การชี้บ่งอันตรายและการจัดทำมาตรฐานความปลอดภัยในงานทำเทียนพรรษา สำหรับชุมชนทำเทียนพรรษาในจังหวัดอุบลราชธานี
คำสำคัญ:
ชุมชนทำเทียนพรรษา, แรงงานนอกระบบ, ความปลอดภัยบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and development) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจชี้บ่งอันตรายในงานทำเทียนพรรษาในจังหวัดอุบลราชธานี เพื่อชี้บ่งอันตรายในชุมชนทำเทียนพรรษา 2) จัดทำมาตรการและมาตรฐานความปลอดภัยให้ชุมชนทำเทียนพรรษา 3) อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติงานที่ปลอดภัยให้กับชุมชนทำเทียนพรรษาทั้ง 3 ประเภท ได้แก่ แกะสลัก ปะพิมพ์ และโบราณ สุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จากชุมชนต้นเทียนที่ส่งเข้าประกวดต้นเทียนพรรษาในจังหวัดอุบลราชธานีอย่างต่อเนื่องทั้ง ขนาดกลางและใหญ่ 10 แห่ง โดยศึกษาปัญหาและกฎหมายที่เกี่ยวกับแรงงานนอกระบบ ค้นหาสาเหตุของอันตรายโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัยและจัดทำมาตรฐานความปลอดภัยในการทํางาน ซึ่งจากการวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัยในการทำเทียนพรรษาทั้ง 3 ประเภท พบลักษณะอันตราย 2 ด้าน คือ ด้านที่ 1 สภาพแวดล้อมในการทำงาน ได้แก่ 1) แสงสว่างไม่เพียงพอ 2) ความร้อนจากน้ำเทียน 3) ฝุ่น 4) ฟูม ด้านที่ 2 พฤติกรรมและสภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัย ได้แก่ 1) ไฟฟ้าดูด/ช็อต 2) ไฟไหม้ 3) แก๊สระเบิด 4) วัสดุมีคมบาดทิ่มแทง 5) ตกจากที่สูง 6) วัตถุหนักตกใส่ 7) การยศาสตร์ โดยจัดทำมาตรฐานความปลอดภัยในการทํางาน คู่มือความปลอดภัยสำหรับแรงงานนอกระบบงานทำเทียนพรรษา และอบรมคู่มือความปลอดภัยให้กับช่างเทียนพรรษา 41 คน ผลการวิเคราะห์ระดับความรู้ด้วยสถิติ t-test โดยเปรียบเทียบก่อนและหลังอบรมมีระดับความรู้เพิ่มขึ้น มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ดังนั้นคู่มือความปลอดภัยสามารถใช้เป็นเครื่องมือให้ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยเพื่อเป็นแนวปฏิบัติและเป็นแนวทางจัดสภาพแวดล้อมและสถานที่ทำงานให้มีความปลอดภัย เพื่อลดอุบัติเหตุ เพิ่มคุณภาพชีวิตและเป็นคู่มือความปลอดภัยสำหรับชุมชนทำเทียนพรรษาในจังหวัดอุบลราชธานีซึ่งมีมากกว่า 100 แห่ง ต่อไป
References
นภาพร หงษ์ภักดี, สืบพงศ์ หงษ์ภักดี. ต้นเทียนพรรษา ภูมิปัญญาท้องถิ่น ในงานประเพณีแห่เทียนพรรษา จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารนักบริหาร 2559;36(2):62-78.
กลุ่มสถิติแรงงาน กองสถิติสังคม. สำรวจแรงงานนอกระบบปี พ.ศ. 2561. กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ; 2561.
ตะวัน วรรณรัตน์. การศึกษาแรงงานนอกระบบในประเทศไทย. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร 2557;34(3):119-50.
ตะวัน วรรณรัตน์. ระบบการคุ้มครองแรงงานนอกระบบ. วารสารวิจัยสังคม 2551;31(1-2):35-55.
มูลนิธิเพื่อการพัฒนาแรงงานและอาชีพ . HomeNet Thailand [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 2563 กุมภาพันธ์ 20]. เข้าถึงได้จาก: www.homenetthailand.org
ไทย. พระราชบัญญัติ ฯลฯ. พระราชบัญญัติความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ.2554. [กรุงเทพฯ]: ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 128 ตอนที่ 4ก; 17 มกราคม 2554: 1-25.
ไทย. กฎหมาย, พระราชบัญญัติ ฯลฯ. พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงงาน พ.ศ. 2541. กรุงเทพฯ: ราชกิจจานุเบกษาฉบับกฤษีกา เล่มที่ 115 ตอนที่ 74 ก; 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2541: 1-48.
ไทย. กฎหมาย, พระราชบัญญัติ ฯลฯ. พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533. กรุงเทพฯ: ราชกิจจานุเบกษาฉบับกฤษีกา เล่มที่ 107 ตอนที่ 161 ตอนพิเศษ; 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2533: 1-42.
ไทย. กฎหมาย, พระราชบัญญัติ ฯลฯ. พระราชบัญญัติหลักสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2555. กรุงเทพฯ: ราชกิจจานุเบกษาฉบับกฤษฎีกา เล่มที่ 115 ตอนที่ 74 ก; 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2533: 1-48.
ไทย. กฎหมาย, พระราชบัญญัติ ฯลฯ. พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2555. กรุงเทพฯ: ราชกิจจานุเบกษาฉบับกฤษีกา เล่มที่ 115 ตอนที่ 74 ก; 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2533: 1-48.
ไทย.ประกาศ ฯลฯ .ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่องแนวปฏิบัติด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานสำหรับแรงงานนอกระบบ . กรุงเทพฯ: กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน; 2556.
สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการแรงงานนอกระบบ. วารสารแรงงานนอกระบบ 2551;1(1):42-78.
Huitfeldt H, Jutting J. Informality and Informal Employment. PROMOTING PRO-POOR GROWTH:EMPLOYMENT. Paris: OECD Development Center; 2009:95-108.
Munro L. A Literature Review on Trade and Informal Labour Markets in Developing Countries", OECD Trade Policy Papers, No. 132. Paris: OECD Publishing; 2011. doi:10.1787/5kg3nh4xwxr0-en.
Heinrich HW. Industrial Accident Prevention: A scientific approach, 4th ed. New York: McGraw-Hil; 1959.
กรณิการ์ กล้าหาญ. การพัฒนาคู่มือวิธีปฎิบัติงานสำหรับหน่วยงานการกำกับความปลอดภัยทางนิวเคลียร์โดยใช้แนวทางการประเมินความเสี่ยง. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2553.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ประกฎในวารสารศูนย์อนามัยที่ 9 เป็นความคิดเห็นของผู้เขียน บรรณาธิการ คณะผู้จัดทำ และศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา (เจ้าของ) ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ผลการพิจารณาของกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิถือเป็นที่สิ้นสุด คณะบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจแก้ไขข้อความให้ถูกต้องตามหลักภาษาและมีความเหมาะสม
กองบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหาใด ๆ ของบทความ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของผลการประเมินบทความในวารสารฯ ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์อนามัยที่ 9