ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะซึมเศร้าของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ในจังหวัดปทุมธานี
คำสำคัญ:
ภาวะซึมเศร้า, ปัจจัย, นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะซึมเศร้าของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในจังหวัดปทุมธานี กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายของโรงเรียนในจังหวัดปทุมธานี ปีการศึกษา 2563 จำนวน 200 คน โดยทำการสุ่มกลุ่มตัวอย่างตามสัดส่วนของประชากร และใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนกันยายนถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2563 เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย 1) ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม 2) แบบสอบถามปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะซึมเศร้า ได้แก่ การเห็นคุณค่าในตนเอง ความเครียดในการเรียน และสัมพันธภาพกับเพื่อน พัฒนาโดยผู้วิจัยและผ่านการตรวจสอบความเชื่อมั่นโดยการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค ของแบบสอบถามทั้งสามปัจจัย มีค่าเท่ากับ 0.82, 0.85 และ 0.80 ตามลำดับ และ 3) แบบประเมินโรคซึมเศร้า 9 คำถาม (PHQ9) ของกรมสุขภาพจิต กระทรวง วิเคราะห์ข้อมูลข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถามโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะซึมเศร้าด้วยการวิเคราะห์สหสัมพันธ์และการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 65.0) อายุระหว่าง 17–18 ปี (ร้อยละ 70.0) และกำลังศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 4 และ 5 (ร้อยละ 65.0) 2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะซึมเศร้า โดยทำการทดสอบข้อตกลงเบื้องต้นโดยการวิเคราะห์ค่าความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระพบว่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ทางลบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับภาวะซึมเศร้า ที่ระดับ p<0.05 มีสองปัจจัย ได้แก่ การเห็นคุณค่าในตนเอง (r=-0.245) และสัมพันธภาพกับเพื่อน (r=-0.400) ส่วนความเครียดในการเรียนมีความสัมพันธ์ทางบวกกับภาวะซึมเศร้า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p<0.05 (r=0.535) และปัจจัยที่สามารถทำนายภาวะซึมเศร้าในนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ได้แก่ การเห็นคุณค่าในตนเอง ความเครียดในการเรียน และสัมพันธภาพกับเพื่อน โดยสามารถทำนายภาวะซึมเศร้าได้ร้อยละ 42.80 (R=0.428, p<0.05)
References
Park S. Depression and suicide ideation among Asian American youth: A twelve-year longitudinal analysis [Dissertation]. New York: New York University; 2015. Available from: https://www.proquest.com/openview/cb126c422a1ff0bfac244e1ac6aee235/1?pq-origsite=gscholar&cbl=18750&diss=y
กรมสุขภาพจิต. รายงานการเข้าถึงบริการโรคซึมเศร้าสะสมรายจังหวัดและเครือข่ายบริการภาพรวมของประเทศ [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 2563 มีนาคม 27]. เข้าถึงได้จาก: https://www.thaidepression.com/www/report/main_report/pdf/ahb-03-20_mix_HDC.pdf
กรมสุขภาพจิต. รายงานประจำปีกรมสุขภาพจิตปีงบประมาณ 2563. กรุงเทพฯ: บริษัท ละม่อน จำกัด; 2563.
สุจิตรา อู่รัตนมณี, สุภาวดี เลิศสำราญ. ความเครียด ความวิตกกังวล และภาวะซึมเศร้า ของนักเรียนวัยรุ่นที่เตรียมตัวสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต 2560; 31(2): 78-93.
สุนันท์ เสียงเสนาะ, ดวงใจ วัฒนสินธุ์, ภรภัทร เฮงอุดมทรัพย์, เวทิส ประทุมศรี. อิทธิพลของปัจจัยด้านสัมพันธภาพระหว่างบุคคลต่อภาวะซึมเศร้าของวัยรุ่นตอนปลาย. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ 2560; 33(3): 59-69.
Crandell T, Crandell C, Vander ZJ. Human Development. 10th ed. New York, NY: McGraw Hill Education; 2011.
