การพัฒนาระบบบริการเครือข่ายแบบห้องคลอดเดียวกัน เพื่อหลีกเลี่ยงการตายของมารดาจากสาเหตุที่ป้องกันได้ จังหวัดสุรินทร์
คำสำคัญ:
การพัฒนาระบบบริการ, เครือข่ายแบบห้องคลอดเดียวกัน, การตายของมารดาจากสาเหตุที่ป้องกันได้บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินการพัฒนาระบบบริการเครือข่ายแบบห้องคลอดเดียวกัน ในด้านการบริหารจัดการ ด้านกระบวนการดำเนินงาน ด้านผลผลิต และผลลัพธ์ และด้านผลกระทบ และ 2) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการพัฒนาระบบบริการเครือข่ายแบบห้องคลอดเดียวกัน กลุ่มตัวอย่างในการศึกษา ประกอบด้วย สูติแพทย์ที่เกี่ยวข้องทุกโรงพยาบาล จำนวน 6 คน พยาบาลห้องคลอด ทุกโรงพยาบาล จำนวน 46 คน คณะกรรมการ จำนวน 34 คน และมารดาที่มาคลอดที่โรงพยาบาลทุกแห่ง ใน ปี พ.ศ. 2563 จำนวน 140 คน กลุ่มตัวอย่างได้รับการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสนทนากลุ่ม การใช้แบบสอบถาม การประเมินความรู้และทักษะการบันทึกข้อมูลการคลอด การประชุมเชิงปฏิบัติการ และการรวบรวมจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content analysis) และตรวจสอบสามเส้า (Triangulation) ผลการวิจัยพบว่า ผลการประเมินการพัฒนาระบบบริการเครือข่ายแบบห้องคลอดเดียวกัน มีด้งนี้ 1) ด้านการบริหารจัดการ มีการแต่งตั้ง MCH board ระดับจังหวัด และระดับอำเภอทุกอำเภอ มีการวิเคราะห์สถานการณ์และสภาพปัญหา 2) ด้านกระบวนการ มีการจัดทำแผนงานการพัฒนาระบบบริการเครือข่ายแบบห้องคลอดเดียวกันเพื่อแก้ไขปัญหาการตายมารดาจากสาเหตุที่ป้องกันได้ มีการบริหารจัดการแบบโรงพยาบาลแม่ข่าย/ลูกข่ายที่ชัดเจน มีการพัฒนาศักยภาพบุคลากรในการดูแลรักษาสตรีที่มีภาวะฉุกเฉินทางสูติศาสตร์ ปฏิบัติการใช้ระบบ Tele-Line Consulting System (TCS) พัฒนาคุณภาพบริการจากการประชุมร่วมกัน พัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้ร่วมกัน พัฒนาเครือข่ายการดูแลผู้คลอดแบบไร้รอยต่อ มีการจัดทำคู่มือการประสานการส่งต่อในโซนบริการ คู่มือแนวทางปฏิบัติเพื่อลดอัตรามารดาตายให้เป็นศูนย์ 3) ด้านผลผลิตและผลลัพธ์ มีการประชุม MCH Board ระดับจังหวัด ปีละ 3 ครั้ง และระดับเขต ปีละ 2 ครั้ง ประชุม MM conference เดือนละ 1 ครั้ง และ Perinatal conference 3 เดือนครั้ง มีการติดตามเยี่ยมเสริมพลัง (Coaching) เครือข่ายโรงพยาบาล 5 โซน สูติแพทย์ของโรงพยาบาลสุรินทร์เป็นผู้ให้การดูแลช่วยเหลือด้วยระบบ TCS ในโรงพยาบาลระดับ Node มีระบบ TCS เป็นสื่อกลางการติดต่อสื่อสาร จัดระบบ Fast-track เมื่อรายงานแพทย์เวร การประเมินห้องคลอดคุณภาพในโรงพยาบาลระดับ Node ผ่านเกณฑ์การประเมิน ผลการพัฒนาศักยภาพบุคลากร มีความรู้ระดับมาก กลุ่มเป้าหมายมีความคิดเห็นต่อการพัฒนาระบบบริการเครือข่ายแบบห้องคลอดเดียวกันเพื่อแก้ไขปัญหาการตายมารดาจากสาเหตุที่ป้องกันได้ โดยรวมอยู่ในระดับมาก และความพึงพอใจของผู้รับบริการ ต่อระบบบริการสูติกรรมของหน่วยบริการโดยรวมอยู่ในระดับมาก 4) ด้านผลกระทบ อัตราส่วนการตายของมารดา ปี 2560-2563 เท่ากับ 0, 9.04, 28.73 และ 19.82 ตามลำดับ โดยการเสียชีวิตของมารดาเกิดจากสาเหตุทางอ้อม พบว่าปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จคือ ผู้บริหารเห็นความสำคัญ กำหนดนโยบายชัดเจน สนับสนุนงบประมาณในการดำเนินงาน การดำเนินการแก้ไขปัญหาร่วมกันแบบสหวิชาชีพเป็นระบบเครือข่าย การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถอดบทเรียนร่วมกัน ข้อเสนอแนะจากการวิจัยครั้งนี้ ควรจัดระบบบริหารจัดการและขับเคลื่อนระบบบริการที่มีประสิทธิภาพ มีการพัฒนาศักยภาพบุคลากรอย่างต่อเนื่อง สร้างการมีส่วนร่วมของภาคีทุกภาคส่วนในพื้นที่ และพัฒนาระบบการให้คำแนะนำปรึกษา (Consulting system) ระหว่างแพทย์ทั่วไปกับสูติแพทย์ และระหว่างสูติแพทย์กับอายุรแพทย์ ด้วยระบบ Line chat/Line group ในแผนกฝากครรภ์และแผนกคลอดให้มีประสิทธิภาพ
References
สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข. รายงานการศึกษาการตายของมารดาและทารก. นนทบุรี: สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์; 2559.
