ประสบการณ์การเจ็บป่วยของผู้ป่วยเด็กวัยเรียนโรคธาลัสซีเมีย จังหวัดชัยภูมิ
คำสำคัญ:
ประสบการณ์การเจ็บป่วย, ผู้ป่วยเด็กวัยเรียน, โรคธาลัสซีเมียบทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงผสมผสานวิธี เพื่อศึกษาสถานการณ์ประสบการณ์การเจ็บป่วยของผู้ป่วยเด็กวัยเรียนโรคธาลัสซีเมีย จังหวัดชัยภูมิ และปัจจัยกับประสบการณ์การเจ็บป่วยของเด็ก โดยแบ่งการวิจัยเป็น 2 ระยะคือ 1) สถานการณ์ประสบการณ์การเจ็บป่วยของผู้ป่วยเด็กวัยเรียนโรคธาลัสซีเมีย โดยวิจัยเชิงคุณภาพ จากการทบทวนวรรณกรรม การสนทนากลุ่ม สัมภาษณ์เชิงลึก โดยใช้เครื่องมือ แนวคำถามกึ่งโครงสร้างเกี่ยวกับประสบการณ์การเจ็บป่วยของผู้ป่วยเด็กวัยเรียนโรคธาลัสซีเมีย และคำถามปลายเปิด กับผู้ให้ข้อมูลจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 24 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา และ 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยกับประสบการณ์การเจ็บป่วยของเด็ก โดยการวิจัยเชิงปริมาณกับกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยเด็กวัยเรียนโรคธาลัสซีเมีย อายุ 6-12 ปี จำนวน 150 คน ใช้แบบสอบถามที่มีเนื้อหาด้านการรับรู้ภาวะสุขภาพของเด็ก และประสบการณ์การเจ็บป่วยในการดูแลตนเองของผู้ป่วยเด็กเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล ได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม จากค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่า (-Coefficient) ของ Cronbach ได้ค่าเท่ากับ 0.91 และ 0.94 ตามลำดับ ในการวิเคราะห์ผลการวิจัยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสัมประสิทธิสหสัมพันธ์ของ เพียร์สัน (Pearson correlation Coefficient) ผลการศึกษาพบว่า ระยะ 1 สถานการณ์ประสบการณ์การเจ็บป่วยของผู้ป่วยเด็ก แบ่งได้เป็น 3 ประเด็นหลัก คือ 1) ด้านทั่วไป เป็นการดูแลตนเองในชีวิตประจำวัน 2) ด้านอารมณ์ จิตใจ สังคม เป็นความเข้าใจและสามารถปรับตัวอยู่กับภาวะเจ็บป่วย 3) ด้านการดูแลภาวะสุขภาพ เป็นผลกระทบจากการรักษา ระยะ 2 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับประสบการณ์การเจ็บป่วยของผู้ป่วยเด็กมีดังนี้ ด้านผู้ปกครอง พบว่า เพศและอาชีพมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (r = 0.284, และ -0.340 ตามลำดับ) และค่าใช้จ่ายมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (r= 0.367) ด้านผู้ป่วยเด็ก พบว่า เพศและการให้เลือด มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 0.05 (r = 0.407, และ -0.303 ตามลำดับ) ด้านการรับรู้ภาวะสุขภาพ พบว่า แรงจูงใจ และการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อความเจ็บป่วยมีความสัมพันธ์กับประสบการณ์การเจ็บป่วยของผู้ป่วยเด็กอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 0.05 (r = 0.364, และ -0.296 ตามลำดับ) การวิจัยครั้งนี้ สามารถสร้างความเข้าใจที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้นเกี่ยวกับประสบการณ์การเจ็บป่วยของผู้ป่วยเด็กวัยเรียนโรคธาลัสซีเมียและสามารถนำข้อมูลการวิจัยไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการปฏิบัติการพยาบาลและการวิจัยต่อไป
References
กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. การประชุมสัมมนาวิชาการธาลัสซีเมียแห่งชาติ ครั้งที่ 23 ประจำปี 2561: “Thalassemia : All New Hope”; วันที่ 4-6 กันยายน 2561; ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ; 2561.
จิตสุดา บัวขาว, บรรณาธิการ. แนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยธาลัสซีเมียในเวชปฏิบัติทั่วไป. นนทบุรี: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์; 2560.
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. การประชุมสัมมนาวิชาการธาลัสซีเมียแห่งชาติ ครั้งที่ 24 ประจำปี 2562: “Precision lab for Thalassemia ห้องปฏิบัติการแม่นยำ มุ่งนำวินิจฉัย ใส่ใจธาลัสซีเมีย”; วันที่ 21-23 สิงหาคม 2562; ณ ทีค การ์เด้น สปา รีสอร์ท เชียงราย; 2562.
กิตติ ต่อจรัส. Endocrinopathies in Thalassemia. วารสารโลหิตวิทยาและเวชศาสตร์บริการโลหิต 2562;29(2):81-2.
