การพัฒนาระบบการคัดแยกประเภทผู้ป่วย งานผู้ป่วยนอกและอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลโชคชัย

ผู้แต่ง

  • เทพีรัตน์ เทศประสิทธิ์ โรงพยาบาลโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา

คำสำคัญ:

การคัดแยกประเภทผู้ป่วย, MOPH ED TRIAGE, คัดแยกต่ำกว่าเกณฑ์, คัดแยกสูงกว่าเกณฑ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action research)  เพื่อพัฒนาระบบการคัดแยกประเภทผู้ป่วยและศึกษาประสิทธิผลของการพัฒนาระบบคัดแยกประเภทผู้ป่วยของงานผู้ป่วยนอกและอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลโชคชัย ระหว่างเดือนมกราคม ถึง กรกฎาคม 2563 โดยผู้วิจัยได้นำแนวคิดในการพัฒนาคุณภาพต่อเนื่องตามกรอบเดมมิ่ง กลุ่มเป้าหมายในการศึกษา คือบุคลากรที่ปฏิบัติงานในงานผู้ป่วยนอกและอุบัติเหตุฉุกเฉิน จำนวน 28 คน และข้อมูลผู้ป่วยในเวชระเบียนที่มารับบริการที่งานผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยห้องอุบัติเหตุฉุกเฉิน ระหว่างเดือนมีนาคม ถึง มิถุนายน 2563 จำนวน 520 แฟ้ม โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการทำวิจัยและรวบรวมข้อมูล ได้แก่ การคัดแยกประเภทผู้ป่วยตาม MOPH ED TRIAGE ของกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข แบบตรวจสอบคุณภาพการคัดแยกประเภทผู้ป่วยที่ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม และตรวจสอบคุณภาพการคัดแยกประเภทผู้ป่วย วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณาโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปและใช้สถิติ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยการคัดแยกประเภทผู้ป่วยในช่วงปรับกระบวนการใหม่ระหว่างเดือนมีนาคม ถึง มิถุนายน 2563 พบว่า มีการคัดแยกถูกต้อง ร้อยละ 69.2, 75.4, 77.7 และ 85.4 ตามลำดับ มีการคัดแยกไม่ถูกต้องร้อยละ 30.8, 24.6, 22.3 และ 14.6 ตามลำดับ มีการคัดแยกต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด (Under triage) ร้อยละ 23.9, 18.4, 17.6 และ 13.1 ตามลำดับ มีการคัดแยกสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด (Over triage) ร้อยละ 6.9, 6.2, 4.6 และ 1.5 ตามลำดับ ผู้ป่วยได้รับการตรวจตามประเภทความรุนแรงร้อยละ 83.1, 82.3, 86.2 และ 85.4 ตามลำดับ ไม่ได้รับการตรวจตามประเภทความรุนแรงร้อยละ 16.9, 17.7, 13.8 และ 14.6 ตามลำดับ

Author Biography

เทพีรัตน์ เทศประสิทธิ์, โรงพยาบาลโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ กลุ่มการพยาบาล

References

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. เกณฑ์การคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉินและจัดลำดับบริบาล ณ. ห้องฉุกเฉินตามหลักเกณฑ์ที่กพฉ.กำหนด (ฉบับที่1). กรุงเทพฯ: สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. 2556.

รังสฤษฎ์ รังสรรค์. การคัดกรองผู้ป่วยด้วยระบบ Emergency Severity Index (ESI) [อินเทอร์เน็ต]. 2555 [เข้าถึงเมื่อ 6 พ.ย. 2562]. เข้าถึงได้จาก: http://ergoldbook.blogspot.com/2012/10/emergency-severity- index-esi.html

Christ M, Goransson F, Winter D, Bingisser R, Platz E. Modern triage in the emergency department. Dtsch Arztebl Int 2010; 107(50): 892-8. doi: 10.3238/arztebl.2010.0892.

สำนักวิชาการแพทย์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. MOPH ED. Triage. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข. 2561.

Paul A. The Deming Cycle [Internet]. 1998 [cited 2019 Nov 6]. Available from: http://www.balancedscorecard.org/bkgd/pdca.html

อรวรรณ ฤทธิ์อินทรางกูร, วรวุฒิ ขาวทอง, ปารินันท์ คงสมบรูณ์, สมศรี เขียวอ่อน. การพัฒนาระบบการคัดแยกผู้ป่วยอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์. วารสารกรมทางแพทย์ 2561; 43(2):146-51.

สุปิยา ชัยพิสุทธิ์สกุล, วลีรัตน์ ปุเลทะตัง. การพัฒนาระบบการคัดกรองผู้ป่วยให้มีประสิทธิภาพโรงพยาบาลนาเชือก [อินเทอร์เน็ต]. 2559 [เข้าถึงเมื่อ 6 พ.ย. 2562]. เข้าถึงได้จาก: http://www.nachuakhospital.com/forum/index.php?topic=10.0

กัลยารัตน์ หล้าธรรม, ชัจคเณค์ แพรขาว. การศึกษาคุณภาพการคัดแยกประเภทผู้ป่วยศรีนครินทร์. การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษาระดับชาติและนานาชาติ [อินเทอร์เน็ต]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2560 [เข้าถึงเมื่อ 6 พ.ย. 2562]. เข้าถึงได้จาก: https://gsbooks.gs.kku.ac.th/60/nigrc2017/pdf/MMP27.pdf

ชลลดา ทอนเสาร์, วิภาดา วิจักขณาลัญฉ์, เกียรติศักดิ์ ชัยพรม, พิมพิมาน แหล่งสท้าน, เปรมสุดา จันทพิมพ์, ภรณ์พินิจ แสนสุข และคณะ. การศึกษาการคัดแยกประเภทผู้ป่วยฉุกเฉิน แผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉินโรงพยาบาลสุทธาเวช คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาลัยนครราชสีมา ครั้งที่ 7[อินเทอร์เน็ต]. นครราชสีมา: วิทยาลัยนครราชสีมา; 2563 [เข้าถึงเมื่อ 6 พ.ย. 2562]. เข้าถึงได้จาก: http://journal.nmc.ac.th/th/admin/Journal/2563Vol12No1_109.pdf

ภาสินี คงเพ็ชร์. ผลการใช้รูปแบบการคัดกรองผู้ป่วยตามระดับความเร่งด่วนของผู้ป่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลเกาะสมุย. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11 2557;28(4):929-41.(2557).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-03-18