ภาวะสมองเสื่อม

ผู้แต่ง

  • ภรัญวิทย์ อนันต์ดิลกฤทธิ์ ศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา

คำสำคัญ:

ภาวะสมองเสื่อม, สาเหตุ, ปัจจัยเสี่ยง, เกณฑ์การวินิจฉัย

บทคัดย่อ

ภาวะสมองเสื่อม (Dementia หรือ Major neurocognitive disorder) เป็นภาวะที่ประสิทธิภาพการทำงานของสมองลดลง สมองสูญเสียหน้าที่การทำงานในด้านต่างๆ ทำให้กระบวนการรู้คิด (Cognition) บกพร่อง จนส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวันและการอยู่ร่วมกันในสังคม ถือเป็นกลุ่มอาการที่พบบ่อยและเป็นปัญหาที่สำคัญในผู้สูงอายุ จากสถิติขององค์การอนามัยโลกในปี ค.ศ. 2015 พบผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมถึง 47.47 ล้านคน และประมาณการณ์ว่าจะเพิ่มสูงถึง 75 ล้านคนในปี ค.ศ.2030 สำหรับภาวะสมองเสื่อมในประเทศไทยนั้น พบความความชุกของภาวะสมองเสื่อมโดยเฉลี่ยร้อยละ 2 ถึง 10 และจากข้อมูลสถิติผู้สูงอายุของประเทศไทย 77 จังหวัด ณ ปี พ.ศ.2563 พบมีจำนวนผู้สูงอายุรวมทั้งสิ้น 11,627,130 คน คิดเป็นร้อยละ 17.57 ของประชากร จึงคาดการณ์ว่าผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมในประเทศไทยอาจมีจำนวนสูงถึงกว่าล้านคน

หากภาวะสมองเสื่อมเกิดขึ้นแล้ว จะส่งผลให้ผู้สูงอายุมีภาวะทุพพลภาพและมีภาวะพึ่งพา ต้องการความช่วยเหลือจากบุคคลอื่นๆทุกๆด้านอย่างต่อเนื่อง อันเป็นผลกระทบด้านลบต่อครอบครัว ญาติ ผู้ดูแล และระบบบริการสุขภาพของประเทศ ดังนั้นความรู้ความเข้าใจในการอาการและอาการแสดง สาเหตุ การวินิจฉัย รวมถึงการดูแลรักษาจะมีส่วนช่วยอย่างมาก ในการที่จะบรรเทาปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น ถึงแม้ว่าในปัจจุบันภาวะนี้ยังไม่สามารถที่จะรักษาให้หายขาดได้ก็ตาม

Author Biography

ภรัญวิทย์ อนันต์ดิลกฤทธิ์, ศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา

นายแพทย์ชำนาญการ

References

Alzheimer’s Disease International. Policy Brief for G8 Head to Government. The Global Impact of Dementia 2013-2050. London: Alzheimer/s Disease International; 2013.

Muangpaisan W. Dementia: Prevention, assessment, and care. Bangkok: Parbpim; 2016. (in Thai)

กรมกิจการผู้สูงอายุ. สถิติผู้สูงอายุ [อินเตอร์เน็ต]. 2563 เข้าถึงเมื่อ 2564 เมษายน 30. เข้าถึงได้จาก: https://www.dop.go.th/th/know/side/1/1/335

Namchantha R. (2010). Rehabilitation of elders with dementia. Journal of HCU academic 2010;14(27):137-50. (in Thai)

World Health Organization. Dementia [Online]. 2020 cited 2021 April 30. Available from: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/dementia.

Elahi F, Miller B. A clinicopathological approach to the diagnosis of dementia. Nat Rev Neurol 2017;13,457-76.

Hamer M, Chida Y. Physical activity and risk of neurodegenerative disease: a systematic review of prospective evidence. Psychological Medicine 2009;39(1):3-11.

Angevaren M, Aufdemkampe G, Verhaar HJ, Aleman A, Vanhees L. Physical activity and enhanced fitness to improve cognitive function in older people without known cognitive impairment. The Cochrane Database of Systematic Reviews. 2008(3):CD005381.

Loef M, Walach H. Midlife obesity and dementia: meta-analysis and adjusted forecast of dementia prevalence in the United States and China. Obesity (Silver Spring, Md). 2013;21(1):E51-5.

Sofi F, Cesari F, Abbate R, Gensini GF, Casini A. Adherence to Mediterranean diet and health status: meta-analysis. BMJ (Clinical research ed). 2008;337:a1344.

Peters R, Peters J, Warner J, Beckett N, Bulpitt C. Alcohol, dementia and cognitive decline in the elderly: a systematic review. Age and Ageing 2008;37(5):505-12.

Livingston G, Sommerlad A, Orgeta V, et al. Dementia prevention, intervention, and care. Lancet 2017;390:2673–734.

Livingston G, Huntley J, Sommerlad A, Ames D, Ballard C, Banerjee S, et al. Dementia prevention, intervention, and care: 2020 report of the Lancet Commission. The Lancet 2020;396(10248):413-46. doi: https://doi.org/10.1016/S0140-6736(20)30367-6

Sommerlad A, Sabia S, Singh-Manoux A, Lewis G, Livingston G. Association of social contact with dementia and cognition: 28-year follow-up of the Whitehall II cohort study. PLoS Med 2019; 16: e1002862.

Liu L, Guo XE, Zhou YQ, et al. Prevalence of dementia in China. Dement Geriatr Cogn Disord 2003;15:226–30.

Chen JH, Lin KP, Chen YC. Risk factors for dementia. J Formos Med Assoc. 2009 Oct;108(10):754-64. doi: 10.1016/S0929-6646(09)60402-2. PMID: 19864195.

American Psychiatric Association. Diagnostic and statistical manual of mental disorder. 5th ed. Washington DC: American Psychiatric Association; 2018.

Prasat Neurological Institute. Clinical Practice Guidelines: Dementia. Bangkok: Prasat Neurological Institute, Department of Medical Science; 2014.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-06