน, การเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูก, การป้องกัน, การลดความเสี่ยง

บทคัดย่อ

            กระดูกเป็นที่สะสมและจ่ายแคลเซียมให้กับร่างกาย มวลกระดูกมีการสลายและสร้างทดแทนตลอดเวลา การมีมวลกระดูกต่ำและมีความหนาแน่นน้อยร่วมกับมีการเสื่อมสภาพของโครงสร้างระดับจุลภาคจะส่งผลให้กระดูกเปราะบางแตกหักง่าย อันเป็นลักษณะของโรคกระดูกพรุน การดูแลกระดูกให้แข็งแรงมีความสำคัญในทุกช่วงวัยเนื่องจากการสร้างมวลกระดูกจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในวัยเด็กจนถึงวัยผู้ใหญ่ตอนต้น  หลังจากนั้นมวลกระดูกจะคงที่และค่อยๆ ลดลงตามอายุที่มากขึ้น ดังนั้นการดูแลให้กระดูกแข็งแรงจึงต้องเริ่มตั้งแต่เนิ่นๆ หากสร้างมวลกระดูกได้น้อยในช่วงวัยเริ่มต้นของชีวิตและดูแลรักษาไม่ดีพอในช่วงวัยกลางของชีวิตจะส่งผลต่อการเกิดโรคกระดูกพรุนในช่วงวัยปลายของชีวิต บทความนี้นำเสนอความรู้เรื่องธรรมชาติและความแข็งแรงของกระดูก การประเมินความแข็งแรงของกระดูก และแนวทางการปฏิบัติเพื่อป้องกันและลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุนซึ่งประกอบด้วย การได้รับแคลเซียมและโปรตีนอย่างเพียงพอ รับแสงแดดเพื่อสร้างวิตามินดีอย่างเหมาะสม ออกกำลังกายชนิดมีแรงต้านและต้านแรงโน้มถ่วง และหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง ซึ่งสามารถเป็นแนวทางปฏิบัติสำหรับประชาชน ตลอดจนเป็นองค์ความรู้สำหรับบุคลากรทางด้านสุขภาพในการให้คำแนะนำเพื่อส่งเสริมสุขภาพของกระดูกแก่บุคคลทุกช่วงวัยซึ่งสามารถป้องกันและลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุน

Author Biographies

วัชรินทร์ วงษาหล้า, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ (ด้านการสอน)

มโนไท วงษาหล้า, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ (ด้านการสอน)

References

Lyritis GP, Rizou S. A revision in the definition of osteoporosis. Journal of Frailty, Sarcopenia and Falls. 2016 Mar;1(1). doi: 10.22540/JFSF-01-001.

มูลนิธิโรคกระดูกพรุนแห่งประเทศไทย. แนวทางเวชปฏิบัติสําหรับโรคกระดูกพรุน พ.ศ. 2553 [อินเตอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโรคกระดูกพรุนแห่งประเทศไทย; 2554 [เข้าถึงเมื่อ 2563 สิงหาคม 9]. เข้าถึงได้จาก https://www.topf.or.th/read_hotnews_detail.php?dID=13

About Osteoporosis [Internet]. Nyon, Switzerland: International Osteoporosis Foundation; 2020 [cited 2020 Aug 7]. Available from: https://www.osteoporosis.foundation/patients/about-osteoporosis

Cooper C, Dawson-Hughes B, Gordon CM, Rizzoli R. Healthy Nutrition, Healthy Bones. Nyon, Switzerland: The International Osteoporosis Foundation; 2015.

Ebeling, P. Osteoporosis in Men: Why Change Needs to Happen. Nyon, Switzerland: The International Osteoporosis Foundation; 2014.

วิรชัช สนั่นศิลป์. สถานการณ์โรคกระดูกพรุนปี 2555: หักครั้งเดียวก็เกินพอ [อินเตอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ; 2556 [เข้าถึงเมื่อ 2563 สิงหาคม 7]. เข้าถึงได้จาก: https://www.bangkokhealth.com/health/article/สถานการณ์โรคกระดูกพรุนปี-2555-หักครั้งเดียวก็เกินพอ-807

Weaver CM, Gordon CM, Janz KF, Kalkwarf HJ, Lappe JM, Lewis R, et al. The National Osteoporosis Foundation’s position statement on peak bone mass development and lifestyle factors: a systematic review and implementation recommendations. Osteoporosis International. 2016;27(4):1281–386.

ธีรพล กรีพานิช. ภาวะกระดูกพรุนกับการพัฒนาสังคมไทย (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร; 2560.

ศรีสุดา ตั้งสิริประชา, ปริญญา เรืองทิพย์. ปัจจัยที่มีผลต่อความเสี่ยงของโรคกระดูกพรุนในสตรีวัยหมดประจำเดือน. ศรีนครินทร์เวชสาร 2559; 31(5):320–4.

