สถานการณ์การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และการรับรู้นโยบายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ระดับจังหวัด จังหวัดขอนแก่น
คำสำคัญ:
การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์, นโยบายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์, การบังคับใช้กฎหมายบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจสถานการณ์การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และนโยบายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ระดับจังหวัด เป็นการศึกษาเชิงพรรณาแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional descriptive study) ในกลุ่มประชากรที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป โดยการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ทั้งในเขตและนอกเขตเทศบาลจังหวัดขอนแก่น จำนวน 413 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ผ่านความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า 1) ความชุกของการบริโภคสุรา ร้อยละ 42.9 อายุเฉลี่ยที่เริ่มดื่มสุราคือ 17.4 ปี พบว่าเป็นนักดื่มประจำ (30.3%) มีลักษณะการดื่มหนัก ดื่มจนมึนเมา และดื่มแล้วขับ ซึ่งพบผลกระทบที่สำคัญคือการทะเลาะวิวาท (38.9%) 2) โอกาสการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็นช่วงเทศกาลโดยช่วงเทศกาลที่พบมีการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากที่สุดคือ เทศกาลปีใหม่ รองลงมาคือเทศกาลสงกรานต์ และด้านการเข้าถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์พบว่า ผู้ดื่มสุราส่วนใหญ่สามารถเดินไปซื้อเครื่องดื่มด้วยตนเอง โดยพบว่าระยะเวลาในการเดินทางไปซื้อสุราโดยเฉลี่ย 6.6 นาที 3) การบังคับใช้กฏหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์พบว่ายังมีการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในช่วงเวลาที่ห้ามจำหน่ายมากที่สุด (37.5%) รองลงมาคือการขายให้ผู้ที่มีอาการมึนเมา (34.2%) และ การขายให้เยาวชนอายุต่ำกว่า 20 ปี (27.4%)
การรณรงค์เพื่อป้องกันนักดื่มหน้าใหม่ยังมีความจำเป็นที่ต้องดำเนินการควบคู่กับการบังคับการใช้กฎหมายที่ป้องกันไม่ให้มีการเข้าถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้สะดวก และลดโอกาสการเข้าถึงสุราในช่วงประเพณี นโยบายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ระดับจังหวัด ต้องดำเนินการอย่างชัดเจนและต่อเนื่อง เพื่อลดความชุกของการดื่มสุราลงและลดผลกระทบจากการดื่มได้
References
ทักษพล ธรรมรังสี และคณะ. ความสัมพันธ์เกี่ยวกับพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่ม แอลกอฮอล์กับการบาดเจ็บที่มาเข้ารับการรักษาที่แผนกอุบัติเหตุฉุกเฉิน. นนทบุรี: ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา; 2556.
สุรศักดิ์ ไชยสงค์ และคณะ. รายงานสถานการณ์การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์รายจังหวัด พ.ศ.2554. กรุงเทพฯ: บริษัท เดอะ กราฟิโก ซิสเต็มส์ จำกัด; 2556.
ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา. ยุทธศาสตร์นโยบายแอลกอฮอล์ระดับชาติ. นนทบุรี: สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ; 2553.
เนื้อแพร เล็กเฟื่องฟู และคณะ. สถานการณ์การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. นนทบุรี: ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา; 2558
จิราพร เขียวอยู่, ปิญากรณ์ ชุตังกร, สุวรรณา อรุณพงค์ไพศาล. ความชุกและปัจจัยสัมพันธ์กับปัญหาพฤติกรรมการดื่ม สุราของประชาชน ในเขตเทศบาลนครขอนแก่น. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2556;6(1) มกราคม – เมษายน: 201-10.
มนัสวี โกวิททวีเกียรติ และคณะ. ความชุกของการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในนักเรียน ชั้นประถมศึกษาตอนปลายและชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ของโรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดขอนแก่น. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2557;2(4): 103-15.
สุทธิรักษ์ ไชยรักษ์ และคณะ. พฤติกรรมการดื่มสุราของนักศึกษามหาวิทยาลัย เทคโนโลยีสุรนารี. นครราชสีมา: สถาบันวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี; 2553.
สมตระกูล ราศิริ, ธิติรัตน์ ราศิริ. พฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนักเรียนโรงเรียนบ้านเขาสมอแคลง ตำบลวังทอง จังหวัดพิษณุโลก. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการระดับชาติ ด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพครั้งที่ 1 วันที่ 7-8 ธันวาคม พ.ศ. 2560. เชียงราย: สำนักวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง; 2560.
สุทธิพงษ์ กรานเขียว. พฤติกรรมการดื่มสุรา ของนิสิตภาคพิเศษมหาวิทยาลัยบูรพา. มหาวิทยาลัยบูรพา ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารทั่วไป. ชลบุรี: วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา; 2558.
กนกวรรณ จังอินทร์, สมเดช พินิจสุนทร. พฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์และผลกระทบต่อครอบครัวของผู้ดื่มแอลกอฮอล์ที่เข้าบำบัดในโรงพยาบาลธัญญารักษ์อุดรธานี. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2560;5(3): 487-501.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ประกฎในวารสารศูนย์อนามัยที่ 9 เป็นความคิดเห็นของผู้เขียน บรรณาธิการ คณะผู้จัดทำ และศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา (เจ้าของ) ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ผลการพิจารณาของกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิถือเป็นที่สิ้นสุด คณะบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจแก้ไขข้อความให้ถูกต้องตามหลักภาษาและมีความเหมาะสม
กองบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหาใด ๆ ของบทความ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของผลการประเมินบทความในวารสารฯ ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์อนามัยที่ 9