ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายที่มีต่อการทรงตัว และความกลัวการล้มของผู้สูงอายุในชุมชน

ผู้แต่ง

  • จุฑาทิพย์ รอดสูงเนิน กลุ่มงานกายภาพบำบัด โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา

คำสำคัญ:

โปรแกรมการออกกำลังกาย, การทรงตัว, ความกลัวการล้ม, ผู้สูงายุ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการออกกำลังกายที่มีต่อการ   ทรงตัว และความกลัวการล้มของผู้สูงอายุในชุมชน ดำเนินการศึกษาและเก็บข้อมูลระหว่างเดือนมกราคม ถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2564 กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในเขตตำบลจอหอ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ทั้งเพศชายและเพศหญิง อายุระหว่าง 60-75 ปี จำนวน 62 คนเข้ารับการทดสอบการทรงตัวด้วยแบบทดสอบการทรงตัวลุกยืน และเดินระยะทาง 3 เมตร (Time Up and Go Test-TUGT) แบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 31 คน โดยการสุ่มแบบเป็นระบบ กลุ่มทดลองเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม 6 ครั้ง เป็นระยะเวลาทั้งหมด 6 สัปดาห์ โดยทำกิจกรรมฝึกออกกำลังกายตามโปรแกรมการออกกำลังกายที่มีผลต่อการทรงตัวและความกลัวการล้มของผู้สูงอายุ โดยปรับการฝึกตามโปรแกรมจากระดับง่ายไประดับยาก โดยฝึกออกกำลังสัปดาห์ละ 3 วันๆ ละ 30 นาที กลุ่มควบคุมเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม 4 ครั้งเพื่อส่งเสริมสุขภาพและแนะนำการออกกำลังกายทั่วไป เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม แบบบันทึกการทดสอบทั้งก่อน และหลังเข้าร่วมการทดลอง โดยทดสอบการทรงตัวลุกยืน เดินระยะทาง 3 เมตร (TUGT) ความสมดุลการทรงตัว (Single Leg Stance Test-SLST) และประเมินความกลัวการล้มด้วยแบบประเมินความกลัวการล้มสำหรับผู้สูงอายุ ฉบับภาษาไทย (Thai Geriatric Fear of Falling Questionnaire-FoF) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติจำนวน ร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมด้วยการทดสอบที และการทดสอบสัดส่วน

ผลการวิจัยพบว่า หลังการทดลองกลุ่มที่ได้รับการฝึกตามโปรแกรม มีค่าเฉลี่ยเวลา TUGT ค่าเฉลี่ยเวลา SLST ดีขึ้นกว่าก่อนการทดลอง และแตกต่างจากกลุ่มที่ไม่ได้รับการฝึกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ p<0.001 มีระดับความกลัวล้ม (FoF) ลดลง และสัดส่วนของจำนวนผู้สูงอายุที่ระดับความกลัวล้มดีขึ้นมีมากกว่า ต่างจากกลุ่มที่ไม่ได้รับการฝึกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value =0.008) การศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าการฝึกตามโปรแกรมสามารถเพิ่มความแข็งแรงของร่างกาย  พัฒนาการทรงตัวดีขึ้น และลดภาวะความกลัวการล้มในผู้สูงอายุได้

Author Biography

จุฑาทิพย์ รอดสูงเนิน, กลุ่มงานกายภาพบำบัด โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา

นักกายภาพบำบัดปฏิบัติการ

References

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2552. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย; 2559.

กานดา ชัยภิญโญ. กายภาพบำบัดสำหรับผู้สูงอายุ. นครนายก: ศูนย์กายภาพบำบัดและการเคลื่อนไหวคณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2551.

ลัดดา เถียมวงศ์, เรวดี เพชรศิราสัณห์. ปัจจัยเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุที่อาศัยในบ้านพักคนชรา. วารสารสภาการพยาบาล 2552;24(1):77-87.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. รายงานการสำรวจประชากรผู้สูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2557. กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ; 2557.

ละออม สร้อยแสง, จริยาวัตร คมพยัคฆ์, กนกพร นทีสมบัติ. การศึกษาแนวทางการป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุชุมชนมิตรภาพพัฒนา. วารสารพยาบาลทหารบก 2557;15(1):122-9.