นวลจิรา จันระลักษณะ, ทัศนา ทวีคูณ, โสภิณ แสงอ่อน. ปัจจัยทำนายภาวะซึมเศร้าในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต 2558;29(2):128-144.
วัชรินทร์ วุฒิรณฤทธิ์. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีปัญหาพฤติกรรมร่วมกับภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่นไทย [ดุษฎีนิพนธ์ พยาบาลศาสตรดุษฏีบัณฑิต คณะพยาบาลศาสตร์]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2556.
ฉันทนา แรงสิงห์. ปัจจัยทำนายภาวะซึมเศร้าของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จังหวัดเชียงราย. วารสารสภาการพยาบาล 2554; 26(2):42-56.
ณิชาภัทร รุจิรดาพร. ภาวะซึมเศร้าของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ในเขตกรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสุขภาพจิต].กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2551.
Bronfenbrenner U. The Ecology of Human Development: Experiments by nature and design. Cambridge: Harvard University Press; 1979.
Burns N, Grove S. The Practice of Nursing Research: Conduct, critique and utilization. 5thed. Philadelphia: W.B. Saunders; 2004.
บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. ระเบียบวิธีการวิจัยทางการพยาบาลศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2553.
World Health Organization. Depression [Internet]. 2020 [cited: 2020 Jan. 20]. Available from https://www.who.int/health-topics/depression#tab=tab_1
Hair JF, Black WC, Babin BJ, Anderson RE. Multivariate Data Analysis. 7th ed. New York: Pearson; 2009.
คอย ละอองอ่อน. ปัจจัยทำนายภาวะซึมเศร้าของเยาวชนในศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน เขต 6 จังหวัดนครสวรรค์. [วิทยานิพนธ์หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2549.
Franck E, De Raedt R. Self-esteem reconsidered: Unstable self-esteem outperforms level of self-esteem as vulnerability marker for depression. Behav Res Ther 2007;45(7): 1531-41. doi: 10.1016/j.brat.2007.01.003
โปรยทิพย์ สันตะพัน, ศิริญพร บุสหงส์, เชาวลิต ศรีเสริม. ภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่น: บทบาทพยาบาล. วารสารเกื้อการุณย์ 2562;26(1):187-99.
Jayanthi P, Thirunavukarasu M, Rajkumar R. Academic stress and depression among adolescents: A cross-sectional study. Indian Pediatr 2015;52(3):217-9. doi: 10.1007/s13312-015-0609-y
มะลิสา งามศรี, นิตยา ตากวิริยนันท์, ศุภรา เชาว์ปรีชา. ผลของโปรแกรมการบำบัดความคิดและพฤติกรรมต่อภาวะซึมเศร้าของวัยรุ่นในศูนย์ฝึกอบรมเด็กและเยาวชนในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. พยาบาลสาร 2557; 41(4):36-47.
Assana S, Laohasiriwong W, Rangseekajee P. Quality of life, mental health and educational stress of high school students in the northeast of Thailand. J Clin Diagn Res 2017;11(8):VC01-VC06. doi: 10.7860/JCDR/2017/29209.10429
นวลจิรา จันระลักษณะ, ทัศนา ทวีคูณ, โสภิณ แสงอ่อน. ปัจจัยทำนายภาวะซึมเศร้าในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต 2558;29(2):12-44.
Teja Z, Kimbery A, Reichl S. Peer relations of Chinese adolescent newcomer: Relations of peer group integration and friendship quality to psychological and school adjustment. J Int Mgr Integr 2013;14:535-56.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ประกฎในวารสารศูนย์อนามัยที่ 9 เป็นความคิดเห็นของผู้เขียน บรรณาธิการ คณะผู้จัดทำ และศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา (เจ้าของ) ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ผลการพิจารณาของกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิถือเป็นที่สิ้นสุด คณะบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจแก้ไขข้อความให้ถูกต้องตามหลักภาษาและมีความเหมาะสม
กองบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหาใด ๆ ของบทความ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของผลการประเมินบทความในวารสารฯ ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์อนามัยที่ 9