สถานการณ์ ปัญหา และความต้องการการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวในชุมชน ภายใต้กองทุนระบบการดูแลระยะยาว จังหวัดขอนแก่น
คำสำคัญ:
ปัญหา, ความต้องการ, การดูแลผู้สูงอายุระยะยาว, กองทุนระบบการดูแลระยะยาวบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ปัญหาและความต้องการการดูแลระยะยาวในชุมชนภายใต้กองทุนระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง จังหวัดขอนแก่น เพื่อนำไปสู่การพัฒนานโยบายสาธารณะด้านสุขภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสำรวจ การสังเกต การสัมภาษณ์เจาะลึก การสนทนากลุ่ม และศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง จากผู้สูงอายุจำนวน 4,989 คน ผู้ดูแลผู้สูงอายุ จำนวน 308 คน ผู้จัดการดูแลผู้สูงอายุจำนวน 7 คน ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจำนวน 64 คน และ การสังเกตแบบมีส่วนร่วมในการจัดเวทีแลกเปลี่ยน จำนวน 28 ครั้ง ระยะเวลาตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2560 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา วิเคราะห์ประเด็น และการแจกแจงความถี่ ร้อยละ และ 95% CI
ผลการศึกษาพบว่า 1) สถานการณ์ภาวะพึ่งพิงระยะยาวของผู้สูงอายุในชุมชน พบผู้สูงอายุร้อยละ 66 มีภาวะเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง มีความชุกของการเกิดภาวะพึ่งพิงระยะยาวในผู้สูงอายุ ร้อยละ 10.16 โดยเป็นกลุ่มผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงระยะยาวทั้งหมด ร้อยละ 1.88 ภาวะพึ่งพิงระยะยาวรุนแรง ร้อยละ 2.29 ภาวะพึ่งพิงระยะยาวรุนแรงปานกลาง ร้อยละ 5.99 ด้านความสามารถในการปฏิบัติกิจกรรมเพื่อการดำรงชีวิตอยู่ในชุมชน พบความชุกประมาณร้อยละ 28.36 ที่ไม่สามารถปฏิบัติกิจกรรมได้ตามปกติและมีภาวะสมองเสื่อมประมาณร้อยละ 9.26 2) สถานการณ์ความต้องการของผู้ดูแลในครอบครัว พบว่าผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงระยะยาวในครอบครัวส่วนใหญ่เป็นลูกสาว ร้อยละ 45 รองมาคือภรรยาเกือบร้อยละ 20 ซึ่งมากกว่าครึ่งหนึ่งเป็นผู้สูงอายุโดยร้อยละ 64 เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังและร้อยละ 11 มีความพิการ รวมทั้งพบว่าผู้ดูแลมีคุณภาพชีวิตโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 82 และพบว่าผู้ดูแลมีภาวะเครียดจากการดูแล 3) ภาระงานของผู้จัดการดูแลผู้สูงอายุและความไม่เข้าใจและความไม่ชัดเจนเกี่ยวกับการดำเนินของกองทุนระบบการดูแลระยะยาว เป็นอุปสรรคสำคัญของการขับเคลื่อนการพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวในระยะเปลี่ยนผ่าน
สถานการณ์ปัญหาและความต้องการการดูแลระยะยาวของผู้สูงอายุในชุมชนซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น มีความจำเป็นต่อการพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงระยะยาว ซึ่งต้องอาศัยการสร้างความเข้าใจในการขับเคลื่อนนโยบายการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวสู่การเป็นนโยบายสาธารณะภายใต้ความร่วมมือของภาคีเครือข่ายโดยเฉพาะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานสาธารณสุข เพื่อสนับสนุนให้เกิดระบบการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวที่สอดคล้องกับบริบทและสถานการณ์ของชุมชนเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุในอนาคต
References
สุรเดช ดวงทิพย์สิริกุล และคณะ. รายงานวิจัย การสำรวจสุขภาวะผู้สูงอายุไทย ปี 2556 ภายใต้แผนงานส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุและผู้พิการ. นนทบุรี: กลุ่มอนามัยผู้สูงอายุ สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข; 2556.
