ความรู้และพฤติกรรมการป้องกันอันตรายต่อสุขภาพ จากการเก็บและขนมูลฝอยติดเชื้อของพนักงานเก็บและขนมูลฝอยติดเชื้อ ในบริษัทเอกชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี
คำสำคัญ:
มูลฝอยติดเชื้อ, พนักงานเก็บและขนมูลฝอย, อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้และพฤติกรรมการสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล และศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลของพนักงานเก็บและขนมูลฝอยติดเชื้อจำนวน 52 คนจากบริษัทเอกชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เข้ามาดำเนินการเก็บและขนมูลฝอยติดเชื้อในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และแบบสังเกต วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ และ One-way ANOVA ที่ระดับ p=0.05
ผลการศึกษาพบว่าพนักงานเก็บและขนมูลฝอยติดเชื้อมีความรู้เกี่ยวกับการเก็บและขนมูลฝอยติดเชื้อในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( =2.78, SD=1.56) และมีคะแนนพฤติกรรมการสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( =3.26, SD=0.76) โดยพบว่าผู้ที่มีประวัติผ่านการฝึกอบรมการป้องกันและระงับการแพร่เชื้อหรืออันตรายที่อาจเกิดจากมูลฝอยติดเชื้อ มีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลสูงกว่ากลุ่มที่ไม่เคยผ่านการฝึกอบรม พฤติกรรมการสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่พบว่าพนักงานเก็บและขนมูลฝอยติดเชื้อสามารถปฏิบัติได้อย่างถูกต้องทั้งหมดคือการสวมใส่ถุงมือยางหนาขณะปฏิบัติงาน และพฤติกรรมการเก็บและขนมูลฝอยติดเชื้อของพนักงานเก็บและขนมูลฝอยติดเชื้อที่สามารถปฏิบัติได้อย่างถูกต้องทั้งหมดมี 3 พฤติกรรมได้แก่ 1) เก็บขนมูลฝอยติดเชื้ออย่างถูกวิธี 2) ไม่หยอกล้อหรือเล่นกับเพื่อนร่วมงานขณะปฏิบัติงาน และ 3) ไม่สูบบุหรี่ขณะปฏิบัติงาน นอกจากนี้ พบว่า พนักงานเก็บและขนมูลฝอยติดเชื้อกลุ่มที่มีอายุ 19-30 ปี มีค่าคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลน้อยกว่ากลุ่มอายุ 31-40 ปี และ 41-50 ปี พนักงานเก็บและขนมูลฝอยติดเชื้อ กลุ่มที่มีอายุงานน้อยกว่า 1 ปี มีค่าคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลน้อยกว่ากลุ่มที่มีอายุงาน 1-5 ปี และมากกว่า 5 ปีขึ้นไป และ พนักงานเก็บและขนมูลฝอยติดเชื้อที่มีระดับความรู้แตกต่างกันมีพฤติกรรมการสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลแตกต่างกัน
References
กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. สถิติสาธารณสุข พ.ศ. 2561 [อินเตอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 2563 ตุลาคม 22]. เข้าถึงได้จาก: https://bps.moph.go.th/new_bps/sites/default/files/statistic%2061.pdf
กฎกระทรวงวาด้วยการกําจัดมูลฝอยติดเชื้อ พ.ศ. 2545. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 119, ตอนที่ 86ก (ลงวันที่ 5 กันยายน 2545) [เข้าถึงเมื่อ 2563 ตุลาคม 22]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ibc.research.chula.ac.th/ibc2560/menu/foms60/05092545.PDF
กองแผนงาน กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. รายงานประจำปี กรมอนามัย พ.ศ. 2560 [อินเตอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 2563 ตุลาคม 22]. เข้าถึงได้จาก: http://planning.anamai.moph.go.th/main.php?filename=doh_data_AnnualReport
สุคนธ์ เจียสกุล, สสิธร เทพตระการพร. ผลกระทบต่อสุขภาพเนื่องจากอันตรายจากมูลฝอยติดเชื้อ. วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม 2544; 24(4): 101-12.
สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการฝึกอบรมผู้ปฏิบัติงานมูลฝอยติดเชื้อ หลักสูตรการป้องกันและระงับการแพร่เชื้อ หรืออันตรายที่อาจเกิดจากมูลฝอยติดเชื้อ [อินเตอร์เน็ต]. พิมพ์ครั้งที่ 5, 2559 [เข้าถึงเมื่อ 2563 ตุลาคม 22]. เข้าถึงได้จาก: http://env.anamai.moph.go.th/ewt_dl_link.php?nid=542
Bloom BS. Handbook on formation and Summative Evaluation of Student Learning. New York: McGraw-Hill; 1971.
ไพรวัลย์ โพธิใหญ่, นิรวรรณ แสนโพธิ์. การศึกษาสถานการณ์การจัดการมูลฝอยติดเชื้อ โรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข เขตจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2552.
ประชุมพร กวีกรณ์. นวรถฤดี กุลวิเศษณ์. อำนาจ เหมลา. การพัฒนารูปแบบการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ จังหวัดยโสธร. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2560; 5(4): 703-28.
พูนพนิต โอ่เอี่ยม. พฤติกรรมการจัดการขยะติดเชื้อของบุคลากรและเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลสมุทรสาคร. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 2556; 24(4):126-34.
จอมจันทร์ นทีวัฒนา. ความรู้และพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยติดเชื้อในสถานพยาบาลภาครัฐ. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2555; 5(3): 47-56.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ประกฎในวารสารศูนย์อนามัยที่ 9 เป็นความคิดเห็นของผู้เขียน บรรณาธิการ คณะผู้จัดทำ และศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา (เจ้าของ) ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ผลการพิจารณาของกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิถือเป็นที่สิ้นสุด คณะบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจแก้ไขข้อความให้ถูกต้องตามหลักภาษาและมีความเหมาะสม
กองบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหาใด ๆ ของบทความ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของผลการประเมินบทความในวารสารฯ ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์อนามัยที่ 9