การสร้างเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียนที่มีภาวะอ้วน เพื่อลดความเสี่ยงโรคเบาหวานในโรงเรียน

ผู้แต่ง

  • รำไพ หมั่นสระเกษ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา

คำสำคัญ:

การสร้างเสริมสุขภาพ, เด็กวัยเรียน, ภาวะอ้วน, โรคเบาหวานในเด็กวัยเรียน

บทคัดย่อ

การพัฒนาเด็กวัยเรียนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี จำเป็นต้องได้รับการพัฒนาทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และสติปัญญา ให้มีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพที่ถูกต้อง ปัจจุบันเด็กวัยเรียนต้องเผชิญกับปัญหาโรคอ้วนและโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในอนาคต ซึ่งมีอุบัติการณ์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี ส่งผลกระทบต่อตัวเด็กวัยเรียนโดยตรง เพราะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่สำคัญสูงอย่างโรคเบาหวาน และโรคที่สัมพันธ์กับโรคเบาหวาน เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคอื่นๆ เมื่อเข้าสู่วัยรุ่นหรือวัยผู้ใหญ่ บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับโรคอ้วนและโรคเบาหวานในเด็กวัยเรียน สาเหตุ ปัจจัยส่งเสริม อุบัติการณ์ ผลกระทบ และหลักการรักษา แนวทางสำหรับโรงเรียนในการประเมินภาวะโภชนาการ การคัดกรอง และการส่งต่อเด็กวัยเรียนที่มีปัญหาดังกล่าว

การสร้างเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียนที่มีภาวะอ้วนเพื่อลดความเสี่ยงโรคเบาหวาน ต้องการการมีส่วนร่วมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ทั้งการบริโภคอาหารและการออกกำลังกายสำหรับเด็กที่มีภาวะอ้วน โดยเริ่มต้นตั้งแต่ในโรงเรียน ซึ่งผู้บริหาร ครู นักเรียน ผู้ปกครอง และผู้เกี่ยวข้อง ที่มีความรู้ ความเข้าใจ ความตระหนัก และเห็นความสำคัญในการสร้างเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียน จะสามารถแก้ไขปัญหาเด็กอ้วนในโรงเรียนได้ ตลอดจนนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการสร้างเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียน ให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพให้ถูกต้องเหมาะสมและยั่งยืน ส่งผลให้เด็กวัยเรียนมีสุขภาพดี มีความพร้อมในการเรียนรู้ และเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพชีวิต และเป็นกำลังสำคัญของประเทศต่อไป

Author Biography

รำไพ หมั่นสระเกษ, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ (ด้านการสอน)

References

อาภาพร เผ่าวัฒนา, สุนีย์ ละกำปั่น, นฤมล เอื้อมณีกูล. การพยาบาลชุมชนกับการดูแลสุขภาพในสถานศึกษา. ใน ประมวลสาระชุดวิชา วิทยาการระบาด การพยาบาลชุมชนขั้นสูงและปฏิบัติการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน 2 (หน่วยที่ 6, น. 1-57). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2558.

ศูนย์สื่อสารสาธารณะ. กรมอนามัย เผย ‘อ้วน-ภาวะเตี้ย’ ปัญหาเด็กวัยเรียนวัยรุ่นภาคกลาง จับมือเครือข่ายพัฒนาความรอบรู้สุขภาพ [ออนไลน์]. 2562; [เข้าถึงเมื่อ 2563 สิงหาคม 1]; เข้าถึงได้จาก: https://gnews.apps.go.th/news?news=52469

สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคเด็กวัยเรียนและเยาวชน. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2560.

สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการคัดกรอง ส่งต่อและแก้ปัญหาเด็กอ้วนกลุ่มเสี่ยงในสถานศึกษา สถานบริการสาธารณสุข และคลินิก DPAC. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: สามเจริญพาณิชย์; 2562.

สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการควบคุมและป้องกันภาวะอ้วนในเด็กนักเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2557.

เปรมฤดี ภูมิถาวร. โรคเบาหวานในเด็กและวัยรุ่น [ออนไลน์]. 2563; [เข้าถึงเมื่อ 2563 สิงหาคม 1]; เข้าถึงได้จาก: https://med.mahidol.ac.th/th/knowledge_awareness_health/30jan2020-1536

อรุชา ตรีศิริโชติ. Childhood Acanthosis Nigricans. กุมารเวชสาร 2555;19(1):49-52.

รชฎา กสิภาร์. ภาวะอ้วน [ออนไลน์]. 2563; [เข้าถึงเมื่อ 2563 สิงหาคม 1]; เข้าถึงได้จาก: https://www.synphaet.co.th/children-ramintra/%E0%

สมาคมต่อมไร้ท่อเด็กและวัยรุ่นไทย. สถานการณ์โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในเด็กไทยและแนวทางการรักษา [ออนไลน์]. 2562; [เข้าถึงเมื่อ 2563 สิงหาคม 1]; เข้าถึงได้จาก: https://thaipedendo.org/type2diabetes-in-thailand/

อรอนงค์ บุรีเลิศ, นพรัตน์ ส่งเสริม, ภัทรภร เจริญบุตร. รูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในเด็กนักเรียนประถมศึกษา. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ 2561; 4(2):20-7.

ปุลวิชช์ ทองแตง, จันทร์จิรา สีสว่าง. ภาวะนํ้าหนักเกินในเด็กไทย. รามาธิบดีพยาบาลสาร 2555; 18(3):287-95.

สุนทรี รัตนชูเอก, พัชราภา ทวีกุล, อรวรรณ เอี่ยมโอภาส, อุมาพร สุทัศน์วรวุฒิ, บรรณาธิการ. แนวทางเวชปฏิบัติการป้องกันและรักษาโรคอ้วนในเด็ก พ.ศ. 2557. กรุงเทพฯ: ชมรมโภชนาการเด็กแห่งประเทศไทย ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย; 2560.

Lambrinou CP, Androutsos O, Karaglani E, et al. Effective strategies for childhood obesity prevention via school based, family involved interventions: a critical review for the development of the Feel4Diabetes-study school-based component. BMC Endocr Disord 2020;20(2):52. doi:10.1186/s12902-020-0526-5.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-01