กระบวนการปฏิสัมพันธ์อย่างมีจุดมุ่งหมาย : การประยุกต์ใช้เพื่อการฟื้นสภาพหลังผ่าตัดนิ่วในไต

ผู้แต่ง

  • ชนุกร แก้วมณี วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ https://orcid.org/0000-0003-3521-4431
  • ทัศนีย์ กลิ่นหอม โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

นิ่วในไต, การฟื้นฟูสภาพหลังผ่าตัด, กระบวนการปฏิสัมพันธ์อย่างมีจุดมุ่งหมาย

บทคัดย่อ

ผู้ป่วยโรคนิ่วในไตร่วมกับมีการสูญเสียหน้าที่ของไตที่ได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัดไตออกข้างหนึ่ง เป็นการผ่าตัดใหญ่ซึ่งอาจทำให้เกิดผลกระทบต่อผู้ป่วยทั้งด้านร่างกาย จิตใจและอารมณ์ ซึ่งจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อการฟื้นสภาพหลังผ่าตัด การประยุกต์ใช้ทฤษฎีการพยาบาลที่เหมาะสมในการปฏิบัติการพยาบาลจะทำให้เกิดประโยชน์ต่อผู้ป่วยและเป็นการพัฒนาคุณภาพการพยาบาล บทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอการประยุกต์ใช้กระบวนการปฏิสัมพันธ์อย่างมีจุดมุ่งหมายในการฟื้นสภาพหลังผ่าตัดนิ่วในไตด้วยการตัดไตออก โดยมีเนื้อหาประกอบด้วย โรคนิ่วในไต การรักษา ผลกระทบจากการผ่าตัด การฟื้นสภาพหลังผ่าตัด กระบวนการปฏิสัมพันธ์อย่างมีจุดมุ่งหมาย และกิจกรรมการพยาบาลตามกระบวนการปฏิสัมพันธ์อย่างมีจุดมุ่งหมาย เพื่อให้พยาบาลสามารถเลือกใช้เป็นแนวทางในการวางแผนการพยาบาลเพื่อการฟื้นสภาพหลังผ่าตัดนิ่วไตได้

Author Biographies

ชนุกร แก้วมณี, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์

อาจารย์ สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ

ทัศนีย์ กลิ่นหอม, โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี

หัวหน้าหอผู้ป่วยศัลยกรรมระบบปัสสาวะ

References

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. สถิติสุขภาพ [อินเตอร์เนต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 2563 สิงหาคม 18]. เข้าถึงได้จาก: http://statbbi.nso.go.th/staticreport/page/sector/th/05.aspx

Sritippayawan S, Borvornpadungkitti S, Paemanee A, Predanon C, Susaengrat W, Chuawattana D, et al. Evidence suggesting a genetic contribution to kidney stone in northeastern Thai population. Urol Res 2009;37(3):141-6.

บัญชา สถิระพจน์, ประเจษฏ์ เรืองกาญจนเศรษฐ์, อินทรีย์ กาญจนกุล, อำนาจ ชัยประเสริฐ, อุปถัมภ์ ศุภสินธุ์, พรรณบุปผา ชูวิเชียร, บรรณาธิการ. Essential Nephrology. กรุงเทพฯ: นำอักษรการพิมพ์; 2555.

สันติ โรจน์ศตพงศ์, วัฒนชัย อึ้งเจริญวัฒนา. นิ่วไตและโรคมะเร็งซึ่งพบร่วมกัน: ประสบการณ์ 3 ปีในโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์. สรรพสิทธิประสงค์เวชสาร 2549;27(3-4):187-96.

Kartha G, Calle J, Marchini GS, Monga M. Impact of stone disease: Chronic kidney disease and quality of life. Urologic Clinics of North America 2013; 40(1):135-47. doi: http://dx.doi.org/10.1016/j.ucl.2012.09.004

สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ, พัฒน์พงศ์ นาวิเจริญ, (บรรณาธิการ). ตำราศัลยศาสตร์ ภาค 2. (พิมพ์ครั้งที่ 13). กรุงเทพฯ: บริษัท ไพลินบุ๊คเน็ต จำกัด (มหาชน); 2558.

ชินา บุนนาค. การสำรวจภาวะอ่อนล้าในผู้ป่วยผ่าตัดช่องท้อง [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2547.

Porth CM. Pathophysiology; Concept of altered health status (7thed.) Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins; 2005.

Dunwoody CJ, Krenzischek DA, Pasero C, Rathmell JP, Polomano RC. Assessment, physiological monitoring, and consequences of inadequately treated acute pain. J Perianesth Nurs. 2008;23(1 Suppl):S15-S27. doi:10.1016/j.jopan.2007.11.007

วรนุช ฤทธิธรรม, สมพร ชิโนรส. ผลการให้ข้อมูลเตรียมความพร้อมต่อความวิตกกังวลและความปวดในผู้ป่วยผ่าตัดช่องท้อง. วารสารเกื้อการุณย์ 2555; 19(2):75-87.

สิริอร ข้อยุ่น วริศรา ภู่ทวี, อาภา ศรีสร้อย. ผลของการใช้โปรแกรมการฟื้นตัวหลังผ่าตัดร่วมกับเครื่องพยุงเดินหลังผ่าตัด เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดในผู้ป่วยหลังผ่าตัดช่องท้อง. ศรีนครินทร์เวชสาร 2562; 34(4):378-84.

Allvin R, Berg K, Idvall E, & Nilsson U. Postoperative recovery: A concept analysis. J Adv Nurs. 2007;57(5):552-8. doi:10.1111/j.1365-2648.2006.04156.x

Kluivers, Kirsten B., et al. Systematic review on recovery specific quality-of-life instruments. Surgery 2008; 143(2):206-15.

Wu CL, Richman JM. Postoperative pain and quality of recovery. Current Opinion in Anasesthesiology 2004; 17:455-60.

Myles PS, Weitkamp B, jones K, Melick J, Hensen S. Validity and reliability of postoperative recovery score: the QoR-40. British Journal of Anesthesia 2000; 84(1):11-5. doi.org/10.1093/oxfordjournals.bja.a013366

King IM. A Theory for Nursing: System, Concepts, Process. New York: Wiley Century-Crofts; 1981.

สุมาลี ขัดอุโมงค์, กนกพร สุคำวัง, โรจนี จินตนาวัฒน์. ผลของการพยาบาลตามทฤษฎีความสำเร็จตามจุดมุ่งหมายต่อการฟื้นสภาพหลังผ่าตัดของผู้สูงอายุกระดูกสะโพกหัก. พยาบาลสาร 2552; 36(4):120-32.

Khowaja K. Utilization of King’s interaction systems framework and theory of goal attainment with new multidisciplinary model: Clinical pathway. Australian Journal of Advanced Nursing 2006; 24(2):44-50.

นริสา วงศ์พนารักษ์. ทฤษฎีการพยาบาลของคิง: แนวคิดและการประยุกต์ใช้ในการพยาบาล. วารสารสมาคมพยาบาลฯ สาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2556; 31(4):16-25.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-11-29