การประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร และแนวทางการลดการปล่อย ก๊าซเรือนกระจกของโรงพยาบาลราชพิพัฒน์ สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • ภัทราภรณ์ ศรีอภัย โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร
  • วิสาขา ภู่จินดา คณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

คำสำคัญ:

คาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร, ค่าคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า, การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กรและเสนอแนวทางการลด
การปล่อยก๊าซเรือนกระจกของโรงพยาบาลราชพิพัฒน์ สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสำรวจ แหล่งที่มา และกิจกรรมที่ก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ในปีงบประมาณ 2562 (ต.ค.61-ก.ย. 62) และสัมภาษณ์บุคลากรของโรงพยาบาลที่เกี่ยวข้องจำนวน 7 คน โดยมีการคำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นท์เป็นค่าคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (CO2eq) ที่เกิดจากกิจกรรมการดำเนินงานขององค์กรที่ก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ตามแนวทางการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กรขององค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน)

ผลการศึกษาพบว่า ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของโรงพยาบาลราชพิพัฒน์ในปีงบประมาณ2562 เท่ากับ 2,027.82 ตัน CO2eq ต่อปี แบ่งออกเป็นประเภทที่ 1 การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางตรงขององค์กร เท่ากับ 592.97 ตัน CO2eq ต่อปี ประเภทที่ 2 การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมจากการใช้พลังงานขององค์กร เท่ากับ 982 ตัน CO2eq ต่อปี ประเภทที่ 3 การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมอื่นๆ เท่ากับ 271.67 ตัน CO2eq ต่อปี และประเภทที่รายงานแยกเพิ่มเติม เท่ากับ 181.18 ตัน CO2eq ต่อปี ซึ่งประเภทที่ 2 มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 48.43 ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดรองลงมาเป็นประเภทที่ 1 ร้อยละ 29.24 ประเภทที่ 3 ร้อยละ 13.40 และประเภทที่รายงานแยกเพิ่มเติม ร้อยละ 8.93 ตามลำดับ แนวทางการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของโรงพยาบาลราชพิพัฒน์ ได้แก่ 1) ขับเคลื่อนการดำเนินการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในทุกกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง 2) บริหารจัดการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกแบบครบวงจร 3) พัฒนาบุคลากรให้มีความรู้และทักษะการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร 4) สื่อสารข้อมูลให้บุคลากรและประชาชนที่มารับบริการทราบ และ 5) ส่งเสริมให้บุคลากรคิดค้นเทคโนโลยีการจัดการและอนุรักษ์พลังงาน

Author Biographies

ภัทราภรณ์ ศรีอภัย, โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร

นักวิชาการสุขาภิบาลปฏิบัติการ

วิสาขา ภู่จินดา, คณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

ศาสตราจารย์

References

พรพรรณ สอนเชื้อ. การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศกับโรคติดเชื้อ. ธรรมศาสตร์เวชสาร 2560;17(3):440-7.

องค์การบริการจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน). คาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร [อินเตอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 2562 กันยายน 29]. เข้าถึงได้จาก: http://thaicarbonlabel.tgo.or.th/index.php?lang=TH&mod=YjNKbllXNXBlbUYwYVc5dVgybHo

Ministry of Natural Resources and Environment – Policy Formulation and National Focal Point. Thailand Third Biennial Update Report [Internet]. 2020 [cited 2021 Feb 3]. Available from: https://unfccc.int/sites/default/files/resource/BUR3_Thailand_251220%20.pdf

สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. สถานบริการสาธารณสุขกับการประเมิน Carbon Footprint. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ; 2557.

Intergovernmental Panel on Climate Change (IPCC). Anthropogenic and Natural Radiative Forcing [Internet]. 2014 [cited 2019 Mar 20]. Available from: https://www.ipcc.ch/report/ar5/wg1/anthropogenic-and-natural-radiative-forcing/

กลุ่มงานอนามัยสิ่งแวดล้อม สถาบันพัฒนาสุขภาวะเขตเมือง กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือแนวทางการดำเนินงาน Bangkok GREEN & CLEAN Hospital Plus (BKKGC+). กรุงเทพฯ: หจก.รักดี กราฟฟิก แอนด์ ดีไซน์ (2007); 2561.

องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน). แนวทางการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: บริษัท พีทู ดีไซน์ แอนด์ พริ้นท์ จำกัด; 2561.

องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน). ค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Emission Factor) รวบรวมมาจากข้อมูลทุติยภูมิสำหรับการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร [อินเตอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 2562 ธันวาคม 24]. เข้าถึงได้จาก: http://localcfo.tgo.or.th/uploads/docs/20200311130041.pdf

องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน). ค่า Emission Factor โดยแบ่งตามประเภทกลุ่มอุตสาหกรรม[อินเตอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 24 ธันวาคม 2562]. เข้าถึงได้จาก: http://thaicarbonlabel.tgo.or.th/admin/uploadfiles/emission/ts_f2e7bb377d.pdf

Intergovernmental Panel on Climate Change (IPCC). Changes in Atmospheric Constituents and in Radiative Forcing Chapter 2 [Internet]. 2012 [cited 2019 Mar 20]. Available from: https://www.ipcc.ch/site/assets/uploads/2018/02/ar4-wg1-chapter2-1.pdf

เชาว์ สุนทรศารทูล. เปรียบเทียบข้อแตกต่างระหว่าง แอร์น้ำยา R32 กับน้ำยา R410a และ R22 [อินเตอร์เน็ต]. 2559 [เข้าถึงเมื่อ 19 มีนาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก: http://www.vrvclub.com/

รุ่งทิวา พงษ์อัคคศิรา และคณะ. การประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ในศูนย์โรคหัวใจสมเด็จพระบรมราชินีนาถโรงพยาบาลศิริราช. [อินเตอร์เน็ต]. 2557 [เข้าถึงเมื่อ 24 กันยายน 2562]. เข้าถึงได้จาก: https://www.stou.ac.th/thai/grad_stdy/Masters/%E0%B8%9D%E0%B8%AA%E0%B8%AA/research/5nd/FullPaper/ST/Oral/O-ST%20008%20นางสาวรุ่งทิวา%20%20พงษ์อัคคศิรา.pdf

พรทิวา บริบูรณ์. การประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและแนวทางการลดการลดการปล่อยของโรงพยาบาลโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา. [อินเตอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 24 กันยายน 2562]. เข้าถึงได้จาก: http://ethesisarchive.library.tu.ac.th/thesis/2015/TU_2015_5417030276_2986_2569.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-03-01