เสาวรัตน์ เดชชัยวัฒนา, นิศาชล เศรษฐไกรกุล, ระพีพงศ์ สุพรรณไชยมาตย์. การเปลี่ยนแปลงของภาวะโภชนาการ และการเจริญเติบโตของผู้ป่วยเด็กธาลัสซีเมียจากการให้เลือดอย่างสม่ำเสมอ ณ โรงพยาบาลบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น. วารสารกุมารเวชศาสตร์ 2562;58(1): 4-10.
จินตนา ศิรินาวิน, ชนินทร์ ลิ่มวงค์, พรพิมล เรืองวุฒิเลิศ, เสถียร สุขพณิชนันท์, วันชัย วนะชิวนาวิน, วรวรรณ ตันไพจิตร. ความรู้พื้นฐานธาลัสซีเมียเพื่อการป้องกันและควบคุมโรค. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน; 2554.
รัชนีกร กุตระแสง, ศิริยุพา สนั่นเรืองศักดิ์, นฤมล ธีระรังสิกุล. ผลของโปรแกรมส่งเสริมการจัดการของครอบครัวต่อการจัดการของมารดาและภาวะสุขภาพของเด็กวัยเรียนที่ป่วยด้วยโรคธาลัสซีเมีย. วารสารพยาบาล 2560;66(3):1-10.
ยุภดี สงวนพงษ์, นิภา อังศุภากร. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรรกับการดูแลตนเองของผู้ป่วยเด็กโรคธาลัสซีเมียโรงพยาบาลชัยภูมิ.วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ 2552;32(1):76-89.
ศิริยุพา สนั่นเรืองศักดิ์, นฤมล ธีระรังสิกุล, พจนารถ สารพัด, มณีพร ภิญโญ. รูปแบบการจัดการตนเอง ของเด็กที่ป่วยด้วยโรคธาลัสซีเมีย. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 2563; 28(2): 27-39.
โรงพยาบาลชัยภูมิ. สถิติผู้ป่วยเด็กวัยเรียนโรคธาลัสซีเมีย. ชัยภูมิ: โรงพยาบาลชัยภูมิ; 2562.
Becker MH, Maiman LA, Kirscht JP, Haefner DP, Drachman RH. The Health Belief Model and Prediction of Dietary Compliance: A field experiment. J Health Soc Behav 1977;18(4):348-66.
Orem DE, Taylor SG, Renpenning KM. Nursing: Concepts of practice. 6thed. St. Louis: Mosby; 2001.
Krejcie RV, Morgan DW. Determining Sample Size for Research Activities. Educ Psychol Meas 1970;30(3):607-10.
เนื้อแพร เล็กเฟื่องฟู, ธัญมัชฌ สรุงบุญมี. บทบาทของสภาพครัวเรือนต่อการพัฒนาคุณภาพกำลังแรงงานในอนาคต; ในชุดโครงการ พัฒนาองค์ความรู้และนโยบายเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือนไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.); 2018.
ภูษณิศา มาพิลูน, ปรีย์กมล รัชนกุล, วาริยา หมื่นสา. ผลของโปรแกรมการพัฒนาความสามารถในการดูแลตนเองของเด็กวัยเรียนโรคธาลัสซีเมีย และความสามารถในการดูแลเด็กของผู้ดูแล ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของเด็ก. วารสารสภาการพยาบาล 2559;31(2):52-68.
ภารินี หงส์สุวรรณ, โกวิท เป็งวงศ์, บรรณาธิการ. แนวทางการดูแลสุขภาพตามหลัก 3 อ. อาหารออกกำลังกาย อารมณ์. นนทบุรี: สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข; 2560.
บุญใจ ศรีสถิตนรากูร, วิภาดา แสงนิมิตรชัยกุล. ประสบการณ์การจัดการตนเองเกี่ยวกับโรคหืดของเด็กวัยเรียน. วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2562;30(1):26-36.
สมร ยอดพินิจ. ความสัมพันธ์ระหว่าง ปัจจัยคัดสรร การรับรู้ภาวะสุขภาพ และพฤติกรรมการดูแลตนเองของเด็กป่วยโรคธาลัสซีเมีย. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ 2560;33(1):141-50.
ชุติกาญจน์ วัฒนา. ประสบการณ์การเจ็บป่วยของเด็กวัยเรียนโรคหืดที่มีภาวะน้ำหนักเกิน [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2560.
พนารัตน์ มัชปะโม. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรรการรับรู้ภาวะสุขภาพและพฤติกรรมการดูแลตนเองของเด็กป่วยโรคธาลัสซีเมีย. วารสารวิชาการสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม 2563; 4(8):234-43.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ประกฎในวารสารศูนย์อนามัยที่ 9 เป็นความคิดเห็นของผู้เขียน บรรณาธิการ คณะผู้จัดทำ และศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา (เจ้าของ) ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ผลการพิจารณาของกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิถือเป็นที่สิ้นสุด คณะบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจแก้ไขข้อความให้ถูกต้องตามหลักภาษาและมีความเหมาะสม
กองบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหาใด ๆ ของบทความ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของผลการประเมินบทความในวารสารฯ ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์อนามัยที่ 9