การพัฒนารูปแบบและกระบวนการดำเนินงานอนามัยแม่และเด็กของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดนครสวรรค์

ผู้แต่ง

  • สุมาลี กลิ่นแมน สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครสวรรค์
  • ธัญยธรณ์ รุจิรัตน์ธีรกุล สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครสวรรค์

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบและกระบวนการดำเนินงาน, อนามัยแม่และเด็ก, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการดำเนินงานอนามัยแม่และเด็กของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน พัฒนารูปแบบและกระบวนการดำเนินงาน และประเมินผลการพัฒนารูปแบบ กลุ่มตัวอย่างคือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ด้านอนามัยแม่และเด็ก จำนวน 80 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองจำนวน 40 คน และกลุ่มควบคุมจำนวน 40 คน โดยกลุ่มทดลองเข้าร่วมโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นเป็นเวลา 9 สัปดาห์ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบวัดความรู้ จำนวน 20 ข้อ แบบวัดเจตคติ จำนวน 20 ข้อ และแบบวัดการปฏิบัติ จำนวน 20 ข้อ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถึ่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐาน ด้วย paired t-test และ One-way ANOVA

ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (95.0%) อายุ 40-59 ปี (70.0%) อายุเฉลี่ย 46.1 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา (52.5%) อาชีพเกษตรกรรม (67.5%) ด้านการพัฒนารูปแบบและกระบวนการดำเนินงานอนามัยแม่และเด็กของ อสม. โดยรวมมีความเหมาะสมระดับมาก (gif.latex?\bar{X}=4.50, SD=0.334) โดยมีด้านการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติ มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{X}=4.61, SD=0.397) รองลงมาเป็นด้านการมีส่วนร่วมรับรู้ปัญหา (gif.latex?\bar{X}=4.50, SD=0.375) ด้านการมีส่วนร่วมในการติดตามประเมินผล (gif.latex?\bar{X}=4.50, SD=0.395) และด้านการมีส่วนร่วมในการคิดวิเคราะห์ (gif.latex?\bar{X}=4.39, SD=0.397) ตามลำดับ การประเมินผลการพัฒนารูปแบบและกระบวนการดำเนินงานหลักการทดลองพบว่า ระดับความรู้และระดับการปฏิบัติหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 การเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มพบว่า ความรู้และเจตคติของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

การพัฒนารูปแบบและกระบวนการดำเนินงานอนามัยแม่และเด็กของอสม.จังหวัดนครสวรรค์ มีประสิทธิผลเหมาะสมในการเสริมสร้างความรู้ เจตคติ และการปฏิบัติในการดำเนินงานอนามัยแม่และเด็กของ อสม.จึงควรนำรูปแบบและกระบวนการดำเนินงาน ไปใช้เพื่อการสร้างแนวทางในการพัฒนางานอนามัยแม่และเด็กต่อไป

Author Biographies

สุมาลี กลิ่นแมน, สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครสวรรค์

นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการพิเศษ

ธัญยธรณ์ รุจิรัตน์ธีรกุล, สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครสวรรค์

นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ

References

สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. แผนปฏิบัติการกลุ่มวัยกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2563-2565. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: กองบริหารการสาธารณสุข; 2563.

สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. รายงานประจำปี 2562. กรุงเทพฯ: อมริทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง; 2563.

กระทรวงสาธารณสุข. HDC- Dashboard [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 2563 เมษายน 9]. เข้าถึง ได้จาก: https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/page.php?cat_id=1ed90bc32310b503b7ca9b32af425ae5

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครสวรรค์. สรุปผลการปฏิบัติงานสาธารณสุขจังหวัดนครสวรรค์ ประจำปีงบประมาณ 2562 :เอกสารอัดสำเนา; 2562

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. หลักสูตรฝึกบรม อสม. นักจัดการสุขภาพชุมชนตามกลุ่มวัยในตำบลจัดการสุขภาพแบบบูรณาการ [อินเตอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน; 2556 [เข้าถึงเมื่อ 2563 พฤษภาคม 6]. เข้าถึงได้จาก: https://www.chiangmaihealth.go.th/cmpho_web/document/170113148429750584.pdf

เพ็ญแข แสงแก้ว. การวิจัยทางสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2541.

ศิรวิทย์ กุลโรจนภัทร. การเรียนการสอนออนไลน์ ในรายวิชา ระเบียบวิธีวิจัยฯ หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพัฒนาในวันอาทิตย์ที่ 24 พฤษภาคม 2563. [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 2563 มิถุนายน 23]. เข้าถึงได้ จาก https://grad.ssru.ac.th/news/view/2505256311

ล้วน สายยศ, อังคณา สายยศ. เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น; 2538.

บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. การวิจัย การวัดและประเมินผล. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ศรีอนันต์; 2543.

ทิศนา แขมมณี. ศาสตร์การสอน: องค์การเรียนรู้เพื่อการจัดกะบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: ด่านสุทธิการพิมพ์; 2550.

กรมสุขภาพจิต. คู่มือการฝึกอบรมแบบมีส่วนร่วม. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2540.

ชาญชัย จิวจินดา. รูปแบบการพัฒนาอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วม. Journal of Administrative and Management 2018; 6(2): 1-9.

พิไลรัตน์ บุญวิวัฒน์. ประสิทธิผลของการใช้โปรแกรมการอบรมเชิงปฏิบัติการการป้องกันการตั้งครรภ์วัยรุ่นสําหรับอาสาสมัครสาธารณสุข จังหวัดสมุทรสาคร. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2558;24 (1): 24-32

ทัศนีย์ อนันทวัน, สงครามชัย ลีทองดี, ชาญชัยณรงค์ ทรงคาศรี. รูปแบบการดำเนินงานดูแลสุขภาพผู้สูงอายุโดยเครือข่ายชุมชน ตำบลโนนศิลา อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวิชาการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น 2559; 23 (2): 60-68.

ยุทธนา แยบคาย. ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามมาตรฐานงานสาธารณสุขมูลฐานของอสม. จังหวัดสุโขทัย. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ 2561; 19 (3): 145-55.

สัญญา ยือราน, ศิวิไลซ์ วนรัตน์วิจิตร. การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม สู่ความสำเร็จการเปลี่ยนแปลงนโยบายในระบบสุขภาพ. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2561; 5(2): 288-300.

พิทยา ทองหนูนุ้ย. กระบวนการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุโดยชุมชน. ในฐานข้อมูลวิชาการ สาธารณสุขจังหวัดพัทลุง, มหกรรมวิชาการเขตสุขภาพที่ 12 ประจำปี 2561; วันที่ 15 - 17 สิงหาคม 2561; ณ โรงแรมศิวา รอยัล อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง; ผลงานวิชาการ R2R : Oral presentation, สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพัทลุง; 2561.

ณฐนนท บริสุทธิ์. สถานการณ์และทิศทางการพัฒนาอสม. ในยุคประเทศไทย 4.0. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: กลุ่มพัฒนาสุขภาพภาคประชาชนกองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ; 2563.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-03-01