หลักการป้องกันโรคตามแนวทางศาสตร์การแพทย์แผนจีน

ผู้แต่ง

  • ปุณยภัสร์ ศิริธีราฐิติกุล คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • ณรงค์ ใจเที่ยง คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา

คำสำคัญ:

การแพทย์แผนจีน, หลักการป้องกันโรค, การส่งเสริมสุขภาพ

บทคัดย่อ

ศาสตร์การแพทย์แผนจีน ที่ขึ้นชื่อว่ามีประวัติอันยาวนานมากกว่า 5,000 ปี ไม่ได้มีเพียงแต่การฝังเข็มรมยา และยาสมุนไพรเพื่อรักษาโรคเท่านั้น ยังมีหลักการป้องกันโรค ที่เป็นแนวคิดทฤษฎีพื้นฐานศาสตร์การแพทย์แผนจีนที่แท้จริง คือ การรักษาโรคเมื่อยังไม่ได้เป็นโรค(治未病)(Preventive treatment) เป็นวิธีที่ชาวจีนสมัยก่อนถือปฏิบัติกันมาจนถึงปัจจุบันเพื่อรักษาสุขภาพร่างกาย ป้องกันไม่ให้เกิดโรค โดยการนำแนวคิดจากทฤษฎียินหยางและทฤษฎีปัญจธาตุ นำไปสู่หลักปฏิบัติและวิธีการส่งเสริมสุขภาพตามแนวทางศาสตร์การแพทย์แผนจีนในรูปแบบต่างๆ เช่น การรับประทานอาหารเป็นยา การเคลื่อนไหวร่างกายตามหลักชี่กงและไทเก๊ก การดูแลสุขภาพไต เป็นต้น รวมไปถึง หลักการปฏิบัติตนเมื่อเกิดการเปลี่ยนเปลี่ยนทางสรีรวิทยาและพยาธิสภาพในร่างกาย ป้องกันไม่ให้โรคที่เกิดขึ้นแล้วพัฒนาหรือลุกลามไปยังอวัยวะภายในที่สำคัญ อันเป็นเหตุให้เป็นอันตรายต่อชีวิต โดยการใช้ทฤษฎีปัญจธาตุมาคาดการณ์การเกิดโรคล่วงหน้า พร้อมกำหนดวิธียับยั้งและป้องกันไม่ให้เกิดโรคดังกล่าวอย่างทันท่วงที อีกทั้งกอปรกับการตรวจวินิจฉัยตามศาสตร์แพทย์แผนจีน 4 ประการ ได้แก่ การมอง(望)การฟังและดม(闻)การซักประวัติ(问)และการสัมผัส(切)เพื่อวิเคราะห์แยกกลุ่มอาการ กำหนดวิธีการรักษา วิธีป้องกันโรค วิธีดูแลสุขภาพได้ตรงจุด ถูกต้องแม่นยำและมีประสิทธิภาพ หลักการป้องกันโรคจึงเป็นพื้นฐานสำคัญที่จะนำไปสู่การมีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีในการดำรงชีวิตทั้งในปัจจุบันและอนาคต

Author Biographies

ปุณยภัสร์ ศิริธีราฐิติกุล, คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา

อาจารย์ประจำหลักสูตรการแพทย์แผนจีนบัณฑิต

ณรงค์ ใจเที่ยง, คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา

อาจารย์ประจำหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอนามัยชุมชน

References

Department of Alternative Medicine.Traditional Chinese Medicine. Journal of Bureau of Alternative Medicine 2013;6(1):1-10. (In Thai)

Khamphiraphap K. Diagnostics of traditional Chinese Medicine. Bangkok: Religious Printing House; 2006. (In Thai)

Jaidee PH, Rudtanasudjatum K, Chanchai S. Traditional Chinese Medicine and Thai Public Health. The Public Health Journal of Burapha University 2013;8(2):112-118. (In Thai)

Techadamrongsin Y. A decade of traditional Chinese medicine in Thailand. In: Thai Traditional and Alternative Health Profile 2011-2013. Nonburi: Department of Thai Traditional and Alternative Medicine Ministry of Public Health; 2013. P 249-253. (In Thai)

World Health Organization. Viewpoint on Acupuncture. World Health Organization 1979.

Department of Thai Traditional and Alternative Medicine. Basic Traditional Chinese Medicine. Bangkok: The war veterans affairs office printing; 2008. (In Thai)

Shun G. Fundamental of Traditional Chinese Medicine. Beijing: China Press of Traditional Chinese Medicine; 2017. (In Chinese)

Promsila W, Neawbood S, Rithpho P. Effects of Hypertension Prevention Program on Practical Behaviors and Blood Pressure Levels among High risk of Hypertensive Persons. Nursing Journal 2019;46(2):95-107. (In Thai)

Li D, Liu Y. Fundamental of Traditional Chinese Medicine. 2nd ed. Beijing: People’s Medical Publishing House; 2011. (In Chinese)

Guo A, Wang Y. Proofreading and annotating vernacular in Jingui. Beijing: China Press of Traditional Chinese Medicine; 2012. (In Chinese)

คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัญญัติ 10 ประการ [อินเทอร์เน็ต]. (ม.ป.ท.). [เข้าถึงเมื่อ 13 มีนาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ahs.chula.ac.th/newweb/index.php/en/component/content/article/14-sample-data-articles/436-10point

Khamphiraphap K. Fundamental of Traditional Chinese Medicine. 2nd ed. Bangkok: Religious Printing House; 2006. (In Thai)

ชมพูนุช ทรงถาวรทวี. กินแบบหยินหยาง สร้างความสมดุลให้ร่างกายตามหลักแพทย์แผนจีน [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 13 มีนาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก https://hellokhunmor.com/

Zheng H. Fundamental of Traditional Chinese Medicine. Beijing: China Press of Traditional Chinese Medicine; 2016. (In Chinese)

Boonworapat W.Encyclopedia of Thai-Chinese herbs that are frequently used in Thailand. Bangkok: TCM Doctor Association Thailand; 2011. (In Thai)

Chen W. Traditional Chinese Pharmacology. 2nd ed. Beijing: People’s Medical Publishing House; 2012. (In Chinese)

Wongsalah W, Wongsalah M. Promoting Bone Strength:Guidelines to prevent andreduce risks for osteoporosis. Regional Health Promotion Center 9 Journal 2020;14(35):410-424. (In Thai)

Wannawibul W. History of chinese medicine. 3rd ed. Bangkok: Moh Chao Ban Publishing House; 2005. (In Thai)

Chen Y, Pang L, Guo J, et al. Clinical Controlled Study on Different Starting Time of Enteral Nutrition in Patients with Severe Acute Pancreatitis. Acta Med Univ Sci Technol Huazhong 2019;48(3):329-333. (In Chinese)

Lin Y, Xie J, Jia C. Conceptual Metaphor of Chinese Five Organs Supportive and Restraint Relationships Based on Structure based Mapping Model. Acta Chinese Medicine and Pharmacology 2014;42(2):1-3. (In Chinese)

Sornsakdanuphap J, Chaitiang N. Traditional Chinese Medicine Law with Thai Health System. Public Health Policy & Law Journal 2021;7(1):121-138. (In Thai)

Mohprai. Know before getting sick with traditional Chinese medicine. Bangkok: Bizbook; 2010. (In Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-04-15