ผลของโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ

ผู้แต่ง

  • ศุภพงศ์ ไชยมงคล โรงพยาบาลคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ

คำสำคัญ:

การจัดการตนเอง, ผู้ป่วยเบาหวาน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระดับ HbA1C ความรู้โรคเบาหวาน  การรับรู้ด้านสุขภาพ และการดูแลตนเอง ก่อนและหลังได้รับโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ขึ้นทะเบียนในเครือข่ายตำบลโนนคูณ ตำบลห้วยยาง และตำบลทุ่งลุยลาย อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ เป็นการศึกษาวิจัยแบบกึ่งทดลอง แบบ 2 กลุ่ม แบ่งกลุ่มตัวอย่าง เป็นกลุ่มทดลอง 50 ราย กลุ่มเปรียบเทียบ 50 ราย รวมทั้งสิ้น จำนวน 100 ราย คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยการสุ่มอย่างง่าย เป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีค่า HbA1C > 8 % เก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2563 – 31 มกราคม 2564 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มี 4 ส่วน ได้แก่ ข้อมูลทั่วไป ความรู้โรคเบาหวาน การรับรู้ด้านสุขภาพ และการดูแลตนเอง สื่อการสอนผู้ป่วยเบาหวาน เครื่องตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด สมุดประจำตัวผู้ป่วยเบาหวาน โดยมีค่าความเที่ยงของแบบสอบถามเท่ากับ 0.89 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและ t-test

ผลการวิจัยพบว่า หลังการการใช้โปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ค่าเฉลี่ยระดับ HbA1C ลดลง ความรู้โรคเบาหวานและการรับรู้ด้านสุขภาพสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า กลุ่มทดลองมีความรู้เกี่ยวกับโรค อาการ อาหาร และการดูแลสุขภาพทั่วไปและการดูแลเท้า ดีกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.001, <0.001 และ 0.49 ตามลำดับ) มีการรับรู้ด้านสุขภาพด้านการรับรู้ผลดีของการปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ มีการดูแลตนเอง ด้านการไปพบแพทย์ มากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.004)

ข้อเสนอแนะ ควรศึกษาติดตามการรับประทานยา ระยะเวลาการเจ็บป่วย และภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น เพื่อนำมาวิเคราะห์ร่วมกับผลการศึกษาของกลุ่มตัวอย่าง เพิ่มความรู้เกี่ยวกับโรคและอาการ อาหาร การดูแลสุขภาพทั่วไปและเท้า ในการให้คำแนะนำผู้ป่วยเบาหวานเพิ่มมากขึ้นเพื่อให้เกิดการจัดการตนเองได้อย่างเหมาะสม ให้ความสำคัญกับการติดตามนัดเพื่อให้เกิดการรักษาอย่างต่อเนื่อง

Author Biography

ศุภพงศ์ ไชยมงคล, โรงพยาบาลคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ

ผู้อำนวยการ

References

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน. พิมพ์ครั้งที่ 3. ปทุมธานี: บริษัทร่มเย็น มีเดีย จำกัด; 2560.

Boekaerts M, Zeidner M, Pintrich P, editors. Handbook of Self-Regulation. St. Louis: Elsevier; 2005.

Victoria State Government. Assessment of Chronic Illness Care Guide [internet]. 2016 [cited 2021 April 6]. Available from https://www2.health.vic.gov.au/about/publications/policiesandguidelines/assessment-of-chronic-illness-care-guide

โชติกา สัตนาโค, จุฬาภรณ์ โสตะ. ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง. วารสารการพยาบาลและการศึกษา 2560; 10(4): 32-47.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชัยภูมิ. สถานะสุขภาพ การป่วยด้วยโรคติดต่อที่สำคัญ [อินเตอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 2564 กุมภาพันธ์ 20]. เข้าถึงได้จาก: https://cpm.hdc.moph.go.th/hdc/main/index.php

Yamane T. Statistics: An Introductory Analysis. 2nd ed. New York: Harper and Row; 1967.

โชติกา พลายหนู, วนิดา ดุรงค์ฤทธิ์ชัย, กมลทิพย์ ขลังธรรมเนียม, สุธีร์ รัตนมงคลกลุ. การเสริมพลังอำนาจแบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการปรับตัวและลดระดับน้ำตาลในเลือดผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้. วารสารพยาบาลสาธารณสุข 2561; 32(1):137-56.

ขวัญเรือน ทิพย์พูล, สงครามชัย ลีทองดี, วงศา เลาหศิริวงศ์. ผลของโปรแกรมประยุกต์การจัดการและแรงสนับสนุนทางสังคมร่วมกับกระบวนการกลุ่มเพื่อการดูแลผู้ป่วยเบาหวานในระบบปฐมภูมิ กรณีศึกษาอำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม. วารสารวิจัยคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2552; 2(3), 35-46.

กระทรวงสาธารณสุข. คลังความรู้สุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข ข้อมูลความรู้ด้านสุขภาพสำหรับประชาชน [อินเตอร์เนต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 2564 มกราคม 5). เข้าถึงได้จาก: http://healthydee.moph.go.th/media_list.php?page=2

ชดช้อย วัฒนะ. การสนับสนุนการจัดการตนเอง: กลยุทธในการส่งเสริมควบคุมโรค. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี 2558; 26(ฉบับเพิ่มเติม): 117-27.

พรวิจิตร ปานนาค, สุธีพร มูลศาสตร์, เชษฐา แก้วพรม. ประสิทธิผลของโปรแกรมการพัฒนาความฉลาดทางสุขภาพ ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ ตำบลบางวัว อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2561; 27(3): 91-106.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-04-16