ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมความปลอดภัยในการป้องกัน การเกิดเพลิงไหม้ในครัวเรือนบ้านบก อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • ชัยกฤต ยกพลชนชัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
  • ญาณิฐา แพงประโคน คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
  • จารุพร ดวงศรี คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการป้องกันการเกิดเพลิงไหม้, ความปลอดภัยในครัวเรือน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมความปลอดภัยในการป้องกันการเกิดเพลิงไหม้ โดยกลุ่มตัวอย่างได้จากการสุ่มแบบ Cluster sampling จาก 25 อำเภอในจังหวันอุบลราชธานี ได้อำเภอม่วงสามสิบ และ Random sampling ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 50 คน ใช้แบบสอบถามในการรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย 4 ส่วน ได้แก่ ข้อมูลปัจจัยส่วนบุคคล การรับรู้แรงจูงใจในการป้องกันการเกิดเพลิงไหม้ แรงสนับสนุนทางสังคมในการป้องกันการเกิดเพลิงไหม้ พฤติกรรมในการป้องกันการเกิดเพลิงไหม้ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีความตรงเชิงเนื้อหา และทดสอบความเชื่อมั่นทั้งฉบับ ได้ค่าสัมประสิทธ์แอลฟ่าของครอนบาค เท่ากับ 0.74 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรด้วยการทดสอบไคสแควร์และสหสัมพันธ์ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05

ผลการวิจัยพบว่า ระดับการศึกษา อายุการสร้างบ้าน และการมีเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันการเกิดเพลิงไหม้ในครัวเรือน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยมีค่าความสัมพันธ์ ไคสแควร์ เท่ากับ 6.958, 1.149 และ 6.045 ตามลำดับ การรับรู้การป้องกันการเกิดเพลิงไหม้ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันการเกิดเพลิงไหม้ในครัวเรือนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ 0.437 แรงสนับสนุนทางสังคม มีความสัมพันธ์เชิงลบกับพฤติกรรมการป้องกันการเกิดเพลิงไหม้ในครัวเรือนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ -0.340 และแรงสนับสนุนทางสังคม มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการรับรู้การป้องกันการเกิดเพลิงไหม้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ 0.280

Author Biographies

ชัยกฤต ยกพลชนชัย, คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

อาจารย์

ญาณิฐา แพงประโคน, คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

อาจารย์

จารุพร ดวงศรี, คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

อาจารย์

References

ปลอดภัย จันโภคา. การวิเคราะห์และประเมินความเสี่ยงต่ออัคคีภัยสำหรับอาคารที่พักอาศัยของกองทัพอากาศไทย. วารสารเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์อัคคีภัย 2552;2(1):1-5.

กิจจา จิตรภิรมย์. ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับอัคคีภัย. ก้าวทันโลกวิทยาศาสตร์ 2557;14(1):1-17.

สมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย) ในพระราชูปถัมภ์ฯ. 15 กฎเหล็กป้องกันอัคคีภัยฉลองปีใหม่ [อินเตอร์เน็ต]. มปป. [เข้าถึงเมื่อ 2564 มิถุนายน 1] เข้าถึงได้จาก: http://www.shawpat.or.th/index.php?option=com_content&view=article&id=249:15-&catid=51:-m---m-s&Itemid=202

กองมาตรการป้องกันสาธารณภัย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย. Fire safety for all [อินเตอร์เน็ต]. 2559 [เข้าถึงเมื่อ 2564 มิถุนายน 3]. เข้าถึงได้จาก: http://measures.disaster.go.th/in.criteria-1.189/

สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดอุบลราชธานี กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย. รอบรั้ว ปภ. กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 2564 มิถุนายน 3]. เข้าถึงได้จาก: https://www.disaster.go.th/th/news/perimeter_fence/94

สมมาศ เลิศลักษณ์อรรยา. ระบบป้องกันอัคคีภัยกับการจัดการด้านอัคคีภัย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอิสเทิร์นเอเชีย 2559;6(3):351-8.

วิชิต มาลาเวช. ศึกษาและวิเคราะห์ระบบป้องกันอัคคีภัยจากไฟฟ้าลัดวงจรในอาคาร กรณีศึกษา: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช. นครศรีธรรมราช: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช; 2559.

Karemaker M, ten Hoor GA, Hagen RR, van Schie C, Boersma K, Ruiter RA. Elderly about home fire safety: A qualitative study into home fire safety knowledge and behavior. Fire Safety Journal 2021;124:103391. doi: 10.1016/j.firesaf.2021.103391.

ภาคย์ เทพวัลย์. การศึกษาสภาพปัญหา อุปสรรคและแนวทางในการป้องกันอัคคีภัยของสถานประกอบการอุตสาหกรรม [วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาวิชาธุรกิจอุตสาหกรรม]. กรุงเทพฯ: สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ; 2549.

สรภัค รัชตโสภณ. ศึกษาการจัดการความรู้ด้านการป้องกันและระงับอัคคีภัยภายในชุมชน กรณีศึกษาชุมชนริมทางรถไฟหลังโรงพยาบาลเดชา เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร. [การค้นคว้าอิสระ หลักสูตรปริญญาโทรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง; 2562.

สุภางค์ จันทวานิช. ทฤษฎีสังคมวิทยา, พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2552.

Morgner C, Patel H. Understanding ethnicity and residential fires from the perspective of cultural values and practices: A case study of Leicester, United Kingdom. Fire Safety Journal 2021;125:103384. doi: 10.1016/j.firesaf.2021.103384.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-07-11