กระทรวงสาธารณสุข. ยุทธศาสตร์และตัวชี้วัดกระทรวงสาธารณสุข ปีงบประมาณ พ.ศ. 2557. นนทบุรี: สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์; 2557.
สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์. ยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัดและแนวทางการจัดเก็บข้อมูล กระทรวงสาธารณสุข ปีงบประมาณ พ.ศ. 2559. นนทบุรี: สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์; 2559.
สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย. รายงานผลการตายของมารดาในประเทศไทยปี พ.ศ. 2559. นนทบุรี: สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย; 2559.
ศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา. แผนยุทธศาสตร์ส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคสู่ความเป็นเลิศ พ.ศ.2560-2579 เขตสุขภาพที่ 9. นครราชสีมา: ศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา; 2559.
วรวรรณ ถนอมเกียรติ. การศึกษาปัจจัย สาเหตุและสถานการณ์การตายของมารดาในจังหวัดแม่ฮ่องสอน. วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมล้านนา 2559; 6(2): 10-7.
จันทิยา เนติวิภัชธรรม และคณะ. รายงานการศึกษาสถานการณ์มารดาตาย เขตสุขภาพที่ 7. ขอนแก่น: เขตสุขภาพที่ 7; 2561.
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุขและนิเทศงานกรมอนามัยประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 แผนงานกรมอนามัย. นนทบุรี: กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข; 2561.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุรินทร์. สรุปผลการดำเนินงานกลุ่มงานส่งเสริมสุขภาพ ปี พ.ศ. 2557-2560. สุรินทร์: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุรินทร์; 2560.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุรินทร์. สรุปผลการดำเนินงานกลุ่มงานส่งเสริมสุขภาพ ปี พ.ศ. 2561-2562. สุรินทร์: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุรินทร์; 2562.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุรินทร์. เอกสารประกอบการตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข กรณีปกติ รอบที่ 2 ปี พ.ศ. 2560. สุรินทร์: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุรินทร์; 2560.
เครือข่ายโรงพยาบาลสุรินทร์.มาตรการเฝ้าระวังมารดาตายและแนวทางการดำเนินงาน ปี 2560. สุรินทร์ : โรงพยาบาลสุรินทร์ ; 2560.
เครือข่ายโรงพยาบาลสุรินทร์.มาตรการเฝ้าระวังมารดาตายและแนวทางการดำเนินงาน ปี 2561. สุรินทร์: โรงพยาบาลสุรินทร์ ; 2561.
Kemmis, McTaggart. The Action Research. (3rded.). Victoria: Deakin; 1988.
ถนอมรัตน์ ประสิทธิเมตต์, เกษม เวชสุนทรานนท์.สาเหตุการตายมารดาในเขตสุขภาพที่ 4 ปีงบประมาณ 2557-2559. สระบุรี: เขตสุขภาพที่ 4; 2560.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ประกฎในวารสารศูนย์อนามัยที่ 9 เป็นความคิดเห็นของผู้เขียน บรรณาธิการ คณะผู้จัดทำ และศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา (เจ้าของ) ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ผลการพิจารณาของกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิถือเป็นที่สิ้นสุด คณะบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจแก้ไขข้อความให้ถูกต้องตามหลักภาษาและมีความเหมาะสม
กองบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหาใด ๆ ของบทความ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของผลการประเมินบทความในวารสารฯ ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์อนามัยที่ 9