การรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรม และพฤติกรรมการบริโภคอาหารในผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้

ผู้แต่ง

  • วินัฐ ดวงแสนจันทร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล https://orcid.org/0000-0003-3378-0544
  • ตะวัน แสงสุวรรณ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
  • พุทธิพงษ์ พลคำฮัก คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา

คำสำคัญ:

การรับรู้การควบคุมพฤติกรรม, พฤติกรรมการบริโภคอาหาร, ผู้สูงอายุ, โรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรมและพฤติกรรมการบริโภคอาหาร และศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารในผู้สูงอายุโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้

วิธีการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ ที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 197 ราย เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง ตามคุณสมบัติที่กำหนด ระหว่างเดือนกรกฎาคม ถึงเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2563 เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามที่ประเมินใน 3 ด้าน ได้แก่ แบบสอบถามปัจจัยส่วนบุคคล การรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรม และพฤติกรรมการบริโภคอาหาร โดยเครื่องมือได้ผ่านการทดสอบความเที่ยงตรงและความเชื่อมั่นก่อนนำไปใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สหสัมพันธ์พอยท์ไบซีเรียล สถิติไคสแคว์ และสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์สเปียร์แมน

ผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนการรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรมอยู่ในระดับปานกลาง มีคะแนนพฤติกรรมการบริโภคอาหารเหมาะสมในระดับสูง ปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า เพศ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา รายได้ ความเพียงพอของรายได้ และลักษณะการอยู่อาศัย ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหาร นอกจากนี้พบว่าการรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรมมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารในผู้สูงอายุโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.556, p<0.05)

สรุป: ผลการวิจัยจะเป็นข้อมูลสำหรับบุคลากรทีมสุขภาพเพื่อใช้เป็นแนวทางในการส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคอาหารในผู้สูงอายุโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้

Author Biographies

วินัฐ ดวงแสนจันทร์, คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล

อาจารย์

ตะวัน แสงสุวรรณ, คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล

อาจารย์

พุทธิพงษ์ พลคำฮัก, คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา

ผู้ช่วยศาสตราจารย์

References

สำนักงานโรคไม่ติดต่อ. จำนวนและอัตราผู้ป่วยในปี 2559-2561. นนทบุรี: กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 2564 มิถุนายน 14]. เข้าถึงได้จาก http://www.thaincd.com/2016/mission3

International Diabetes Federation. IDF Diabetes Atlas 9th edition. Brussels: Belgium [serial online]. 2020 [cited 14 June 2021]. Available from: http://www.diabetesatlas.org

วิชัย เอกพลากร, บรรณาธิการ. รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2557. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2557.

ประเสริฐ ธนกิจจารุ, ไพรัช เกตุรัตนกุล, วีระศักดิ์ ศรินนภากร, กิตติ ชื่นยง. Textbook of Medicine Rangsit University. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์กรุงเทพเวชสาร; 2558.

Zheng Y, Ley SH, Hu, FB. Global aetiology and epidemiology of type 2 diabetes mellitus and its complications. Nature Reviews Endocrinology 2018;14(2):88-98.

American Diabetes Association. Diabetes care. The Journal of Clinical and Applied Research and Education 2020;43 Suppl 1:S1-S2.

Deerochanawong C, Ferrario A. Diabetes Management in Thailand: A literature review of the burden, costs, and outcomes. Globalization and Health 2013;9(1):1-18.

ศศิวรรณ ขันทะชา, เบญจา มุกตพันธุ์. ความสัมพันธ์ของพฤติกรรมการดูแลตนเองและความเชื่อเกี่ยวกับโรคเบาหวานกับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในพื้นที่ที่มีความหลากหลายเชื้อชาติ อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม. ศรีนครินทร์เวชสาร 2021;36(1):97-104.

วินัฐ ดวงแสนจันทร์, ศิริรัตน์ ปานอุทัย, ณัฐธยาน์ สุวรรณคฤหาสน์, ณัฐพงศ์ โฆษชุณหนันท์. การบริโภคคาร์โบไฮเดรตและฮีโมโกลบินเอวันซีในผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาตรมหาบัณฑิต]. เชียงใหม่: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2561.

Glanz K, Rimer BK, Viswanath K, editors. Health behavior: Theory, research, and practice. San Francisco: Jossey-Bass; 2015.

กาญจนี ชิตบุตร. เจตคติ การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง การรับรู้ความสามารถในการควบคุม ความตั้งใจและพฤติกรรมการบริโภคผักและผลไม้ของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมือง จังหวัดนราธิวาส [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. สงขลา: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2548.

Fila SA, Smith C. Applying the theory planned behavior to healthy eating behaviors in urban Native American youth. International journal of behavioral nutrition and physical activity 2006;3(1):1-10.

Polit DF, Beck CT. Nursing research: Principle and methods. 7th ed. Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins; 2004.

Jitapunkul S. Principles of Geriatric Medicine. Bangkok: Chulalongkorn University Printing House; 1998.

กุสุมา กังหลี. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้เป็นเบาหวานชนิดที่สอง โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า. วารสารพยาบาลทหารบก 2557;15(3):256-268.

Askari A, Jeihooni AK, Kashfi SM, Marzban A, Khiyali Z. The effect of educational program based on belief, attitude, subjective norm, and enabling factors model on changing the metabolic indices in elderly patients with type II diabetes. International journal of preventive medicine 2018;9(1):74-79.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-07-11