สุขภาวะผู้สูงอายุตำบลดินดำ อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • แสงดาว จันทร์ดา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น
  • วิทยา วาโย วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น
  • นวลละออง ทองโคตร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น
  • สายใจ คำทะเนตร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น
  • แก้วจิต มากปาน วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น

คำสำคัญ:

ภาวะสุขภาพ, พฤติกรรมเสี่ยง, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวาง เพื่อศึกษาสถานการณ์ ภาวะสุขภาพและพฤติกรรมเสี่ยงของผู้สูงอายุตำบลดินดำ อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น เก็บข้อมูลจากประชากรผู้สูงอายุทั้งหมดในพื้นที่ที่ศึกษา จำนวน 829 คน โดยสัมภาษณ์ผู้สูงอายุหรือผู้ดูแลด้วยแบบสอบถาม  ระหว่าง มกราคม 62 – มกราคม 63 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา

ผลการศึกษาพบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ยังคงประกอบอาชีพ (81.54%) ผู้สูงอายุบางส่วนอยู่เพียงลำพัง (7.36%)  เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง 3 อันดับแรกคือ 1) โรคความดันโลหิตสูง (31.36%) 2) โรคเบาหวาน (16.77%) 3) โรคกระดูกและกล้ามเนื้อ (7.72%) ผู้สูงอายุบางราย รับประทานยาไม่ต่อเนื่อง ไม่ควบคุมอาหารเฉพาะโรค ไปตรวจตามนัดไม่ต่อเนื่อง และมีพฤติกรรมเสี่ยง เช่น ไม่ออกกำลังกาย ไม่ตรวจสุขภาพประจำปี และทำงานหนัก สิ่งแวดล้อมในครัวเรือนมีจุดเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุของผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุมีความต้องการรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับ ข้อมูลงานบุญประเพณี และการดูแลสุขภาพ  

ข้อมูลสถานการณ์ ภาวะสุขภาพและพฤติกรรมเสี่ยงของผู้สูงอายุจะเป็นแนวทางในการออกแบบระบบการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุที่มีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับความต้องการของผู้สูงอายุและครอบครัว

Author Biographies

แสงดาว จันทร์ดา, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ (ด้านการสอน)

วิทยา วาโย, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น

พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ (ด้านการสอน)

นวลละออง ทองโคตร, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ (ด้านการสอน)

สายใจ คำทะเนตร, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ (ด้านการสอน)

แก้วจิต มากปาน, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ (ด้านการสอน)

References

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2561. นครปฐม: บริษัท พริ้นเทอรี่ จำกัด; 2562.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. รายงานการสํารวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ: กองสถิติพยากรณ์ กระทรวงดิจิทัล; 2561.

นภาภรณ์ หะวานนท์, ธีรวัลย์ วรรธโนทัย. ทิศทางใหม่ในการพัฒนาการอยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุ ในสังคมไทย. กรุงเทพฯ: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชมงคลธัญบุรี; 2552.

ประนอม โอทกานนท์. ชีวิตที่สุขสมบูรณ์ของผู้สูงอายุไทย หลักการงานวิจัยและบทเรียนจากประสบการณ์. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2554.

World Health Organization (WHO). NCD global monitoring framework: indicator definitions and specifications. Geneva: World Health Organization; 2014.

ธนันต์ ศุภศิริ, อานนท์ วรยิ่งยง. การสำรวจสถานะสุขภาพและมุมมองด้านสุขภาพของผู้สูงอายุในชุมชน จังหวัดสระบุรี. เวชสารแพทย์ทหารบก 2562;72(3): 193-200.

Nantsupawat W. Elderly Nursing: Challenges for the Elderly Population. 2 nd ed. KhonKaen: printing KhonKaen; 2009.

อัจศรา ประเสริฐสิน, ทัชชา สุริโย, ปพน ณัฐเมธาวิน. สุขภาวะของผู้สูงอายุ: แนวคิดและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง. วารสารสุขศึกษา 2561;41(1): 1-15.

ปราโมทย์ ประสาทกุล. สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2559. นครปฐม: บริษัท พริ้นเทอรี่ จำกัด; 2560.

พิศดี มินศิริ, อัจฉรา สุขสำราญ. การรับรู้ความสามารถตนเองของผู้สูงอายุโรคเรื้อรังในจังหวัดเพชรบุรี. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและกาสาธารณสุขภาคใต้ 2562;6 (Special Issue) :69-79.

ธนันต์ ศุภศิริ, อานนท์ วรยิ่งยง. การสำรวจสถานะสุขภาพและมุมมองด้านสุขภาพของผู้สูงอายุในชุมชน จังหวัดสระบุรี. เวชสารแพทย์ทหารบก 2562;72(3):193-200.

Delon S, Mackinnon B, Alberta Health CDMAC. Alberta’s systems approach to chronic disease management and prevention utilizing the expanded chronic care model. Health Q. 2009 Oct;13 Spec No:98-104.

อุไรวรรณ ชัยชนะวิโรจน์, นิรนาท วิทยโชคกิตติคุณ. พฤติกรรมการใช้ยาในผู้สูงอายุ. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ 2558;9(1):32-46.

สุภัชญา สุนันต๊ะ. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับบทบาทการสร้างเสริมสุขภาพชุมชน. วารสารกฎหมายสุขภาพและสาธารณสุข 2561;4(1):98-107.

พิมพ์พรรณ ศิลปะสุวรรณ. ผู้สูงอายุและความปลอดภัยในชีวิต: ความท้าทายของสังคมไทย. วารสารสาธารณสุขศาสตร์ 2558;45(3): 1-5.

เยาวลักษณ์ คุมขวัญ, อภิรดี คำเงิน, อุษณีย์ วรรณลัย, นิพร ขัดตา. แนวทางการป้องกันการพลัดตกหกล้มที่บ้านในผู้สูงอายุ: บริบทของประเทศไทย. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2561;28(3):10-22.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-11-30