ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับทักษะการเรียนรู้ศตวรรษที่ 21 ของผู้เข้าอบรมหลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทาง สาขาการพยาบาลเวชปฏิบัติครอบครัว
คำสำคัญ:
ทักษะการเรียนรู้ศตวรรษที่ 21, ผู้เข้าอบรม, หลักสูตรการพยาบาลเวชปฏิบัติครอบครัวบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาหาความสัมพันธ์ (Correlational descriptive study) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างเพศ อายุ สถานภาพและระดับการศึกษากับทักษะการเรียนรู้ศตวรรษที่ 21 ของผู้เข้าอบรมหลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทาง สาขาการพยาบาลเวชปฏิบัติครอบครัว รุ่นที่ 3 และรุ่น 4 ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ ศึกษาระหว่างมกราคม และพฤษภาคม 2563 กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้เข้าอบรมจำนวน 120 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง โดยประยุกต์แนวคิดทักษะการเรียนรู้ศตวรรษที่ 21 ของ Trilling & Fadel เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป และส่วนที่ 2) แบบประเมินทักษะการเรียนรู้ศตวรรษที่ 21 วิเคราะห์ข้อมูลด้วย จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (92.5%) อายุเฉลี่ยระหว่าง 41–50 ปี (61.67%) สถานภาพคู่ (85.0%) และมีระดับการศึกษาระดับปริญญาตรี (73.33%) ในภาพรวมทักษะการเรียนรู้ศตวรรษที่ 21 อยู่ในระดับสูง (=4.06, SD=0.48) เมื่อพิจารณารายด้าน ด้านที่มีคะแนนมากที่สุดคือ ทักษะด้านอาชีพและทักษะการเรียนรู้ อยู่ในระดับสูง (=4.45, SD=0.51) รองลงมาคือทักษะด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร อยู่ในระดับสูง (=4.31, SD=0.62) และด้านทักษะด้านความร่วมมือ การทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำอยู่ในระดับสูง (=4.29, SD=0.49) ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถนำไปเป็นข้อมูลพื้นฐานนำเข้าในการพัฒนาหลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทางเพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ศตวรรษที่ 21 ส่งเสริมขีดความสามารถของผู้เข้าอบรมให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
References
Oliver JS, Ambrose SM, Wynn SD. Using simulation innovation to facilitate learning nursing concepts: Medical and mental health. Journal of Nursing Education 2011;50: 120.
ชนุกร แก้วมณี. ทักษะศตวรรษที่ 21 ของบัณฑิต วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ 2562;3:11-27.
Heidari MR, Norouzadeh R. Nursing students' perspectives on clinical education. Journal of advances in medical education and professionalism 2015; 3:39-43.
Toelke LD. The clinical nurse Instructor: best practices in orienting newly hired clinical faculty [master’s thesis]. Pullman, WA: Washington State University; 2012.
Boyd P, Lawley L. Becoming a lecturer in nurse education: The work-place learning of clinical experts as newcomers. Learning in Health and Social Care 2009;8:292-300. doi.org/10.1111/j.1473-6861.2009.00214.x
Trilling B, Fadel C. 21st century skills: Learning for life in our times. San Francisco: John Wiley & Sons; 2009.
รุ่งนภา จันทรา, อติญาณ์ ศรเกษตริน. ทักษะการเรียนรู้ศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2560;4:180-90.
วาสนา กีรติจำเริญ, เจษฎา กิตติสุนทร. การศึกษาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษารายวิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้จากการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบ Big five learning. วารสารชุมชนนักวิจัย 2559;10:9-1.
มยุรีย์ ทิพย์ญาณ, วีระวัฒน์ อุทัยรัตน์. รูปแบบการบริหารจัดการศึกษาที่ส่งเสริมพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนเอกชนการกุศล. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย 2563;10:255-67.
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์. สมรรถนะด้านการจัดการดูแลสุขภาพครอบครัว.คู่มือหลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทาง สาขาการพยาบาลเวชปฏิบัติครอบครัว. อุบลราชธานี: วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์; 2562
วิไลลักษณ์ แก้วกระจ่าง. การเพิ่มทักษะการเขียนด้วยชุดแบบฝึกโครงเรื่อง. สุพรรณบุรี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์สุพรรณบุรี; 2557.
อักษราภัค หลักทอง. ความสัมพันธ์ระหว่างการเรียนรู้ด้วยใจผ่านเจตคติต่อการเรียนกับลักษณะความใฝ่รู้เพื่อพัฒนาตนเองของเยาวชนในมหาวิทยาลัย. วารสารศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ 2563;8:22-45.
ณัฐญา หุ่นน้อย. ปัญหาและความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของพนักงานไทย:กรณีศึกษา บริษัท บิซิเนส ออนไลน์ จำกัด (มหาชน). [วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2561.
ปรีดี ปลื้มสำราญกิจ. ปัจจัยที่มีผลต่อทักษะในศตวรรษที่ 21 ของผู้เรียน. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์) 2560;3:141-58.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ประกฎในวารสารศูนย์อนามัยที่ 9 เป็นความคิดเห็นของผู้เขียน บรรณาธิการ คณะผู้จัดทำ และศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา (เจ้าของ) ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ผลการพิจารณาของกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิถือเป็นที่สิ้นสุด คณะบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจแก้ไขข้อความให้ถูกต้องตามหลักภาษาและมีความเหมาะสม
กองบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหาใด ๆ ของบทความ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของผลการประเมินบทความในวารสารฯ ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์อนามัยที่ 9