พฤติกรรมการป้องกันมะเร็งปากมดลูกระดับปฐมภูมิของสามี

ผู้แต่ง

  • สุวภัทร นักรู้กำพลพัฒน์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี http://orcid.org/0000-0001-7802-8992
  • นิชนันท์ สุวรรณกูฏ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • อมรรัตน์ นธะสนธิ์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

การป้องกันระดับปฐมภูมิ, มะเร็งปากมดลูก, สามี

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงคุณภาพนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการป้องกันมะเร็งปากมดลูกระดับปฐมภูมิของกลุ่มสามี รวบรวมข้อมูลด้วยการสังเกต การสัมภาษณ์เชิงลึก และการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง ตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลโดยการตรวจสอบแบบสามเส้า วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า ผู้ให้ข้อมูลอายุระหว่าง 21-63 ปี มีพฤติกรรมการป้องกันมะเร็งปากมดลูก คือ การฉีดวัคซีน รักเดียวใจเดียว การใช้ถุงยางอนามัย การรักษาความสะอาด ประเด็นปัญหา พบว่า มีเพศสัมพันธ์ก่อนการแต่งงาน มีเพศสัมพันธ์กับหญิงอื่นที่ไม่ใช่ภรรยาและความเชื่อทางเพศ ผู้ให้ข้อมูลเสนอความต้องการเพื่อนำไปสู่การป้องกันมะเร็งปากมดลูก คือ ต้องการให้มีการให้ความรู้เรื่องเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัยในวัยเรียน เพิ่มช่องทางการให้ข้อมูลข่าวสาร และการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกโดยใช้คนนอกพื้นที่ โดยมีปัจจัยเงื่อนไขที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการป้องกันมะเร็งปากมดลูกของสามี คือ 1) ความเชื่อ ทัศนคติ ด้านลบเกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์ และ 2) ความรู้เรื่องการป้องกันมะเร็งปากมดลูกในผู้ชาย ดังนั้น จากผลการวิจัยจึงมีข้อเสนอแนะต่อหน่วยบริการปฐมภูมิ คือควรเพิ่มช่องทางการให้ข้อมูลข่าวสารที่สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ ข้อเสนอแนะต่อบุคลากรทางการแพทย์ คือควรให้ความรู้เรื่องการป้องกันการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์กับวัยรุ่นและเรื่องมะเร็งปากมดลูกกับเพศชาย

Author Biographies

สุวภัทร นักรู้กำพลพัฒน์, คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ผู้ช่วยศาสตราจารย์

นิชนันท์ สุวรรณกูฏ, คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

อาจารย์

อมรรัตน์ นธะสนธิ์, คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ผู้ช่วยศาสตราจารย์

References

WHO. Cervical cancer [Internet]. 2021 [cited 2021 April 1]. Available from: https://www.who.int/health-topics/cervical-cancer#tab=tab_1.

Ministry of Public Health. Public health statistics 2017 [Internet]. 2017 [cited 2017 December 1] Available from: http://bps.moph.go.th.

American Cancer Society. About cervical cancer [Internet]. 2020 [cited 2021 April 1]. Available from: https://www.cancer.org/cancer/cervical-cancer/about.html.

WHO. Global strategy to accelerate the elimination of cervical cancer as a public health problem [Internet]. 2020 [cited 2021 April 1]. Available from: https://www.who.int/publications/i/item/9789240014107.

Mahidol University Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital. National cancer control Program (2018-2022) [Internet]. 2018 [cited 2021 June 10]. Available from: https://www.rama.mahidol.ac.th/policy/en/sdgs17-p005.

Watanaveeradej V, Tangsathapornpong A, Chokephaibulkit K. Vaccine Guide 2012-2013 and common problems. Bangkok: Beyond Enterprise; 2011. (in Thai)

Ruengkhachon I. Cervical Cancer. Bangkok: PA living; 2018. (In Thai)

Gynecology Treatment committee. Guidelines of the Royal College of Obstetricians Thailand for primary prevention cervical cancer [Internet]. 2020 [cited 2021 April 1]. Available from: http://www.rtcog.or.th/home/wp-content/uploads/2020/11/GY-63-016-CPG-HPV-vaccination-17Oct20.pdf. (in Thai)

Adewumi K, Oketch SY, Choi Y, Huchko MJ. Female perspectives on male involvement in human-papillomavirus-based cervical cancer-screening program in western Kenya. BMC Woman’s Health 2019;19:107.

Arpanantikul M. Phenomenology: an application in nursing research. Bangkok: CU-print; 2020. (in Thai)

Oumtanee A. Qualitative Research in Nursing. Bangkok: CU-print; 2016. (in Thai)

Small et al. Cervical Cancer: A Global Health Crisis. Cancer 2017;2404-12.

Sungthong W, Khusin P. Cross-universal information learning, and behavior imitation the love culture of Thai Youth in higher education institutions. T.L.A. Bulletin 2019;63(1):74-90.

MICS. Thailand Situation child and woman in Thailand 2558-2559 (B.E.). Bangkok: UNICEF (Thailand) and National Statistical Office of Thailand; 2017. (in Thai)

Department of health. Reproductive Health Situation in Adolescents and Youth in 2017 [internet]. 2017 [cited 2021 June 14]. Available from: https://rhold.anamai.moph.go.th/more_news.php?cid=14&filename=index

Promrub S. Marketing Strategy for the promotion of access to cervical cancer screening for the woman in Tambom Naphai and Tambon Ladyai, Muang District Chaiyaphum Province. Journal for Health Promotion and Environment Health 2018;12(29):34-46.

Sritrakul K, Kanthawee P. The effect of health belief model (HBM) program on the attitudes of woman who receive pap smear services in Tha khao plueak sub district Mae-Chan District, Chiang rai. Chiangrai Medical Journal 2017;9(1):123-32.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-07-15