ผลของการจัดการเรียนการสอนด้วย e-Learning ต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา ในรายวิชาการพยาบาลเด็กและวัยรุ่น 1 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
คำสำคัญ:
การจัดการเรียนการสอนด้วย e-Learning, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, นักศึกษาพยาบาลบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research) ชนิดกลุ่มเดียวทดสอบก่อนและหลัง (one group pre-test and post-test design) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาก่อนและหลังการจัดการเรียนการสอนด้วย e-Learning รายวิชาการพยาบาลเด็กและวัยรุ่น 1 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และผลของความพึงพอใจในการจัดการเรียนการสอนด้วย e-Learning กลุ่มตัวอย่าง คือนักศึกษาพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ชั้นปีที่ 2 ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาการพยาบาลเด็กและวัยรุ่น 1 ในหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ในภาคการศึกษาปลาย ปีการศึกษา 2560 จำนวน 74 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย สื่อการเรียนการสอน รายวิชาการพยาบาลเด็กและวัยรุ่น 1 บนระบบ e-Learning แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจต่อการเรียนทาง e-Learning ดำเนินการทดลองและเก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนมกราคม พ.ศ. 2561 ถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2561 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติ paired t-test
ผลการวิจัย พบว่า 1) หลังได้รับการจัดการเรียนการสอนด้วย e-Learning นักศึกษามีค่าเฉลี่ยคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา รายวิชาการพยาบาลเด็กและวัยรุ่น 1 สูงกว่าก่อนได้รับการจัดการเรียนการสอนด้วย e-Learning อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2) นักศึกษามีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนทาง e-Learning รายวิชาการพยาบาลเด็กและวัยรุ่น 1 อยู่ในระดับมาก ( =3.93 SD=0.71). ข้อเสนอแนะจากการวิจัย ควรนำสื่อการจัดการเรียนการสอนด้วย e-Learning ไปใช้กับรายวิชาอื่นๆ ในหลักสูตรพยาบาลศาสตร์
References
กระทรวงศึกษาธิการ. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ.พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม.(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว; 2553.
รพีพรรณ วิบูลย์วัฒนกิจ, นฤมล ภานุเตชะ, พรวิไล คล้ายจันทร์. ผลของการเรียนแบบมีส่วนร่วมต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและพฤติกรรมการทำงานกลุ่มของนักศึกษาพยาบาลหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต. พยาบาลสาร 2553;37(4):141-52.
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2558 [อินเตอร์เน็ต]. 2558 [เข้าถึงเมื่อ 2560 ต.ค. 18]. เข้าถึงได้จาก: https://www.ubu.ac.th/web/nueducation/content/
วณิชา พึ่งชมพู, ศิริรัตน์ ปานอุทัย. การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนด้วย E-Learning สำหรับนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ในกระบวนวิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ. พยาบาลสาร 2557;41(5): 11-25.
วารินทร์ บินโฮเซ็น, รัชนี นามจันทรา. การพัฒนาสื่อการสอนอิเล็กทรอนิกส์ รายวิชา BNS 405 การพยาบาลผู้สูงอายุเพื่อการเตรียมความพร้อมในการสอบขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต. วารสารการพยาบาลและการศึกษา 2558; 8(4): 114–25.
สุสัณหา ยิ้มแย้ม, อำไพ จารุวัชรพาณิชกุล, จันทรรัตน์ เจริญสันติ, อภิรัช อินทรางกูร ณ อยุธยา, ปิยะนุช ชูโต, นงลักษณ์ เฉลิมสุข. การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. พยาบาลสาร 2558; 42 (ฉบับพิเศษ):129-40.
จิราวรรณ แท่นวัฒนกุล. การซักประวัติและการตรวจร่างกายเด็ก. คณะพยาบาลศาสตร์
มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ขอนแก่น: โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา; 2554.
พรทิพย์ ศิริบูรณ์พิพัฒนา. การพยาบาลเด็ก เล่ม 1 (ฉบับปรับปรุง). พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: บริษัท ธนาเพรส จำกัด; 2556.
ศรีสมบูรณ์ มุสิกสุคนธ์ และคณะ. ตำราการพยาบาลเด็ก เล่ม 1 (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2). พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล; 2555.
ธัญญลักษณ์ วจนะวิศิษฐ. การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิงรายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์. วารสารเกื้อการุณย์ 2557;21(1): 100-13.
สุธิศา ล่ามช้าง, สมจิต เกียรติวัฒนเจริญ. ผลของการเรียนรู้ด้วยตนเองโดยใช้สื่อมัลติมีเดียต่อความรู้และความมั่นใจในการปฏิบัติการพยาบาลเด็กป่วยโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันของนักศึกษาพยาบาล. พยาบาลสาร 2557;41(2):107-16.
อัจฉรา มีนาสันติรักษ์, พัชรี แวงวรรณ, ชาลี ศรีพิทักษ์ชัย, อัญญา ปลดเปลื้อง, ทรงสุดา หมื่นไธสง. การพัฒนาบทเรียน E-Learning เรื่องหลักการและเทคนิคการทำแผลสำหรับนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2561;28(3):145-55.
กุสาวดี เมลืองนนท์, วิรัตน์ เมลืองนนท์, ชัยวัฒน์ ลิ้มประเสริฐ, ประทินทิพย์ ปรุงชัยภูมิ, ปาลีรัตน์ แซ่ลี้. การพัฒนาสื่อการสอนอิเล็กทรอนิกส์เรื่องสื่อแนะนำการใช้ยาที่มีเทคนิคพิเศษ. วารสาร พัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต 2557;8(1):81-94.
อัจฉราวดี ศรียะศักดิ์, วารุณี เกตุอินทร์, สุวรรณี แสงอาทิตย์, วิโรจน์ ฉิ่งเล็ก. การทดสอบประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเรื่อง “อุทกเศียร (Hydrocephalus)” สำหรับนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 3. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ 2554;3(1): 91-103.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ประกฎในวารสารศูนย์อนามัยที่ 9 เป็นความคิดเห็นของผู้เขียน บรรณาธิการ คณะผู้จัดทำ และศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา (เจ้าของ) ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ผลการพิจารณาของกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิถือเป็นที่สิ้นสุด คณะบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจแก้ไขข้อความให้ถูกต้องตามหลักภาษาและมีความเหมาะสม
กองบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหาใด ๆ ของบทความ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของผลการประเมินบทความในวารสารฯ ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์อนามัยที่ 9