Nall R. Osteoporosis Tests and Diagnosis [Internet]. Healthline. Healthline Media; 2018 [updated 2018 Sep 16; cited 2020 Aug 7] Available from: https://www.healthline.com/health/osteoporosis-diagnosis

Songpatanasilp T, Sritara C, Kittisomprayoonkul W, Chaiumnuay S, Nimitphong H, Charatcharoenwitthaya N, et al. Thai Osteoporosis Foundation (TOPF) position statements on management of osteoporosis. Osteoporosis and Sarcopenia. 2016;2(4):191–207.

Bischoff-Ferrari H. Three Steps to Unbreakable Bones [Internet]. Nyon, Switzerland: International Osteoporosis Foundation; 2020 [cited 2020 Aug 7]. Available from: http://www.iofbonehealth.eu/three-steps-unbreakable-bones

สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. ปริมาณสารอาหารอ้างอิงที่ควรได้รับประจำวัน สำหรับคนไทย พ.ศ. 2563 [อินเตอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด เอ.วี. โปรเกรสซีฟ; 2563 [เข้าถึงเมื่อ 15 สิงหาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก: http://nutrition.anamai.moph.go.th/images/dri2563.pdf

กองโภชนาการ กรมอนามัย และสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล. รายงานการสำรวจปริมาณการบริโภคโซเดียมคลอไรด์ของประชากรไทยปี 2550-2551. นนทบุรี: กองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข; 2552.

มูลนิธิภิวัฒน์สาธารณสุขไทย, สำนักข่าว Hfocus เจาะลึกระบบสุขภาพ. คนไทย 90% เสี่ยงเป็นโรคกระดูกพรุน เหตุบริโภคอาหารที่มีแคลเซียมไม่เพียงพอ [อินเตอร์เน็ต]; 2561. [เข้าถึงเมื่อ 2563 สิงหาคม 15]. เข้าถึงได้จาก: https://www.hfocus.org/content/2018/12/16655

Judprasong K, Puwastien P, Rojroongwasinkul N, Nitithamyong A, Sridonpai P, Somjai A. Thai Food Composition Database, Online version 2 [Internet]. Bangkok: Institute of Nutrition, Mahidol University; 2015. [updated 2018 Sep; cited 2020 Aug 24]. Available from: http://www.inmu.mahidol.ac.th/thaifcd

Rajatanavin N, Kanokrungsee S, Aekplakorn W. Vitamin D status in Thai dermatologists and working-age Thai population. The Journal of Dermatology 2018;46(3):206–12.

Raman R. How to Safely Get Vitamin D from the Sun [Internet]. Healthline. Healthline Media; [cited 2020 Aug 7]. Available from: https://www.healthline.com/nutrition/vitamin-d-from-sun

Saraff V, Shaw N. Sunshine and vitamin D. Archives of Disease in Childhood 2015;101(2): 190–2.

Ilesanmi-Oyelere BL, Roy NC, Coad J, Kruger MC. Associations between Self-Reported Physical Activity, Heel Ultrasound Parameters and Bone Health Measures in Post-Menopausal Women. Int J Environ Res Public Health 2019 Sep;16(17):3177. doi: 10.3390/ijerph16173177.

อธิบ ตันอารีย, พลเทพ วิจิตรคุณากร. สถานการณ์การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และดัชนีความเสี่ยงต่อปัญหาแอลกอฮอล์ของจังหวัดในประเทศไทย: ข้อมูลการสำรวจ พ.ศ. 2560. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 2562;14(4):353–67.

Al-Bashaireh AM, Haddad LG, Weaver M, Chengguo X, Kelly DL, Yoon S. The Effect of Tobacco Smoking on Bone Mass: An Overview of Pathophysiologic Mechanisms. J Osteoporos 2018;2018:1206235. doi: 10.1155/2018/1206235.

Yoon V, Maalouf NM, Sakhaee K. The effects of smoking on bone metabolism. Osteoporos Int 2012;23(8):2081–92. doi: 10.1007/s00198-012-1940-y.

National Institutes of Health Osteoporosis and Related Bone Diseases National Resource Center. What People Recovering from Alcoholism Need to Know About Osteoporosis [Internet]. Bethesda, MD: National Institutes of Health; 2018 [updated 2018 Nov; cited 2020 Aug 7]. Available from: https://www.bones.nih.gov/sites/bones/files/pdfs/alcoholismosteo-508-11-18.pdf

ฉัฐพร โยเหลา. แนวโน้มอุตสาหกรรมกาแฟ. อุตสาหกรรมสาร, วารสารของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม [อินเตอร์เน็ต]. 2562 มกราคม-กุมภาพันธ์ [เข้าถึงเมื่อ 2563 พฤษภาคม 13];61(1):7-8. เข้าถึงได้จาก: https://e-journal.dip.go.th/dip/images/ejournal/eab336740e8954fcf66765dc0ff04a9a.pdf

Nation TV 22. โพลล์ชี้วัยรุ่นไทยนิยมดื่มน้ำอัดลม-ดื่มหนักทุกสัปดาห์ [อินเตอร์เน็ต]. 2561 พฤษภาคม 12 [เข้าถึงเมื่อ 2563 สิงหาคม 20]. เข้าถึงได้จาก: https://www.nationtv.tv/main/content/378624623/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-11-29