พฤติกรรมและผลกระทบจากการติดเกมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา โรงเรียนในเขตเทศบาลนครขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • กุลนรี หาญพัฒนชัยกูร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น
  • เอมอร บุตรอุดม วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น
  • ทิพย์รัตน์ อุดเมืองเพีย วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น
  • สุกัญญา รักศรี วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น
  • ภาสินี โทอินทร์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น
  • ทรงสุดา หมื่นไธสง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น

คำสำคัญ:

เกมคอมพิวเตอร์, การติดเกม, ผลกระทบการติดเกม, นักเรียนมัธยมศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพฤติกรรมการติดเกม ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการเล่นเกมที่มีปัญหา และผลของพฤติกรรมการเล่นเกมที่มีปัญหาต่อปัญหาด้านการเรียน ด้านสังคม และด้านสุขภาพของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1-6  ในโรงเรียนเขตเทศบาลนครขอนแก่น กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนมัธยมศึกษาชั้นปี 1-6 โรงเรียนในเขตเทศบาลนครขอนแก่น ประจำปีการศึกษา 2563 จำนวน 513 คน สุ่มตัวอย่างแบบ   ชั้นภูมิ (Stratified sampling) เครื่องมือคือแบบสอบถาม ประกอบด้วย 1) คุณลักษณะของประชากร       2) ข้อมูลการใช้คอมพิวเตอร์ 3) ข้อมูลการเล่นเกมและผลกระทบ และ 4) แบบทดสอบการติดเกม (GAST) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติไควสแคว์ (Chi-square statistics) และการวิเคราะห์การถดถอยลอจิสติคแบบทวิ (Binary logistic regression analysis) ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมไม่ติดเกมมากที่สุด ร้อยละ 44.1 มีพฤติกรรมเริ่มมีปัญหาติดเกม ร้อยละ 17.7 และมีพฤติกรรมการติดเกม ร้อยละ 10.5 กลุ่มตัวอย่างมีปัญหาสุขภาพ ร้อยละ 74.6 มีปัญหาการเรียน ร้อยละ 44.5 และมีปัญหาด้านสังคม ร้อยละ 22.7 ผลการวิเคราะห์พหุถดถอยลอจิสติกแบบทวิพบว่า ความถี่ในการเล่นเกมส่งผลต่อพฤติกรรมการติดเกมของนักเรียนมัธยมศึกษา 2.45 เท่า (OR=2.45, 95% CI=1.79-3.34) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 และพบว่า นักเรียนที่มีพฤติกรรมติดเกมส่งผลกระทบต่อปัญหาการเรียน (OR=3.48, 95% CI=2.31-5.28) ต่อปัญหาสุขภาพ (OR=3.86, 95% CI=2.16-6.89) และต่อปัญหาด้านสังคม (OR=5.37, 95% CI=3.44-8.40) ผลการวิจัย  ครั้งนี้ แสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมการเล่นเกมที่เป็นปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลายในเขตเทศบาลเมือง มีผลกระทบต่อปัญหาสุขภาพ และปัญหาการเรียน ผลการศึกษาดังกล่าวสามารถนำไปพัฒนาโปรแกรมการช่วยเหลือนักเรียนและป้องกันผลกระทบที่เกิดขึ้นได้ ข้อเสนอแนะ ควรมี และคัดกรองเด็กที่มีพฤติกรรมการติดเกม ร่วมกับครอบครัว และหน่วยบริการสาธารณสุข เพื่อป้องกันการเกิดปัญหากระทบต่อสุขภาพ และการเรียน

Author Biographies

กุลนรี หาญพัฒนชัยกูร, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ (ด้านการสอน)

เอมอร บุตรอุดม, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ (ด้านการสอน)

ทิพย์รัตน์ อุดเมืองเพีย, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ (ด้านการสอน)

สุกัญญา รักศรี, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น

พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ (ด้านการสอน)

ภาสินี โทอินทร์, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ (ด้านการสอน)

ทรงสุดา หมื่นไธสง, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ (ด้านการสอน)

References

Hauge MR. Gentile DA. Video Game Addiction among Adolescents: Associations with Academic Performance and Aggression. Society for Research in Child Development Conference; 2003.