WHO. What are the main risk factors for disability in old age and how can disability be prevented. Denmark: WHO; 2003.
Lafortune G, Balestat G. Trends in Severe Disability Among Elderly People: Assessing the evidence in 12 OECD countries and the future implications. OECD Employment, Labour and Social Affairs Committee. Health Working Papers, 0_1; 2007.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. สำมะโนประชากรและเคหะ พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ; 2553.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. รายงานการสำรวจประชากรผู้สูงอายุในประเทศไทยปี พ.ศ. 2550. กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ; 2557.
ศิราณี ศรีหาภาค และคณะ. ผลกระทบและภาระการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวภายใต้วัฒนธรรมไทย. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) กรุงเทพฯ: มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย; 2557.
วิพรรณ ประจวบเหมาะ และคณะ. รายงานการศึกษาโครงการปรับแผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ 2.กรุงเทพฯ: วิทยาลัยประชากรศาสตร์; 2553.
สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ. การพัฒนาระบบการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิง. สมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ; 2552.
สำนักงานหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า. คู่มือระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข สำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในพื้นที่ (Long Term Care) ในระบบหลักประกันสุขภาพแหล่งชาติ ปีงบประมาณ 2559. กรุงเทพฯ: สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ; 2558.
Sihapark S, Kuhirunyaratn P, Chen H. Severe Disability Among Elderly Community Dwellers in Rural Thailand: Prevalence and associated factors. Ageing International 2014;39(3): 210-20. doi: 10.1007/s12126-013-9190-7.
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 7 ขอนแก่น. รายงานผลการดำเนินงานกองทุนดูแลผู้สูงอายุระยะยาว สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 7 ขอนแก่น ปี 2560. ขอนแก่น: สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 7; 2560.
Collin C, Wade DT, Davies S, Horne V. The Barthel ADL Index: a reliability study. Int Disabil Stud 1988; 10(2):61–3. doi:10.3109/09638288809164103.
Jintapunkul S, Kamolratanakul P, Ebrahim S. The Meaning of Activities of Daily Living in a Thai Elderly Population: Development of a new index. Age Ageing 1994; 23(2): 97-101. doi: 10.1093/ageing/23.2.97.
Challis D, Mozley CG, Sutcliffe C, Bagley H, Price L, Burns A, et al. Dependency in Older People Recently Admitted to Care Homes. Age Ageing 2000; 29(3):255-60. doi: 10.1093/ageing/29.3.255.
สุทธิชัย จินตะพันธ์กุล. มุมมองใหม่ของการสร้างเสริมสุขภาพภายใต้ปรากฏการณ์ประชากรผู้สูงอายุ. วารสารพฤฒาวิทยาและเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ 2545; 3(2): 49-62.
Folstein MF, Folstein SE, McHugh PR. Mini-mental State: A practical method for grading the cognitive state of patients for the clinician. J Psychiatr Res 1975;12(3):189–98.
สถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ. แบบทดสอบสมรรถภาพสมองเบื้องต้น ฉบับภาษาไทย MMSE-Thai 2002. นนทบุรี: กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2542.
สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุล และคณะ. แบบวัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อฉบับภาษาไทย. นนทบุรี: กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข; 2540.
สำนักงานปลัดกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. ประชากรสูงอายุไทย: ปัจจุบันและอนาคต. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์; 2557.
Department of Health Ministry of Public Health. Care Manager Training Guidelines. Nonthaburi: Ministry of Public Health; 2015.
สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ. รวมมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 1 - ครั้งที่ 7. นนทบุรี: สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.); 2558.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ประกฎในวารสารศูนย์อนามัยที่ 9 เป็นความคิดเห็นของผู้เขียน บรรณาธิการ คณะผู้จัดทำ และศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา (เจ้าของ) ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ผลการพิจารณาของกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิถือเป็นที่สิ้นสุด คณะบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจแก้ไขข้อความให้ถูกต้องตามหลักภาษาและมีความเหมาะสม
กองบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหาใด ๆ ของบทความ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของผลการประเมินบทความในวารสารฯ ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์อนามัยที่ 9