การพัฒนามาตรการชุมชนในการควบคุมและป้องกันอุบัติภัยทางน้ำในชุมชนตำบลค้อทอง อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี
คำสำคัญ:
การพัฒนามาตรการชุมชน, ความปลอดภัยทางน้ำ, อุบัติภัยทางน้ำบทคัดย่อ
การวิจัยและพัฒนา (Research & development) ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพความปลอดภัยของแหล่งน้ำในชุมชนตำบลค้อทอง และเพื่อพัฒนามาตรการชุมชนในการควบคุมและป้องกันอุบัติภัยทางน้ำในชุมชนตำบลค้อทอง ประชากรที่ศึกษา คือองค์การบริหารส่วนตำบลค้อทอง ประกอบด้วย 9 ชุมชน ประชาชนในชุมชนรวมทั้งสิ้น 5,250 คน โดยศึกษาในกลุ่มตัวอย่าง 6 ชุมชน ได้แก่ ชุมชนค้อทอง ชุมชนกลางแก้งส้มป่อย ชุมชนนาโพธิ์ ชุมชนหัวทุ่ง ชุมชนหนองขุ่น และชุมชนกลางน้อย ผู้เข้าร่วมการศึกษาประกอบด้วยผู้นำชุมชน ตัวแทนประชาชน และบุคลากรในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมจำนวน 32 คน ได้จากการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แบบสำรวจสภาพความปลอดภัยของแหล่งน้ำ ป้ายเตือนอันตรายน้ำลึก และอุปกรณ์ช่วยเหลือทางน้ำ วิเคราะห์ข้อมูลนำเสนอโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า 1) จากการปรับปรุงสภาพความปลอดภัยของแหล่งน้ำโดยการติดป้ายเตือนอันตรายน้ำลึกและติดตั้งอุปกรณ์ช่วยเหลือทางน้ำ ทำให้ชุมชนสามารถพัฒนามาตรการชุมชนในการควบคุมและป้องกันอุบัติภัยทางน้ำในชุมชนให้สอดคล้องตามข้อแนะนำการป้องกันการจมน้ำของสำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค เพิ่มความปลอดภัยทางน้ำให้กับชุมชน 2) จากการดำเนินงานตามกระบวนการพัฒนามาตรการชุมชนในการควบคุมและป้องกันอุบัติภัยทางน้ำในชุมชน 6 หลักการ ประกอบด้วย นโยบาย การจัดการองค์กร การวางแผน การมีส่วนร่วม การวัดประสิทธิภาพ และการตรวจสอบประสิทธิภาพ ทำให้ชุมชนพัฒนามาตรการการควบคุมและป้องกันอุบัติภัยทางน้ำอย่างเป็นระบบ มีการจัดทำนโยบายควบคุมและป้องกันอุบัติภัยทางน้ำ การจัดหน้าที่ความผิดชอบ การวางแผนการดำเนินงาน การมีส่วนร่วมในการควบคุมและป้องกันอุบัติภัยทางน้ำ การวัดประสิทธิภาพและการตรวจสอบประสิทธิภาพในการดำเนินงานร่วมกัน และได้จัดทำคู่มือการมีส่วนร่วมในการสร้างมาตรฐานควบคุมและป้องกันอุบัติภัยทางน้ำในชุมชนสำหรับใช้ในชุมชนตำบลค้อทอง
References
สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. คู่มือปฏิบัติการการป้องกันการจมน้ำ [อินเตอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 2562 กันยายน 22]. เข้าถึงได้จาก: http://www.thaincd.com/document/file/download/paper-manual/คู่มือปฏิบัติการการป้องกันการจมน้ำ_(Preventing_drowning).pdf.
สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. สถานการณ์จมน้ำโลก [อินเตอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 2562 กันยายน 22]. เข้าถึงได้จาก: http://www.thaincd.com/document/file/drowning/สถานการณ์จมน้ำโลก.pdf.
สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. จำนวนการตายจากจมน้ำ [อินเตอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 2562 กันยายน 22] เข้าถึงได้จาก: http://thaincd.com/document/file/drowning/จำนวนการตายจากจมน้ำ.pdf.
สุชาดา เกิดมงคลการ, ส้ม เอกเฉลิมเกียรติ และคณะ. ประเมินผลการดำเนินงานป้องกันเด็กจมน้ำ. “วัคซีนป้องกันเด็กจมน้ำ”. นนทบุรี: สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค; 2557.
กรมประมง. จำนวนและพื้นที่แหล่งน้ำปิดและแหล่งน้ำจืดในจังวัดอุบลราชธานี [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 2563 เมษายน 20]. เข้าถึงได้จาก: https://www4.fisheries.go.th/local/file_document/20200301104624_new.pdf.
องค์การบริหารส่วนตำบลค้อทอง. สถิติการเกิดอุบัติภัยทางน้ำในชุมชน [สัมภาษณ์]. 2663 [วันที่ 18 มกราคม 2563].
World Health Organization. Preventing Drowning: An implementation guide. Geneva: World Health Organization; 2017.
Health and Safety Executive. Successful Health and Safety Management. 2nd ed. [Internet]. 1997 cited 2020 Sep. 22]. Available from: https://www.sh168.org.tw/getRef.ashx?id=176
Bloom BS, Hasting T, Madaus GF. Handbook on Formative and Summative Evaluation of Student Learning. New York: McGraw-Hill; 1971.
Peden AE, Franklin RC, Leggat P. Preventing river drowning deaths: Lessons from coronial recommendations. Health Promotion Journal of Australia 2018; 29(2):144-52.
Gunatilaka A, Ozanne-Smith J. A survey of inventions aimed at preventing drowning. International Journal of Injury Control and Safety Promotion 2006; 13(2):119-21.
เกศรา แสนศิริทวีสุข, ณพชร สีหะวงษ์, สุขสันต์ กองสะดี. การพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมความปลอดภัยจากการบาดเจ็บจราจรและจมน้ำ โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ตำบลคอนกาม อำเภอยางชุมน้อย จังหวัดศรีสะเกษ. วารวิชาการสาธารณสุข 2559;25(5):812-22.
กิรณา เอี่ยมสำอาง, สิริลักษณ์ บัวเย็น, สมชัย จิรโรจน์วัฒน. การสร้างและขยายให้เกิดเครือข่ายการดำเนินงานป้องกันเด็กตกน้ำจมน้ำขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ภาตะวันออก. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2557;27(4):975-83.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ประกฎในวารสารศูนย์อนามัยที่ 9 เป็นความคิดเห็นของผู้เขียน บรรณาธิการ คณะผู้จัดทำ และศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา (เจ้าของ) ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ผลการพิจารณาของกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิถือเป็นที่สิ้นสุด คณะบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจแก้ไขข้อความให้ถูกต้องตามหลักภาษาและมีความเหมาะสม
กองบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหาใด ๆ ของบทความ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของผลการประเมินบทความในวารสารฯ ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์อนามัยที่ 9