ศิรินยา บูรณสรรพวิทย์, มยุรี ศุภวิบูลย์, สุภาภรณ์ ศิลาเลิศเดชกุล. ผลการฝึกกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวที่มีต่อความแข็งแรงและการทรงตัวในผู้สูงอายุ. วารสารคณะพลศึกษา 2555;15(2):119-31.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. ยากันล้ม: คู่มือป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย; 2558.

Bandura A. Social Learning Theory. Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall; 1977.

ลัดดา เถียมวงศ์. การทดสอบคุณสมบัติของเครื่องมือประเมินอาการกลัวหกล้มในผู้สูงอายุไทย. สงขลานครินทร์เวชสาร 2554; 29(6):277-87.

สมนึก กุลสถิตพร. กายภาพบำบัดในผู้สูงอายุ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2549.

สถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ กรมการแพทย์. แนวทางการดูแลรักษากลุ่มอาการสูงอายุ (Geriatric Syndrome). กรุงเทพฯ: สถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2558.

Schmid AA, Van Puymbroeck M, Koceja DM. Effect of a 12-week yoga intervention on fear of falling and balance in older adults: a pilot study. Arch Phys Med Rehabil 2010;9:576-83. doi: 10.1016/j.apmr.2009.12.018

ประทุ่ม กงมหา,ชุลีกร ด่านยุทธศิลป์. ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายแบบใช้แรงต้านต่อความสามารถในการทรงตัวของผู้สูงอายุ. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา 2561;24(1):91-103.

สายธิดา ลาภอนันตสิน, วาสนา เตโชวานิชย์, พันพิสสา ณ สงขลา, ยุพารัตน์ อดกลั้น, สุนันทา วีขํา. การพัฒนาสมรรถภาพการทรงตัวและความกลัวการหกล้มของผู้หญิงสูงอายุในตำบลองครักษ์และบางลูกเสือ จังหวัดนครนายกด้วยการบริการวิชาการชุมชน. วารสารกายภาพบำบัด 2558;37(2):63-77.

ฐิติมา ทาสุวรรณอินทร์, กรรณิการ์ เทพกิจ. ผลของโปรแกรมการป้องกันการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2560;35(3):186-95.

ทิวาพร ทวีวรรณกิจ, สุกัลยา อมตฉายา, พรรณี ปึงสุวรรณ, ลักขณา มาทอ. การทรงตัว การล้ม และคุณภาพชีวิตในผู้สูงอายุที่เคลื่อนไหวและไม่เคลื่อนไหวร่างกายเป็นประจำ. วารสารเทคนิคการแพทย์และกายภาพบำบัด 2553;22(3):271-79.

สุทธิชัย จิตะพันธ์กุล. ยุทธศาสตร์การวิจัยและพัฒนาสังคมผู้สูงอายุสำหรับประเทศไทย. วารสารสถาบัน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นสูง 2558;1(1):80-91.

สุกัลยา อมตฉายา, เยาวราภรณ์ ยืนยงค์, วัณทนา ศิริธราธิวัตร. การทรงตัว การล้ม และคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่ออกกำลังกายและไม่ออกกำลังกายเป็นประจำ. ศรีนครินทร์เวชสาร 2553;25(2):103-8.

Lim JY, Jang SN, Park WB, Oh MK, Kang EK, Paik NJ. Association between exercise and fear of falling in community-dwelling elderly Koreans: results of a cross-sectional public opinion survey. Arch Phys Med Rehabil 2011;92(6):954-9. doi: 10.1016/j.apmr. 2010.12.041.

American College of Sports Medicine, Chodzko-Zajko WJ, Proctor DN, Fiatarone Singh MA, Minson CT, Nigg CR, et al. American College of Sports Medicine position stand. Exercise and physical activity for older adults. Med Sci Sports Exerc. 2009;41(7):1510-30. doi: 10.1249/MSS.0b013e3181a0c95c. PMID: 19516148.

Shumway-Cook A, Baldwin M, Polissar NL, Gruber W. Predicting the probability for falls in community-dwelling older adults. Phys Ther. 1997 Aug;77(8):812-9. doi: 10.1093/ptj/77.8.812. PMID: 9256869.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-09