ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเลือกใช้สมาร์ทโฟนของนิสิตสาขาอนามัยชุมชน มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในภาคเหนือ

ผู้แต่ง

  • สิริวัฒน์ ไพรสง่า คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • เนตติกา วงษ์แสน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • นิศาชล บุญวิศิษฏ์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • ศลธิญา โพธิ์ศรีทรัพย์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • ศุภากร วารี คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • สกุณา แต้มทอง คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • นิจจารีย์ โพธิ์พล คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • ปริญากร กงเกตุ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • ณรงค์ ใจเที่ยง คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา

คำสำคัญ:

การใช้สมาร์ทโฟน, นักศึกษา, การศึกษาปัจจัย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเลือกใช้สมาร์ทโฟนของนิสิตสาขาอนามัยชุมชน  มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในภาคเหนือ โดยศึกษากับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 280 คน โดยการสุ่มอย่างง่าย (Sample random sampling) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ที่มีค่าความสอดคล้องระหว่างคำถามกับวัตถุประสงค์หรือนิยาม (IOC) เท่ากับ 0.836 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยความถี่ ร้อยละ และค่าสถิติไคสแควร์

ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 88.2) มีอายุต่ำกว่า 20 ปี (ร้อยละ 93.2) เป็นนิสิตสาขาวิชาอนามัยชุมชน (ร้อยละ 80.0) ค่าใช้จ่ายที่ได้รับต่อเดือนน้อยกว่า 5,000 บาท (ร้อยละ 51.4) มีเกรดเฉลี่ยสะสม 3.01-3.50 (ร้อยละ 47.1) ส่วนใหญ่ใช้สมาร์ทโฟน (ร้อยละ 41.8) ระบบปฏิบัติการที่ใช้ คือ Android (ร้อยละ 57.1) ใช้เครือข่าย AIS (ร้อยละ 50.4) การใช้งานอินเตอร์เน็ตโดยรวมต่อวัน 10-15 ชั่วโมง/วัน (ร้อยละ 42.5) ส่วนใหญ่มีสมาร์ทโฟนใช้ 1 เครื่อง (ร้อยละ 78.6) ไม่มีโรคประจำตัว (ร้อยละ 92.5) มีความรู้เกี่ยวกับการเลือกใช้สมาร์ทโฟนระดับสูง (ร้อยละ 95.7) มีทัศนคติต่อการเลือกใช้สมาร์ทโฟนในระดับปานกลาง (ร้อยละ 52.9) ได้รับผลกระทบในการเลือกใช้สมาร์ทโฟนในระดับปานกลาง (ร้อยละ 46.4) การวิเคราะห์ความสัมพันธ์พบว่า ค่าใช้จ่ายที่ได้รับต่อเดือน เกรดเฉลี่ย ยี่ห้อสมาร์ทโฟน ระบบปฏิบัติการที่ใช้ ความถี่ในการใช้สมาร์ทโฟน จำนวนสมาร์ทโฟนที่ใช้ โรคประจำตัว และทัศนคติ มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับพฤติกรรมการเลือกใช้สมาร์ทโฟนของนิสิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value ≤ 0.05) ส่วนปัจจัยด้านเพศ อายุ แผนการศึกษา การใช้หรือไม่ใช้สมาร์ทโฟน เครือข่ายที่ใช้ ความรู้ และผลกระทบในการใช้สมาร์ทโฟนไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเลือกใช้สมาร์ทโฟน

References

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. สมาร์ทโฟน [อินเตอร์เน็ต]. 2555. [เข้าถึงเมื่อ 2563 ตุลาคม 18] เข้าถึงได้จาก: http://www.thaiglossary.org/node/59286

Tindell DR, Bohlander RW. The Use and Abuse of Cell Phones and Text Messaging in the Classroom: A Survey of College Students. College Teaching 2012; 60(1): 1-9. doi: 10.1080/87567555.2011.604802

กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักสถิติพยากรณ์ สำนักงานสถิติแห่งชาติ. แนวโน้มคนไทยใช้สมาร์ทโฟนมากขึ้น [อินเตอร์เน็ต]. มปป. [เข้าถึงเมื่อ 2563 ตุลาคม 18]. เข้าถึงได้จาก: http://www.nso.go.th/sites/2014/Pages/ActivityNSO/A24-05-60.aspx

Krejcie RV, Morgan DW. Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement 1970; 30(3):607-10.

ศักดิกร สุวรรณเจริญ, สุพัตรา ธรรมาอินทร์, สุวัฒนา เกิดม่วง, อังค์ริสา พินิจจันทร์, พรเลิศ ชุมชัย. พฤติกรรมและผลกระทบจากการใช้สมาร์ทโฟนของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย จังหวัดนนทบุรี. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2562; 29(3): 107-17

นัฐพล ปันสกุล, ศุภกาญจน์ แก่นท้าว. ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนและภาวะสุขภาพของนิสิตมหาวิทยาลัยรัฐแห่งหนึ่ง. วารสาร มฉก.วิชาการ 2562; 23(2): 279-91.

ธัญธัช วิภัติภูมิประเทศ. พฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนในชั้นเรียนของนักศึกษามหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. วารสารสุทธิปริทัศน์ 2559; 30(95): 48-58.

เอื้อมทิพย์ ศรีทอง. พฤติกรรมการใช้โทรศัพท์มือถือของนักศึกษา สาขาสังคมศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี. วารสารมหาจุฬาวิชาการ 2562; 6(ฉบับพิเศษ): 26-38.

วิไลลักษณ์ บุญยัง, วงศ์ธีรา สุวรรณิน, บุญเรือง ศรีเหรัญ. ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสมาร์ทโฟน ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ 2558; 5(1): 1-17.

ศักดิ์ดา เกิดการ. ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกซื้อโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบสมาร์ทโฟนของประชาชนในจังหวัดปทุมธานี. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา 2559; 10(1): 58-70.

เบญจภรณ์ ขวัญสมคิด, ปวรวรรณ พันแจ่ม. พฤติกรรมการใช้โทรศัพท์มือถือ Smartphone และการใช้เวลาของนักศึกษาคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี [จุลนิพนธ์หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิตย์ สาขาวิชาการจัดการธุรกิจทั่วไป]. เพชรบุรี: มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี; 2555.

วีระศักดิ์ ต๊ะปัญญา, รุ้งทิพย์ พันธุเมธากุล. ความชุกและปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อในคนที่ใช้สมาร์ทโฟน. วารสารกายภาพบำบัด 2562; 41(3): 148-63.

เมธาวี จำเนียร, กรกฎ จำเนียร. ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมของนักเรียน จังหวัดนครศรีธรรมราช ในการใช้สื่อออนไลน์ในการเรียน. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ 2561; 12(2): 188-95.

อรวรรณ ปิลันธน์โอวาท. การสื่อสารเพื่อการโน้มน้าวใจ. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2554.

วริศรา สอนจิตร, ขวัญกมล ดอนขวา. ความตั้งใจซื้อสินค้าหรือบริการออนไลน์ผ่านสมาร์ทโฟน. วารสารชุมชนวิจัย 2559; 10(1), 45-52.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-02-21