การรับรู้นโยบายการจัดการขยะพลาสติกและพฤติกรรมการจัดการขยะพลาสติก ของผู้ค้าในตลาดเจริญศรี อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี
คำสำคัญ:
นโยบายการจัดการขยะพลาสติก, ตลาดสด, บรรจุภัณฑ์พลาสติกบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้นโยบายการจัดการขยะพลาสติกและพฤติกรรมการจัดการขยะพลาสติกของผู้ค้าในตลาดเจริญศรี อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี รวมการศึกษาภาชนะบรรจุอาหารที่ใช้ และความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้นโยบายการจัดการขยะพลาสติกกับพฤติกรรมการจัดการขยะพลาสติกของผู้ค้า เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามกับผู้ค้าในตลาดเจริญศรี จำนวน 342 คน สุ่มตามสัดส่วนประเภทของแผง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน หาความสัมพันธ์โดยใช้สถิติ Fisher’s exact test ระดับนัยสำคัญที่ 0.05
ผลการศึกษา พบว่า การรับรู้นโยบายการจัดการขยะพลาสติกอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 51.5 โดยรับรู้นโยบายในเรื่องของการยกเลิกใช้พลาสติกประเภท ไมโครบีด พลาสติกที่ผสมสารอ็อกโซ่ และพลาสติกหุ้มฝาขวดน้ำดื่มเพียงร้อยละ 45.6, 45.0 และ 39.8 ตามลำดับ พฤติกรรมการจัดการขยะพลาสติกอยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 47.3) โดยยังปฏิบัติน้อยในเรื่องการส่งเสริมให้มีส่วนลดหรือสนับสนุนให้ผู้บริโภคนำภาชนะมาใส่อาหารเองแทนการใช้กล่องโฟม ถุงพลาสติกและแก้วพลาสติก (แบบใช้ครั้งเดียว) (ร้อยละ 52.9) ภาชนะบรรจุอาหารที่ใช้สำหรับจำหน่าย คือ ถุงหูหิ้ว (ร้อยละ 100) โดยยังคงมีการใช้พลาสติกผสมสารอ็อกโซ่อยู่ ร้อยละ 0.6 ทั้งที่ถูกประกาศให้เลิกใช้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2562 การรับรู้นโยบายการจัดการขยะพลาสติกมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการจัดการขยะพลาสติกของผู้ค้า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 (p–value < 0.001) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงควรสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบายการจัดการขยะพลาสติกให้กับผู้ค้า เพื่อเลิกใช้พลาสติกประเภทใช้ครั้งเดียวทิ้ง โดยส่งเสริมให้นำบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมาใช้แทน
References
ณิชชา บูรณสิงห์. ขยะพลาสติก ปัญหาระดับโลกที่ต้องเร่งจัดการ [อินเตอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 2563 พฤศจิกายน 9]. เข้าถึงได้จาก: https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parliament_parcy/ewt_dl_link.php?nid=58603&filename=index
Jambeck JR, Geyer R, Wilcox C, Siegler TR, Perryman M, Andrady A, Narayan R, Law KL. Marine pollution. Plastic waste inputs from land into the ocean. Science 2015; 13;347(6223): 768-71. DOI: 10.1126/science.1260352
ศุลีพร แสงกระจ่าง, ปัทมา พลอยสว่าง, ปริณดา พรหมหิตาธร. ผลกระทบของผลพลาสติกต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม. วารสารพิษวิทยาไทย 2556; 28(1): 39-50.
นันทวุฒิ จำปางาม. ไมโครพลาสติก: ปัญหาในระบบนิเวศแหล่งน้ำ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2563; 14(2): 25-39.
สำนักวิชาการ, สำนักเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. ขยะพลาสติก: ภัยใกล้ตัว [อินเตอร์เน็ต]. 2559 [เข้าถึงเมื่อ 2563 พฤศจิกายน 3]. เข้าถึงได้จาก: https://library2.parliament.go.th/ejournal/content_af/2559/feb2559-7.pdf
กรมควบคุมมลพิษ. Roadmap การจัดการขยะพลาสติก พ.ศ. 2561-2573 [อินเตอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 2563 พฤศจิกายน 3]. เข้าถึงได้จาก: http://www2.pcd.go.th/Info_serv/File/Plastic%20Roadmap.pdf
กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. รณรงค์งดใช้ถุงพลาสติกในตลาดสด [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 2563 พฤศจิกายน 3]. เข้าถึงได้จาก : https://scpdatacenter.deqp.go.th
อรุณ จิรวัฒน์กุล. ชีวสถิติสำหรับงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. ขอนแก่น: หจก.โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา; 2547.
ธงชัย สุธีรศักด์, วัชรวดี ลิ่มสกุล, ณัฏฐินี อุทกูล, ณัฏบาพร อุทกูล. พฤติกรรมการใช้บรรจุภัณฑ์ใส่อาหารที่ใช้แล้วทิ้งของร้านอาหารขายอาหาร กรณีศึกษา อำเภอเมืองและอำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต. วารสารสังคมวิจัยและพัฒนา 2563; 2(1):68-72.
ธารา บัวคำศรี. ความท้าทายและวิกฤตมลพิษพลาสติกของประเทศไทย [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 2563 ธันวาคม 19]. เข้าถึงได้จาก: https://www.greenpeace.org/thailand/story/18232/plastic-challenge-to-combat-plastic-pollution-in-thailand/
ปภาวิน เหินขุนทด. 2554. พฤติกรรมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยในชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลสำนักตะคร้อ อำเภอเทพารักษ์ จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิศวกรรมโยธา. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ประกฎในวารสารศูนย์อนามัยที่ 9 เป็นความคิดเห็นของผู้เขียน บรรณาธิการ คณะผู้จัดทำ และศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา (เจ้าของ) ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ผลการพิจารณาของกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิถือเป็นที่สิ้นสุด คณะบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจแก้ไขข้อความให้ถูกต้องตามหลักภาษาและมีความเหมาะสม
กองบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหาใด ๆ ของบทความ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของผลการประเมินบทความในวารสารฯ ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์อนามัยที่ 9