กษมา เทพรักษ์, ภัทริการ์ โฮ, ปรารถนา สวัสดิสุธา. Internet Gaming Disorder. กรุงเทพฯ: ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี; 2557.

บุญเลี้ยง ทุมทอง. อิทธิพลและผลกระทบการติดเกมของนักเรียนตามสถานศึกษาในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารพฤติกรรมศาสตร์ 2555;18(1):47-54.

ศรัญญา อิชิดะ, คมเพชร ฉัตรศุภกุล, สกล วรเจริญศรี. การศึกษาพฤติกรรมความรุนแรงของนักเรียนวัยรุ่น. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มศว 2556;7(2):211-21.

วรุณา กลกิจโกวินท์, ชัยพร วิศิษฎ์พงศ์อารีย์, พิสาส์น เตชะเกษม, ชาญวิทย์ พรนภดล, บุษบา ศุภวัฒน์ ธนบดี. การติดเกมคอมพิวเตอร์ ปัจจัยเสี่ยงและปัจจัยป้องกันของเด็กนักเรียน ในเขตดุสิตกรุงเทพมหานคร. วชิรเวชสาร 2558;59(3):1-13.

Cheung LM, Wong WS. The effects of insomnia and internet addiction on depression in Hong Kong Chinese adolescents: an exploratory cross-sectional analysis. J Sleep Res 2011;20(2):311-7. doi: 10.1111/j.1365-2869.2010.00883.x.

American Psychiatric Association. Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders: DSM-5. 5th ed. Washington, DC: American Psychiatric Association; 2013

ชาญวิทย์ พรนภดล, ศิริสุดา ลดาวัลย์ ณ อยุธยา, ตวงพร สุรพงษ์พิวัฒนะ, ชดาพิมพ์ เผ่าสวัสดิ์.การศึกษาหาปัจจัยป้องกันการติดเกมในเด็กและวัยรุ่น. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ; 2552

Taro Yamane. Statistics: An introductory analysis. New York: New York: Harper & Row; 1973.

อภิสิทธิ์ นาคอ่อน, สุภาภรณ์ คำเรืองฤทธิ์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการติดเกมของนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 4-6. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ 2563;46(2):111-41.

ชญานิกา ศรีวิชัย, นุจรี ไชยมงคล, ยุนี พงศ์จตุรวิทย์. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสุขภาพของเด็กวัยรุ่นตอนต้นที่ติดเกม. วารสารพยาบาลทหารบก 2558;16(3):114-21.

ชญานิกา ศรีวิชัย. พฤติกรรมสุขภาพเด็กวัยรุ่นตอนต้นที่ติดเกมคอมพิวเตอร์: ทฤษฎีพฤติกรรมตามแผน. วารสารพยาบาลตำรวจ 2557;6(2):1-15.

Li H, Zou Y, Wang J, Yang X. Role of stressful life events, avoidant coping styles, and neuroticism in online game addiction among college students: A moderated mediation model. Front Psychol 2016;7:1794. doi: 10.3389/fpsyg.2016.01794.

Hormes JM, Kearns B, Timko CA. Craving Facebook? Behavioral addiction to online social networking and its association with emotion regulation deficits. Addiction 2014;109(12):2079-88. doi: 10.1111/add.12713.

Yilmaz E., YEL S., Griffiths MD. The Impact of Heavy (Excessive) Video Gaming Students on Peers and Teachers in the School Environment: A Qualitative Study. Addicta: Turkish Journal on Addictions 2018;5(2):147-61. doi: 10.15805/addicta.2018.5.2.0035.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-16