ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมความปลอดภัยจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของบุคลากรในโรงพยาบาลบุรีรัมย์

ผู้แต่ง

  • ชุติมา ดีสวัสดิ์ สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • พรทิพย์ กีระพงษ์ สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • นิตยา เพ็ญศิรินภา สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

คำสำคัญ:

บรรยากาศความปลอดภัย, พฤิตกรรมความปลอดภัย, การติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019, บุคลากรโรงพยาบาล

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงสำรวจ เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยส่วนบุคคลและบรรยากาศความปลอดภัยจากการติดเชื้อ (2) พฤติกรรมความปลอดภัยจากการติดเชื้อ และ(3) อิทธิพลของปัจจัยส่วนบุคคลและบรรยากาศความปลอดภัยต่อพฤติกรรมความปลอดภัยจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของบุคลากรในโรงพยาบาลบุรีรัมย์

ประชากรคือบุคคลากรโรงพยาบาลบุรีรัมย์ จำนวน 2,384 คน กลุ่มตัวอย่างจำนวน 388 คนได้จากการสุ่มแบบชั้นภูมิตามกลุ่มการให้บริการ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ที่มีค่าความเที่ยงด้านบรรยากาศความปลอดภัย และพฤติกรรมความปลอดภัยจากการติดเชื้อ เท่ากับ 0.93 และ 0.84 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้นตอน

ผลการศึกษา พบว่า (1) บุคคลากรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 39.04 ปี การศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 68.7 เป็นพยาบาล ร้อยละ 36.1 ปฏิบัติงานที่แผนกผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน มากกว่าร้อยละ 60  มีประสบการณ์ทำงานโรงพยาบาลเฉลี่ย 11.65 ปี ไม่มีประสบการณ์ทำงานควบคุมป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล ร้อยละ 60.6 และหน่วยงานมีบรรยากาศความปลอดภัยจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในระดับสูง (2) บุคคลากรมีพฤติกรรมความปลอดภัยจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในระดับสูง และ (3) บรรยากาศความปลอดภัยจากการติดเชื้อ และประสบการณ์การทำงานมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมความปลอดภัยจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 ปัจจัยที่มีอิทธิพลสูงตามลำดับคือ บรรยากาศความปลอดภัยและประสบการณ์การทำงานควบคุมป้องกันการติดเชื้อ (β = 0.67 และ 0.11) โดยสามารถร่วมกันอธิบายได้ร้อยละ 46.9 (R2 = 46.9)

Author Biographies

ชุติมา ดีสวัสดิ์, สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

นักศึกษาบัณฑิตศึกษา

พรทิพย์ กีระพงษ์, สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

รองศาสตราจารย์

นิตยา เพ็ญศิรินภา, สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

รองศาสตราจารย์

References

WHO. COVID-19 Weekly Epidemiological Update 2021 [Internet]. 2021 [cited 2021 May 8]. Available from: https://www.who.int/publications/m/item/weekly-epidemiological-update-on-covid-19---4-may-2021

Arslanca T, Fidan C, Daggez M, Dursun P. Knowledge, preventive behaviors and risk perception of the COVID-19 pandemic: A cross-sectional study in Turkish health care workers. PLoS ONE. 2021;16(4):e0250017. doi:10.1371/journal.pone.0250017

WHO, Thailand. โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19) รายงานสถานการณ์โดยองค์การอนามัยโลก (WHO) ประเทศไทย [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 2563 พ.ค. 21]. เข้าถึงได้จาก: https://www.who.int/docs/default-source/searo/thailand/2020-04-15-tha-sitrep-53-covid19-th-final.pdf?sfvrsn=50c6afb2_0w

Fwoloshi S, Hines JZ, Barradas DT, Yingst S, Siwingwa M, Chirwa B, et.al. Prevalence of Severe Acute Respiratory Syndrome Coronavirus 2 (SARS-CoV-2) among Health Care Workers—Zambia, July 2020. Clinical Infectious Diseases 2021; ciab273, https://doi.org/10.1093/cid/ciab273

หฤทัย เกียรติพรพานิช. อนามัยโลกแจงแนวทางปกป้อง 'บุคลากรทางการแพทย์' จาก ‘COVID-19’ [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 2563 พค 22]. เข้าถึงได้จาก: https://www.hfocus.org/content/2020/04/18949

