กระบวนการส่งเสริมการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างผู้สูงอายุกับผู้ดูแล ในการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมภายในและภายนอกบ้านของผู้สูงอายุจังหวัดร้อยเอ็ด และจังหวัดเลย

ผู้แต่ง

  • จริยา อินทรรัศมี ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น

คำสำคัญ:

การเรียนรู้ร่วมกัน, ผู้สูงอายุ, ผู้ดูแล, สิ่งแวดล้อม

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสถานการณ์สิ่งแวดล้อมภายในและภายนอกบ้านของผู้สูงอายุ (2) เปรียบเทียบอุบัติเหตุของผู้สูงอายุก่อนและหลังดำเนินการวิจัย (3) เปรียบเทียบคะแนนความรู้ในการจัดการสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมของผู้สูงอายุและผู้ดูแล ก่อนและหลังดำเนินการวิจัย และ (4) ศึกษากระบวนการการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างผู้สูงอายุกับผู้ดูแลในการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมภายในและภายนอกบ้านของผู้สูงอายุ โดยใช้แบบสำรวจ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม และการสนทนากลุ่ม กลุ่มตัวอย่างได้แก่ผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปที่เป็นกลุ่มติดสังคมและกลุ่มติดบ้านจำนวน 618 คน ผู้ดูแลจำนวน 319 คน บ้านผู้สูงอายุจำนวน 725 หลังคาเรือนในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ดและจังหวัดเลย  สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ค่าร้อยละ การทดสอบที (t-test) และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า บ้านผู้สูงอายุมีส้วมเป็นแบบนั่งยองไม่มีราวจับ ร้อยละ 70.9 ภายในห้องน้ำไม่มีราวจับ ร้อยละ 98.5 อุบัติเหตุที่เกิดมากที่สุดกับผู้สูงอายุคือ การหกล้ม ร้อยละ 70.0 อุบัติเหตุส่วนใหญ่เกิดในห้องนอน ร้อยละ 30.9 กระบวนการการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างผู้สูงอายุและผู้ดูแลในการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมภายในและภายนอกบ้านประกอบด้วยกิจกรรม (1) การสนทนากลุ่มกับผู้สูงอายุและผู้ดูแล (2) การสนทนากลุ่มกับอาสาสมัครสาธารณสุข เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (3) การประชุมกับผู้เกี่ยวข้องเพื่อนำเสนอผลการวิจัยในระยะแรก (4) การจัดประชุมการวางแผนแบบมีส่วนร่วม (AIC: Appreciation Influence and Control ) (5) การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องการจัดสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมของผู้สูงอายุสำหรับผู้ดูแล (6) การอบรมให้ความรู้การจัดสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมของผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุ และ (7) การจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องระดับเขต ผลการเปรียบเทียบความรู้ในการจัดการสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมของผู้สูงอายุและผู้ดูแลก่อนและหลังทำการวิจัย พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.00) การวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะให้ผู้สูงอายุและผู้ดูแลมีบทบาทสำคัญในการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมภายในและภายนอกบ้านโดยควรมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้การสนับสนุน

Author Biography

จริยา อินทรรัศมี, ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น

นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการพิเศษ 

References

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. รายงานการสำรวจสุขภาวะผู้สูงอายุไทย ปี 2556 ภายใต้แผนงานส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุและผู้พิการ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์วัชรินทร์ พี. พี.; 2556.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. ยากันล้ม คู่มือป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย; 2558.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. รายงานการสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2550. กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ; 2551.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2552. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย; 2553.

ไตรรัตน์ จารุทัศน์. คู่มือการจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมและปลอดภัยสำหรับผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: สำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส และผู้สูงอายุ; 2553.

อังศินันท์ อินทรกำแหง. การเรียนรู้ร่วมกันสู่ความสำเร็จตามเป้าหมาย. วารสารพฤติกรรมศาสตร์ 2547;10(1):52-8.

ละออม สร้อยแสง, จริยาวัตร คมพยัคฆ์, กนกพร นทีธนสมบัติ. การศึกษาแนวทางการป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุชุมชนมิตรภาพพัฒนา. วารสารพยาบาลทหารบก 2557;15(1):122-9.

นอรีนี ตะหวา, ปวิตร ชัยวิสิทธิ์. การจัดการสภาพแวดล้อมและที่พักอาศัยสาหรับผู้สูงอายุในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารวิชาการ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย 2559;5(1):31-9.

กิตติวงค์ สาสวด. ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในจังหวัดภาคตะวันออก. วารสารชุมชนวิจัย 2560;11(2): 21-38.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-02-04