WHO. Prevention, identification and management of health worker infection in the context of COVID-19 [Internet]. 2020 [cited 2021 May 3]. Available from: https://www.who.int/emergencies/diseases/novel-coronavirus-2019/technical-guidance-publications?publicationtypes=d198f134-5eed-400d-922e-1ac06462e676

สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน). สถานการณ์โรคโควิด-19 ในบุคคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 2563 พ.ค. 4]. เข้าถึงได้จาก: https://www.hfocus.org/content/2020/04/19158

สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน). บุคลากรการแพทย์ติดเชื้อโควิด-19 [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 2563 มิย 1]. เข้าถึงได้จาก: https://www.hfocus.org/content/2020/04/18981

อมร ลีลารัศมี. เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับโรคติดเชื้อ COVID-19 จากเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 2563 พ.ค. 23]. เข้าถึงได้จาก: https://tmc.or.th/covid19/covid19_for_medical.php

สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน). นโยบายความปลอดภัยบุคคลากรสาธารณสุขสู้ภัยโควิด19 [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 2563 พ.ค. 4]. เข้าถึงได้จาก: https://www.hfocus.org/content/2020/04/19122

WHO. Standard precautions in health care [Internet]. 2007 [cited 2020 Jun. 14]. Available from: https://www.who.int/docs/default-source/documents/health-topics/standard-precautions-in-health-care.pdf?sfvrsn=7c453df0_2%20%20http

สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน). Personnel Safety Goals 2018. กรุงเทพฯ: เฟมัส แอนด์ซัคเซ็สฟูล; 2561.

สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน). อนุทิน ประกาศเป้าหมายความปลอดภัยของบุคลากรสาธารณสุขทุกคนในสถานการณ์ COVID-19 [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 2563 พ.ค. 22]. เข้าถึงได้จาก: https://www.ha.or.th/TH/News/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B9%8C%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B9%84%E0%B8%9B/Detail/1419

โรงพยาบาลบุรีรัมย์. รายงานประจำปี 2562 [อินเตอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 2563 มิ.ย. 2]. เข้าถึงได้จาก: http://www.brh.go.th/index.php/2019-02-19-09-44-43

กลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด, สำนักงานจังหวัดบุรีรัมย์. สถานการณ์ COVID-19 จังหวัดบุรีรัมย์ [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 2563 มิ.ย. 2]. เข้าถึงได้จาก: http://www.buriram.go.th/covid-19/

Dejoy DM. A behavioral-diagnostic model for self-protective behavior in the workplace. Professional Safety 1986;31(12):26-30.

Vincent C, Taylor-Adams S, Stanhope N. Framework for analysing risk and safety in clinical medicine. BMJ 1998;316(7138):1154-7. doi: 10.1136/bmj.316.7138.1154.

โรสลิน เทพจันทร์. การบริหารงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัย: เอกสารการสอนชุดวิชา 54102 - Occupational health and safety management นนทบุรี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2551.

Amponsah-Tawaih K, Adu MA. Work Pressure and Safety Behaviors among Health Workers in Ghana: The Moderating Role of Management Commitment to Safety. Saf Health Work 2016;7(4):340-6. doi: 10.1016/j.shaw.2016.05.001. Epub 2016 May 24.

Ancarani A, Di Mauro C, Giammanco MD. Hospital safety climate and safety behavior: A social exchange perspective. Health Care Manage Rev 2017;42(4):341-51. doi: 10.1097/HMR.0000000000000118.

Gershon RR, Karkashian CD, Grosch JW, Murphy LR, Escamilla-Cejudo A, Flanagan PA, et al. Hospital safety climate and its relationship with safe work practices and workplace exposure incidents. Am J Infect Control. 2000;28(3):211-21. doi: 10.1067/mic.2000.105288.

ฉวีฉัตร โฉลกคงถาวร. การศึกษาพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ โรง พยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐ. วารสารพยาบาลศาสตร์ 2560;31(1):61-71.

สุนทร บุญบำเรอ. พฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของพยาบาลในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครราชสีมา. 2557;20(2):82-92.

Parker SK, Axtel CM, Turner N. Designing a safer workplace: Importance of job autonomy, communication quality, and supportive supervisors. J Occup Health Psychol 2001;6(3):211-28.

รายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 [อินเตอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 2564 พ.ค. 3]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/situation.php

Houghton C, Meskell P, Delaney H, Smalle M, Glenton C, Booth A, et al. Barriers and facilitators to healthcare workers’ adherence with infection prevention and control (IPC) guidelines for respiratory infectious diseases: a rapid qualitative evidence synthesis. Cochrane Database Syst Rev 2020; 4(4):CD013582. doi: 10.1002/14651858.CD013582.

Maude RR, Jongdeepaisal M, Skuntaniyom S, Muntajit T, Blacksell SD, Khuenpetch W, et al. Improving knowledge, attitudes and practice to prevent COVID-19 transmission in healthcare workers and the public in Thailand. BMC Public Health 2021; 21(1):749. doi: 10.1186/s12889-021-10768-y.

วชิระ สุริยะวงค์, พิมพพ์พรรณ ศิลปะสุวรรณ, มธุรส ทิพยมงคลกุล. วัฒนธรรมความปลอดภัยในองค์กรและพฤติกรรมการทำงานด้วยความปลอดภัยของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่ง. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2560; 5(1):103-18.

Muflih S, Al-Azzam S, Lafferty L, Karasneh R, Soudah O, Khader Y, et al. Pharmacists self-perceived role competence in prevention and containment of COVID-19: A cross-sectional study. Annals of Medicine and Surgery 2021;64: 102243. doi: 10.1016/j.amsu.2021.102243.

นรลักขณ์ เอื้อกิจ, ลัดดาวัลย์ เพ็ญศรี. การประยุกต์ใช้แนวคิด PRECEDE MODEL ในการสร้างเสริม สุขภาพ. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย 2562;12(1):38-48.

Hu X, Yan H, Casey T, Wu C. Creating a safe haven during the crisis: How organizations can achieve deep compliance with COVID-19 safety measures in the hospitality industry. Int J Hosp Manag 2020:102662. doi: 10.1016/j.ijhm.2020.102662.

Agnew C, Flin R, Mearns K. Patient safety climate and worker safety behaviours in acute hospitals in Scotland. J Safety Res 2013;45:95-101. doi: 10.1016/j.jsr.2013.01.008.

Lyu S, Hon CK, Chan AP, Wong F, Javed AA. Relationships among Safety Climate, Safety Behavior, and Safety Outcomes for Ethnic Minority Construction Workers. Int J Environ Res Public Health 2018;15(3):484. doi: 10.3390/ijerph15030484.

จิตอารีย์ จอดสันเทียะ, นิภา มหารัชพงศ์, ยุวดี รอดจากภัย. พฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของอาสาสมัครกู้ชีพ จังหวัดชลบุรี. วารสารกรมการแพทย์ 2563;45(2):120-6.

Morrow SL, McGonagle AK, Dove-Steinkamp ML, Walker Jr. CT, Marmet M, Barnes-Farrell J. Relationships between psychological safety climate facets and safety behavior in the rail industry: A dominance analysis. Accid Anal Prev 2010; 42(5):1460-7. doi: 10.1016/j.aap.2009.08.011.

Houghton C, Meskell P, Delaney H, Smalle M, Glenton C, Booth A, et al. Barriers and facilitators to healthcare workers’ adherence with infection prevention and control (IPC) guidelines for respiratory infectious diseases: a rapid qualitative evidence synthesis. Cochrane Database of Systematic Reviews 2020; 4: CD013582. doi: 10.1002/14651858.CD013582.

ปริศนา ทองอร่าม, เพชรสุนีย์ ทั้งเจริญกุล, อภิรดี นันท์ศุภวัฒน์. ระบบการจัดการความปลอดภัยใน การทำงานสำหรับพยาบาล: กรณีศึกษาโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่. Nursing Journal. 2560;44(3):134-43.

สมมิตร สิงห์ใจ, นิตยา เพ็ญศิรินภา, พาณี สีตกะลิน ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล บรรยากาศองค์การกับการมีส่วนร่วมในการบริหารความเสี่ยงของบุคลากรในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัด เชียงใหม่. Nursing Journal. 2559;43(5):162-72.

Sadullah O, Kanten S. A research on the effect of organizational safety climate upon the safe behaviors. Ege Academic Review 2009;9(3):923-32.

Martiana T, Suarnianti S. The determinants of Safety behavior in hospital. Indian Journal of Public Health Research and Development 2018;9(4):147-53. doi: 10.5958/0976-5506.2018.00273.5.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-29